การงานอาชีพ ป.5 หน่วยที่ 5 งานประดิษฐ์

1

Presentation Transcript

  • 1.หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่
  • 2.หน่วยการเรียนรู้ที่ งานประดิษฐ์ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ การประดิษฐ์ของใช้ ของตกแต่ง จากวัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น การประดิษฐ์ของใช้ ประโยชน์ของการประดิษฐ์ของใช้ ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น การประดิษฐ์ของตกแต่ง
  • 3. การประดิษฐ์ของใช้ ของตกแต่งให้มีคุณภาพ ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน และประหยัดค่าใช้จ่ายนั้น นักเรียนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัสดุที่นำมาใช้ประดิษฐ์และวิธีการประดิษฐ์ที่ถูกต้อง  การประดิษฐ์ของใช้ ของตกแต่งได้ด้วยตนเอง โดยใช้วัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มาก  วัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น หมายถึง เศษวัสดุต่าง ๆ ที่เหลือจากการใช้งาน ซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่น หาได้ง่าย และราคาประหยัด ๑. การประดิษฐ์ของใช้ ของตกแต่ง จากวัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ตัวอย่างวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น และของใช้ ของตกแต่งที่ประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น เศษผ้า กะลามะพร้าว เกล็ดปลา กระเป๋าจากเศษผ้า ของใช้จากกะลามะพร้าว ดอกไม้ประดิษฐ์จากเกล็ดปลา
  • 4. กระถางเป็นของใช้สำหรับปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อตกแต่งห้องทำงานห้องนั่งเล่น ห้องนอน หรือบริเวณต่าง ๆ ของบ้านให้สวยงาม ซึ่งสามารถประดิษฐ์ไว้ใช้ได้เองด้วยวิธีง่าย ๆ โดยนำขวดน้ำพลาสติกที่ไม่ใช้แล้วมาประดิษฐ์และตกแต่งเป็นกระถางรูปแบบต่าง ๆ ๒. การประดิษฐ์ของใช้ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ กระถางจากขวดน้ำพลาสติก ๒.๑ วัสดุ อุปกรณ์ ๑. ขวดน้ำพลาสติก หรือขวดน้ำอัดลม ๒. สีอะคริลิก ๓. แปรงทาสี ๔. จานสี ๕. คัตเตอร์ ๖. ปากกาเคมี วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกระถางจากขวดน้ำพลาสติก
  • 5.ขั้นตอนการประดิษฐ์กระถางจากขวดน้ำพลาสติก การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เตรียมขวดน้ำพลาสติก หรือขวดน้ำอัดลม ๑ ขวด ทำความสะอาดให้เรียบร้อย จากนั้นนักเรียนเลือกสัตว์ที่ชอบไว้ ๑ ชนิด วัดความสูงจากก้นขวดพลาสติกขึ้นมา ๑๑ ซม. เพื่อทำเป็นตัวกระถาง คือ ส่วนที่ ๑ และวัดต่อจากส่วนที่ ๑ ขึ้นมาอีก ๒ ซม. เพื่อทำหูของสัตว์ คือ ส่วนที่ ๒ ใช้ปากกาเคมีเขียนเส้นเพื่อกำหนดขอบกระถางและส่วนที่เป็นหูของสัตว์ ซึ่งในตัวอย่างนี้จะประดิษฐ์ กระถางจากขวดน้ำพลาสติกเป็นรูปแมว ใช้คัตเตอร์กรีดตามรอยตัวกระถางและรูปสัตว์ที่เขียนไว้ ตัดส่วนที่เหลือทิ้งแล้วจะได้เป็นกระถางมีรูปหูสองข้าง จากนั้นใช้คัตเตอร์เจาะรูที่ก้นกระถางประมาณ ๔-๕ รูเพื่อระบายน้ำในกระถาง
  • 6.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เตรียมและผสมสีที่ชอบลงในจานสี และระบายสีลงบนขวดพลาสติกด้านนอกให้ทั่ว จากนั้นทิ้งไว้ให้สีแห้ง แล้ววาดตา ปาก และหู หรือลวดลายอื่น ๆ ลงไปตามความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการของนักเรียน โดยใช้ปากกาเคมีหรือระบายสีก็ได้ตามความถนัด ปลูกไม้ดอกไม้ประดับในกระถางที่ประดิษฐ์ขึ้นเองแล้วนำไปวางตกแต่งห้องทำงาน ห้องนั่งเล่นหรือบริเวณต่าง ๆ ของบ้านเพื่อความสวยงาม
  • 7.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕  นาฬิกาติดผนังเป็นของใช้ที่สามารถบอกเวลาและใช้เป็นของตกแต่งบ้านได้ โดยมีวัสดุ อุปกรณ์ และขั้นตอนการประดิษฐ์ ดังนี้ นาฬิกาติดผนัง ๒.๒ วัสดุ อุปกรณ์ ๑. แผ่นไม้อัดเหลือจากการใช้งาน ๒. ชุดนาฬิกา ๓. พู่กันและแปรงทาสี ๔. กระดาษทรายขัดไม้ ๕. แล็กเกอร์ ๖. สว่าน ๗. ดินสอ ๘. สีอะคริลิก ๙. กระดาษ A๔ ๑๐. เลื่อยฉลุ
  • 8.ขั้นตอนการประดิษฐ์นาฬิกาติดผนัง การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เลื่อยไม้เป็นวงกลม หรือ สี่เหลี่ยมหรือรูปทรงเรขาคณิต แล้วขัดไม้ด้วยกระดาษทรายเพื่อให้ผิวเรียบ วัดระยะและทำเครื่องหมายบริเวณที่จะเจาะรูเพื่อใส่ชุดนาฬิกาและรูที่จะใช้แขวนผนังแล้วใช้สว่านเจาะรูตามที่ทำ เครื่องหมายไว้จากนั้นขัดด้วยกระดาษทรายตรงรอยเจาะให้เรียบ เขียนลวดลายตามที่ออกแบบลงบนไม้อัดแล้วระบายสีให้สวยงาม วางไว้ให้แห้ง ติดตั้งชุดนาฬิกาที่เตรียมไว้ในบริเวณที่เจาะรู ทาแล็กเกอร์ทับลงบนลายให้ทั่วรอให้แห้งอีกครั้ง
  • 9. เปลือกข้าวโพดเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งพบมากในท้องถิ่นที่มีการทำไร่ข้าวโพด เมื่อเก็บฝักข้าวโพดไปแล้ว เปลือกข้าวโพดสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นของตกแต่ง ของขวัญหรือของที่ระลึกสำหรับโอกาสต่าง ๆ และ ประดิษฐ์เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าอุตสาหกรรมในครัวเรือนได้ เช่น ต่างหู เข็มกลัด ตุ๊กตา ดอกไม้ นอกจากนี้เปลือกข้าวโพดยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติอีกด้วย ๓. การประดิษฐ์ของตกแต่ง การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โมบายล์ปลาตะเพียนจากเปลือกข้าวโพด ๓.๑ วัสดุ อุปกรณ์ ๑. เปลือกข้าวโพด ๒. กะละมัง ๓. สีอะคริลิก พู่กัน และจานสี ๔. ปากกาเคมี ๕. กาวลาเทกซ์ ๖. เชือกหรือเอ็น ๗. กรรไกร ๘. ไม้บรรทัด ๙. ลวด ไม้แขวนเสื้อหรือกิ่งไม้สำหรับทำ โครงโมบายล์ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำโมบายล์ปลาตะเพียนจากเปลือกข้าวโพด
  • 10.ขั้นตอนการประดิษฐ์โมบายล์ปลาตะเพียนจากเปลือกข้าวโพด การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เลือกเปลือกข้าวโพดที่ไม่มีแมลงหรือไม่มีราเกาะกิน ซึ่งควรเลือกเปลือกที่อยู่ด้านใน เพราะจะนิ่ม สะอาด ไม่มีฝุ่นละอองปะปน จากนั้นนำไปแช่น้ำ ๕-๑๐ นาที ซึ่งการแช่น้ำจะช่วยให้เปลือกข้าวโพดสะอาดและนิ่มขึ้น นำเปลือกข้าวโพดไปผึ่งให้แห้งสนิท จะได้ไม่เกิดเชื้อรา เวลาผึ่งควรคลี่เปลือกข้าวโพดให้เรียบ เพื่อไม่ให้เปลือกข้าวโพดงอเมื่อแห้ง นำเปลือกข้าวโพดมาตัดเป็นเส้น แล้วนำมาต่อกันด้วยกาวลาเทกซ์ ให้มีความยาวพอประมาณ ดังนั้น ขนาดของตัวปลาขึ้นอยู่กับความกว้าง-ยาวของเปลือกข้าวโพด สำหรับแบบสาธิตใช้เปลือกข้าวโพด ๒ เส้น มีขนาดกว้าง ๒ ซม. ยาว ๓๐ ซม.
  • 11.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ การสานปลาตะเพียนแบบชั้นเดียว ๔.๑ จับเปลือกข้าวโพดเส้นที่ ๑ และเส้นที่ ๒ ให้ได้ลักษณะตามภาพตัวอย่าง ๔.๕ ใช้กรรไกรตัด ตกแต่งหางและครีบปลาให้สวยงาม ๔.๒ นำเส้นที่ ๒ สอดเข้ากับเส้นที่ ๑ ให้ได้ลักษณะตามภาพตัวอย่าง ๔.๔ ดึงทุกเส้นให้ตึง • สามารถสานปลาได้ตามความต้องการจะสานปลาตัวเล็กหรือตัวใหญ่ขึ้นอยู่กับผู้ประดิษฐ์ ดังนั้น ควรมีปลาหลาย ๆ ขนาด เพื่อความสวยงามของโมบายล์ปลาตะเพียน ๔.๓ นำเส้นที่อยู่ด้านหน้าสอดผ่านด้านหลัง ลอดวงที่ ๒ ด้านล่าง
  • 12.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เตรียมผสมสีที่ชื่นชอบลงในจานสี แล้วใช้พู่กันระบายสีลงบนตัวของปลาตะเพียน รอให้สีแห้ง แล้ววาดตา ปาก เกล็ดปลา หรือวาดลวดลายอื่น ๆ ได้ตามความชอบ เตรียมทำโครงโมบายล์ โดยใช้ลวดจากไม้แขวนเสื้อหรือกิ่งไม้ตามความต้องการ จากนั้นนำเชือกหรือเอ็นมาผูกเข้ากับโครงที่เตรียมไว้ ดังตัวอย่าง การทำโครงโมบายล์สามารถดัดแปลงให้โครงโมบายล์มีรูปร่างต่าง ๆ ได้ และควรผูกเชือกให้มีความสมดุลกัน
  • 13.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ นำปลาขนาดต่าง ๆ มาร้อยเข้ากับเชือกโมบายล์ที่เตรียมไว้ และควรติดกาวลาเทกซ์ เพื่อยึดให้ปลาติดกับเชือก นำผลงานการประดิษฐ์โมบายล์ปลาตะเพียน จากเปลือกข้าวโพด ไปแขวนตกแต่งที่ชายคาบ้าน ประตูหน้าต่าง หรือบริเวณที่มีลมพัด โมบายล์ปลาตะเพียนก็จะเคลื่อนไหวดูแล้วสบายตา และเกิดความภาคภูมิใจในผลงาน
  • 14.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕  ภาพปะติดเป็นของตกแต่งบ้านซึ่งสามารถทำได้จากวัสดุท้องถิ่นหลายชนิดนำมาประกอบกันบนแผ่นกระดาษแข็ง เป็นเรื่องราวหรือภาพสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วใส่กรอบรูปให้สวยงาม นำไปตั้งวางหรือแขวนประดับผนังได้ ภาพปะติด ๓.๒ วัสดุ อุปกรณ์ ๑. วัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น กิ่งไม้แห้ง ใบไม้แห้ง เศษผ้า กระดุม เมล็ดพืช ทราย เปลือกหอย เศษลวด แผ่นขัด เศษเชือก หรือเศษด้าย เปลือกไข่ ขนนก เกล็ดปลา ๒. กาวลาเทกซ์ ๓. กระดาษแข็ง ๔. ดินสอ ๕ กระดาษ A๔ ๖. สีไม้หรือสีน้ำ ๗. ไม้บรรทัด ๘. กรอบรูปสำเร็จขนาดตามต้องการ เศษผ้า เมล็ดพืช เศษเชือก กิ่งไม้แห้ง เปลือกหอย กระดุม
  • 15.ขั้นตอนการประดิษฐ์ภาพปะติด การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ วัดขนาดกรอบรูปที่จะนำมาใส่ภาพปะติดทั้งด้านยาวและด้านกว้าง วัดขนาดกระดาษแข็งตามขนาดกรอบรูปแล้วทำเครื่องหมาย จากนั้นตัดตามเครื่องหมายที่ทำไว้ ออกแบบภาพที่ต้องการและใช้ดินสอร่างภาพลงในกระดาษแข็ง ทากาววัสดุที่จะนำมาปะติดทีละชิ้นแล้วปะติดลงบนกระดาษแข็งจนครบทุกชิ้น จากนั้นรอให้กาวแห้ง นำภาพปะติดที่กาวติดแห้งสนิทแล้วมาใส่กรอบสำเร็จรูปที่เตรียมไว้
  • 16.๔. ประโยชน์ของการประดิษฐ์ของใช้ ของตกแต่ง จากวัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ การประดิษฐ์ของใช้ ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมีประโยชน์ดังนี้