สื่อการสอน_หน่วย2_ความน่าเชื่อถือของข้อมูล

0

Presentation Transcript

  • 1.ความน่าเชื่อถือของข้อมูล หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ตัวชี้วัด ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิเคราะห์สื่อและผลกระทบจากการใช้ข่าวสารที่ผิด เพื่อการใช้งานอย่างรู้เท่าทัน
  • 2.การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล สามารถทำได้อย่างไร
  • 3.การสืบค้นเพื่อหาแหล่งข้อมูล การสืบค้นข้อมูลด้วยมือ เป็นการสืบค้นตามเอกสาร หนังสือ ตำรา การสืบค้นข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นการสืบค้นผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ
  • 4.การสืบค้นเพื่อหาแหล่งข้อมูล การสืบค้นเพื่อหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีวิธีการดำเนินการ ดังนี้ กำหนดวัตถุประสงค์การสืบค้น ดูประเภทของข้อมูลที่สามารถสืบค้นได้ เตรียมอุปกรณ์และความรู้ที่จำเป็นในการสืบค้น เลือกบริการอินเทอร์เน็ตที่ต้องการ เช่น อีเมล เว็บไซต์ เลือกเครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับค้นหา 1 2 3 4 5
  • 5.การสืบค้นเพื่อหาแหล่งข้อมูล ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
  • 6.การสืบค้นเพื่อหาแหล่งข้อมูล โทษของอินเทอร์เน็ต
  • 7.การสืบค้นเพื่อหาแหล่งข้อมูล การใช้งานอินเทอร์เน็ตบนระบบเครือข่ายควรใช้งานอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมโดยการปฏิบัติ ดังนี้ ใช้ถ้อยคำสุภาพ ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตทำลาย หรือหลอกลวงผู้อื่น ไม่เผยแพร่ข้อมูล ที่เป็นเท็จ แจ้งผู้ปกครองเมื่อพบ การใช้งานที่ไม่เหมาะสม ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ใช้งานในทางที่ถูกต้อง เคารพกฏและข้อตกลง
  • 8.การสืบค้นเพื่อหาแหล่งข้อมูล เครื่องมือสำหรับสืบค้นข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสืบค้นข้อมูลจากคำค้นหาต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าสู่ระบบ โดยโปรแกรมที่ใช้ในการสืบค้นข้อมูล สามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ 3 ประเภท ดังนี้ Crawler Based Search Engines Meta Search Engines จะอาศัยการบันทึกข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก โดยการใช้ซอฟต์แวร์ขนาดเล็กในการเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เช่น www.google.com เป็นสารบัญเว็บไซต์ที่มีการจัดเก็บข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน ทำให้การสืบค้นทำได้อย่างรวดเร็ว เช่น www.dmoz-odp.org Web Directory เป็นโปรแกรมที่ใช้หลักการสืบค้นด้วย Meta Tag โดยผลลัพธ์ของโปรแกรมสืบค้นประเภทนี้ จะมีความแม่นยำน้อยกว่าประเภทอื่น เช่น www.ixquick.com
  • 9.การสืบค้นเพื่อหาแหล่งข้อมูล การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ได้แหล่งข้อมูลที่มีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือ และตรงตามความต้องการของผู้สืบค้นมีขั้นตอน ดังนี้ กำหนดวัตถุประสงค์ และหัวข้อให้ชัดเจน กำหนดประเภท ของข้อมูลที่จะสืบค้น กำหนดคำสำคัญ สำหรับสืบค้นข้อมูล ประเมินความน่าเชื่อถือ ของข้อมูลที่ได้ จากการสืบค้น
  • 10.การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลมีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ 1. ประเมินว่าข้อมูลตรงตามต้องการหรือไม่ โดยสามารถประเมินได้จากการอ่านชื่อเว็บไซต์ ชื่อเว็บเพจ ชื่อหัวเรื่อง คำนำ สารบัญ หรือเนื้อหา ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะสามารถประเมินได้ตั้งแต่การอ่านชื่อเว็บไซต์ ชื่อเว็บเพจ หรือชื่อหัวเรื่องแล้ว
  • 11.การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล 2. ประเมินความน่าเชื่อถือ และความทันสมัยของข้อมูล ประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล พิจารณาว่าข้อมูลได้มาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือหรือไม่ ประเมินความน่าเชื่อถือของทรัพยากรข้อมูล พิจารณาว่าข้อมูลอยู่ในรูปแบบใด เช่น หนังสือทั่วไป วารสาร นิตยสาร ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ประเมินความน่าเชื่อถือของผู้เขียน พิจารณาว่าผู้เขียนเป็นใคร เป็นของสำนักพิมพ์หรือเว็บไซต์ใด ประเมินความทันสมัยของข้อมูล พิจารณาวันเดือนปีที่ข้อมูลถูกเผยแพร่ หรือผลิต
  • 12.การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล 3. ประเมินระดับเนื้อหาของข้อมูล โดยข้อมูลสามารถแบ่งได้ 3 ระดับ ได้แก่ ข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิ ข้อมูลตติยภูมิ เป็นข้อมูลที่ได้จากการ ค้นคว้าโดยตรงของผู้เขียน เช่น รายงาน วิจัย วิทยานิพนธ์ เป็นการนำข้อมูลปฐมภูมิ มาเขียนเรียบเรียงใหม่ โดยระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน เป็นการชี้แนะแหล่งข้อมูล ปฐมภูมิและทุติยภูมิ เช่น บรรณานุกรม เอกสารอ้างอิง
  • 13.การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล แหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ ข้อมูลที่เราจะนำมาใช้งานจะต้องมาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ซึ่งมีลักษณะเป็นแหล่งที่มีการรวบรวมข้อมูลอย่างมีหลักเกณฑ์ มีแหล่งอ้างอิง เชื่อถือได้ โดยแหล่งข้อมูล ที่เชื่อถือได้ เช่น ข้อมูลจากเจ้าของ ข้อมูลโดยตรง ข้อมูลจากองค์กร หรือผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูลจาก หน่วยงานของรัฐ
  • 14.การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยใช้ PROMPT เป็นวิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยการตั้งคำถาม มี 6 ขั้นตอน ดังนี้ การนำเสนอ (Presentation) คำถามเช่น ข้อมูลที่ได้ มีความชัดเจนหรือไม่ ภาษาที่ใช้ถูกต้องหรือไม่ ความสัมพันธ์ (Relevance) คำถามเช่น ข้อมูลนั้นมีรายละเอียด มากเกินไปหรือไม่ ข้อมูลนั้นมีจุดเน้นอะไร ข้อมูลนั้นมีคำสำคัญที่ต้องการหรือไม่
  • 15.การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วัตถุประสงค์ (Objectivity) คำถามเช่น คำถามเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการ วิธีการ (Method) คำถามเช่น ข้อมูลนี้มีวิธีการ ในการรวบรวมข้อมูลอย่างไร
  • 16.การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล พิสูจน์หรือยืนยัน (Provenance) คำถามเช่น ข้อมูลนั้นได้มาจากแหล่งข้อมูลใด และแหล่งข้อมูลนั้นเชื่อถือได้หรือไม่ เป็นปัจจุบัน (Timeliness) คำถามเช่น ข้อมูลนั้นเผยแพร่เมื่อใด ตีพิมพ์เมื่อใด
  • 17.การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล เหตุผลวิบัติ เป็นการใช้เหตุผลที่ผิดพลาด ขาดความน่าเชื่อถือในการนำเสนอข้อมูล ซึ่งหากนำข้อมูล เหล่านี้ไปเผยแพร่ อาจทำให้ผู้รับข้อมูลเกิดความเข้าใจผิดได้ โดยเหตุผลวิบัติมีหลายประเด็น เช่น
  • 18.การรู้เท่าทันสื่อ การรู้เท่าทันสื่อ ทั้งสื่อที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตและสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ มีองค์ประกอบ ดังนี้ 01 ความสามารถ ในการเข้าถึงสื่อ เป็นการได้รับสื่อประเภทต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ รวดเร็ว และเข้าใจเนื้อหา 02 ความเข้าใจการประเมินค่า สารสนเทศและเนื้อหาในสื่อ เป็นการประเมินคุณค่าของสื่อ ว่า สื่อนั้นมีคุณค่าต่อผู้รับสาร มากน้อยเพียงใด 03 การสร้าง การใช้ประโยชน์ และการเฝ้าระวังสารสนเทศ และเนื้อหาในสื่อ เป็นการสร้างสรรค์สื่อใหม่ ในแบบของตนเอง 04 การสะท้อนคิด เป็นการพิจารณาการกระทำ ของตนเองว่า จะมี ผลกระทบหรือผลลัพธ์ ต่อผู้อื่นอย่างไร
  • 19.การรู้เท่าทันสื่อ สื่อดิจิทัล เป็นสื่อที่นักเรียนสามารถเข้าถึงได้รวดเร็วที่สุด ทั้งสื่อจากทางวิทยุ โทรทัศน์ หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล สามารถแบ่งออกได้ 8 ด้าน ดังนี้
  • 20.ระดับ ความตระหนัก ระดับ ความเข้าใจ ระดับ วิเคราะห์ และตีความ การรู้เท่าทันสื่อ การแบ่งระดับของการรู้เท่าทันสื่อ สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้ ระดับ การประเมินและ การตัดสินใจ ระดับความตระหนัก คือ ระดับที่ผู้รับสื่อตระหนักว่า สื่อและเนื้อหาสื่อมีเพื่อตอบสนองต่อความชอบ ความพอใจ ระดับความเข้าใจ คือ ระดับที่ผู้รับสื่อมีความรู้ความเข้าใจในสื่อ รู้ลักษณะของสื่อตามบทบาทหน้าที่ในระบบสังคม รู้ความหมายตรง ระดับวิเคราะห์และตีความ คือ ระดับที่ผู้รับสื่อสามารถวิเคราะห์การดำเนินการของสถาบันหรือองค์กรสื่อ วิเคราะห์และตีความหมายแฝงได้ ระดับการประเมินและการตัดสินใจ คือ ระดับที่ผู้รับสื่อประเมินได้ว่า สถาบันหรือองค์กรสื่อเกี่ยวข้องกับระบบอำนาจ ทุนนิยม บริโภคนิยม สามารถตีความเนื้อหาสื่ออย่างเชื่อมโยงกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
  • 21.การรู้เท่าทันสื่อ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมในปัจจุบัน ที่มีการพัฒนาไปอย่างมาก โดยเฉพาะสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาจากการใช้สื่อของคนในสังคมมากขึ้นและรวดเร็ว เช่น การเล่นเกมออนไลน์ พฤติกรรมการ ลอกเลียนแบบ ปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว ปัญหาทางอารมณ์ ปัญหาความรุนแรง
  • 22.การรู้เท่าทันสื่อ การรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จะต้องมีการวิเคราะห์ว่า สิ่งที่เผยแพร่นั้นเป็นจริงหรือไม่ ซึ่งถ้าหาก ข้อมูลนั้นเป็นเท็จอาจทำให้ผู้รับข้อมูลได้รับผลกระทบได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ผลกระทบจากการได้รับข้อมูลผิดพลาดนี้ คือ 1. การถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ เลขบัตรประจำตัวประชาชน เบอร์โทรศัพท์ 2. การถูกโจมตีด้วยมัลแวร์ต่าง ๆ 3. การถูกล่อลวงด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ นายบอยได้รับอีเมลจากธนาคารแจ้งว่า บัญชีธนาคารมีความเคลื่อนไหวผิดปกติ ให้นายบอยส่งเลขบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมเบอร์โทรศัพท์กลับมาที่อีเมลนี้ มิเช่นนั้นบัญชีธนาคารจะไม่สามารถใช้งานได้
  • 23.การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลจะต้องพิจารณาข้อมูลที่มาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน หรืออาจใช้เครื่องมือในการประเมินความน่าเชื่อถือ เช่น PROMPT