หน่วยที่ 5 ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อการพัฒนาทวีปเอเชีย

0

Presentation Transcript

  • 1.บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด : 142 ถนนตะนาว เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 Aksorn CharoenTat ACT.Co.,Ltd : 142 Tanao Rd. Pranakorn Bangkok 10200 Thailand โทรศัพท์ : 02 622 2999 โทรสาร : 02 622 1311-8 webmaster@aksorn.com / www.aksorn.com ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ๑_หลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ ๒_แผนการจัดการเรียนรู้ ๓_PowerPoint_ประกอบการสอน ๔_Clip ๕_ใบงาน_เฉลย ๖_ข้อสอบประจำหน่วย_เฉลย ๗_การวัดและประเมินผล ๘_เสริมสาระ ๙_สื่อเสริมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖
  • 2.ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ จุดประสงค์การเรียนรู้ อธิบายพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของภูมิภาคเอเชียได้ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ ที่มีผลต่อการพัฒนาทวีปเอเชีย
  • 3.ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของประชากร เอเชียตะวันออกเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน มองโกเลีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)
  • 4.มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเขตเทือกเขาและที่ราบสูง ประกอบด้วย จีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ และมองโกเลีย ส่วนที่ราบลุ่มแม่น้ำมีพื้นดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก จึงมีประชากรตั้งถิ่นฐานอยู่หนาแน่น เป็นเขตอากาศอบอุ่น ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม จึงมีฝนตกและมีพายุตามชายฝั่งทะเล เช่น ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน เกาะไต้หวัน หมู่เกาะญี่ปุ่น ในฤดูหนาวได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมฤดูหนาวที่พัดเข้าสู่ตอนเหนือของจีน เกาหลีเหนือ และญี่ปุ่น ทำให้มีอากาศหนาวเย็น มีหิมะตก ส่วนทางใต้ของจีนมีอากาศร้อนชื้น สภาพภูมิประเทศบริเวณภาคพื้นทวีป ได้แก่ หมู่เกาะญี่ปุ่น หมู่เกาะคูริล เกาะแซคาลิน และเกาะไต้หวัน ประชากรส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานตามที่ราบริมฝั่ง และที่ราบเชิงเขา ประกอบอาชีพประมง มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงและที่ราบริมฝั่งทะเลแคบๆ สภาพภูมิประเทศบริเวณเกาะ สภาพภูมิอากาศ
  • 5.พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออก พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง .....สาธารณรัฐประชาชนจีน การปกครองจีนในอดีต มีการกำหนดรูปแบบการปกครอง เนื่องจากมีการอยู่รวมกันเป็นสังคม ในระยะแรกจีนมีการเลือกผู้ปกครองตามความสามารถ ต่อมามีรูปแบบการปกครองในระบอบจักรพรรดิ ทางพระราชสำนักดูแลบ้านเมืองได้อย่างเป็นระเบียบ การปกครองจีนหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน ค.ศ. ๑๙๑๒ เริ่มปกครองแบบสาธารณรัฐ ในทศวรรษที่ ๑๙๒๐-ค.ศ. ๑๙๔๙ มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์มาจนถึงปัจจุบัน
  • 6.พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง .....ประเทศญี่ปุ่น การปกครองญี่ปุ่นในอดีต ในระยะแรกมีการปกครองแบบเผ่าต่อมามีองค์จักรพรรดิเป็นผู้นำ มีการปกครองในระบอบศักดินาที่กระจายอำนาจจากส่วนกลางหรือเรียกว่า ระบบโชกุน ระบบโชกุน เป็นตำแหน่งที่จักรพรรดิพระราชทานให้ โชกุนคนแรก คือ โยะริโตะโมะ โชกุนมีอำนาจทางการปกครองมากกว่าจักรพรรดิ การปกครองหลังสิ้นสุดระบบโชกุน มีการปฏิรูปสมัยเมจิระบบโชกุนสิ้นสุด ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นใช้ลัทธิทหารนิยมขยายอำนาจเข้ายึดครอง ประเทศต่างๆ รวมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นถูกสหรัฐอเมริกาเข้ายึดครอง ๗ ปี และปลูกฝังการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้ญี่ปุ่น
  • 7.พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง .....ประเทศเกาหลี การปกครองเกาหลีในอดีต อาณาจักรแห่งแรกของเกาหลี เริ่มบริเวณเกาหลีเหนือในปัจจุบัน มีราชวงศ์ปกครองตนเอง แต่มักตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจีน ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๑๐-๑๙๔๕ เกาหลีตกอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น การปกครองภายหลังได้รับเอกราช เมื่อ ค.ศ. ๑๙๔๕ เกาหลีได้รับเอกราชจากญี่ปุ่น ปัญหาการเมืองทำให้เกาหลี แบ่งแยกออกเป็น ๒ ประเทศ คือ เกาหลีเหนือปกครอง ระบอบคอมมิวนิสต์ เกาหลีใต้ปกครองระบอบประชาธิปไตย จนนำไปสู่สงครามเกาหลี
  • 8.เศรษฐกิจจีนในอดีต พื้นฐานทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับเกษตรกรรมเป็นหลัก การเข้ามาของจักรวรรดินิยมตะวันตก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม จีนพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่น ทำให้ชาติตะวันตกเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในจีนมากขึ้น เศรษฐกิจหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ดำเนินการปฏิรูปที่ดินและเร่งการผลิตภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เริ่มนำนโยบายสี่ทันสมัยมาใช้ ปรับปรุงประเทศเข้าสู่เศรษฐกิจแบบทุนนิยม เมืองใหญ่หลายแห่งของจีนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ เช่น ปักกิ่ง เทียนจิน เซินเจิ้น ชางไห่ เป็นต้น พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ.....สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • 9.เศรษฐกิจญี่ปุ่นในอดีต ในอดีตเศรษฐกิจญี่ปุ่นขึ้นอยู่กับการเกษตร จนในยุคเมจิ ญี่ปุ่นได้พัฒนาประเทศเข้าสู่ยุคใหม่ด้วยอุตสาหกรรม หลังเปิดประเทศใน ค.ศ. ๑๘๕๔ ญี่ปุ่นได้พัฒนาประเทศจนประสบความสำเร็จ โดยมีการลงทุนในกิจการต่างๆ ทั้งสาธารณูปโภคและอุตสาหกรรม เศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ เศรษฐกิจญี่ปุ่นตกต่ำแต่ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา หลังสงคราม เศรษฐกิจญี่ปุ่นจึงกลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง ปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นประเทศอุตสาหกรรม แต่ก็ให้การสนับสนุนเกษตรกรรมเป็นอย่างดี พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ.....ประเทศญี่ปุ่น
  • 10.เศรษฐกิจเกาหลีในอดีต ในสมัยโบราณเศรษฐกิจเกาหลีขึ้นอยู่กับเกษตรกรรม ช่วงที่ถูกญี่ปุ่นยึดครอง ถูกควบคุมทางด้านเศรษฐกิจ มีการส่งข้าวไปญี่ปุ่น ทำให้เกิดความอดอยากในเกาหลี เศรษฐกิจหลังแบ่งแยกประเทศ เกาหลีใต้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เกาหลีเหนือเน้นบริหารทางด้านการเมืองและการทหารเป็นหลัก เศรษฐกิจจึงเจริญไม่เท่าเกาหลีใต้ พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ.....ประเทศเกาหลี
  • 11.สังคมในอดีต ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เป็นสังคมแบบจารีต ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คนในสังคมแบ่งออกเป็นชนชั้น ลัทธิความเชื่อมีอิทธิพลต่อแนวคิดและการดำรงชีวิต เช่น ลัทธิขงจื๊อ ลัทธิบูชิโด คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ในยุคจักรวรรดินิยมมีการรับวิถีชีวิตแบบตะวันตก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม สังคมหลังสงครามเย็น จีนและเกาหลีเหนือปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ได้กำหนดแนวทางวิถีชีวิตของประชาชน ญี่ปุ่นได้รับการวางพื้นฐานประชาธิปไตยจากสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันสังคมในเอเชียตะวันออกเป็นสังคมเมือง เศรษฐกิจก้าวหน้า ประชาชนมีการศึกษาสูง พัฒนาการด้านสังคม
  • 12.ภูมิภาคเอเชียใต้ ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของประชากร เอเชียใต้มีรูปร่างเป็นรูปสามเหลี่ยม ลักษณะคล้ายรวงผึ้งกำลังหยด ประกอบด้วยประเทศ อินเดีย ปากีสถาน เนปาล บังกลาเทศ ภูฏาน ศรีลังกา มัลดีฟส์
  • 13.บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำในภาคเหนือ มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น บริเวณคาบสมุทรอินเดียทางตอนกลางมีที่ราบสูงเดกกัน พื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้ง เต็มไปด้วยภูเขาน้อยใหญ่ บริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเดกกันเป็นที่ราบกว้างใหญ่ เป็นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมือง คือ พวกทมิฬ สภาพภูมิประเทศ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุและคงคา อากาศหนาวจัดในฤดูหนาว ร้อนจัดในฤดูร้อน บริเวณเขตเทือกเขาหิมาลัยอากาศหนาวจัด ตอนใต้บริเวณคาบสมุทรมีอากาศสม่ำเสมอ ทางตะวันออกของภูมิภาคในช่วงฤดูมรสุมมักเกิดพายุรุนแรง ฝนตกหนัก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูมิภาค ไม่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม จึงมีอากาศแห้งตลอดทั้งปี และมีทะเลทราย สภาพภูมิอากาศ
  • 14.การปกครองในอดีต เริ่มตั้งแต่อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ผู้ปกครองอาจเป็นนักบวชหรือกษัตริย์ ในสมัยพระเวทมีผู้นำเผ่า ต่อมาเกิดเมืองและรัฐหลายแห่งปกครองโดยราชวงศ์ต่างๆ เช่นสมัยราชวงศ์เมารยะ สมัยจักรวรรดิคุปตะ และสมัยราชวงศ์โมกุล การปกครองภายหลังการเข้ามาของชาติตะวันตก โปรตุเกสเป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เดินทางเข้ามายังอินเดียในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ เอเชียใต้ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เมื่ออินเดียได้เอกราชจึงเกิดการแยกประเทศออกเป็นอินเดียและปากีสถาน ต่อมาปากีสถานตะวันออกได้แยกออกเป็นประเทศบังกลาเทศ พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
  • 15.เศรษฐกิจในอดีต พื้นฐานทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับเกษตรกรรม ชาวบ้านมีอาชีพตามวรรณะของตน เมื่อชาวมุสลิมยึดครองอินเดียเหนือในคริสต์ศตวรรษที่ ๘ ทำให้มีการส่งเสริมการค้าภายนอกภูมิภาค ในสมัยจักรวรรดิโมกุลมีพ่อค้าชาวตะวันตกเข้ามาค้าขายเป็นจำนวนมาก ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ อังกฤษเข้ามาลงทุนทำไร่ชา ไร่ฝ้าย ไร่ฝิ่นในอินเดียและศรีลังกา เศรษฐกิจภายหลังการเข้ามาของชาติตะวันตก รัฐบาลอาณานิคมใช้อินเดียเป็นแหล่งผลิตสินค้าและส่งออกไปยังยุโรป ในช่วงสงครามเย็นอินเดียได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากสหภาพโชเวียต ปากีสถานได้รับความช่วยเหลือจากจีน หลังสงครามเย็นเศรษฐกิจพัฒนาไปเป็นระบบทุนนิยม และการลงทุนข้ามชาติ เอเชียใต้มีประชากรมากแต่มีทรัพยากรจำกัด การพัฒนาไม่ทั่วถึง ทำให้เป็นภูมิภาคที่มีฐานะทางเศรษฐกิจยากจนที่สุดในโลก พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ
  • 16.สังคมในอดีต อินเดียมีระบบวรรณะเป็นรากฐานที่สำคัญของสังคม และมีบทบาทต่อชาวฮินดูด้านศาสนา สังคม และชีวิตประจำวัน ระบบวรรณะของอินเดีย วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร เอเชียใต้เป็นแหล่งกำเนิดศาสนาและลัทธิสำคัญ เช่น ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระพุทธศาสนา ศาสนาเชน เป็นต้น สังคมในปัจจุบัน ปัจจุบันยกเลิกการแบ่งชั้นวรรณะแล้ว แต่ในชนบทระบบวรรณะยังคงมีอิทธิพลในการดำรงชีวิตอยู่ ประชากรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ด้อยการศึกษา มีความคิดอนุรักษ์นิยม แม้ว่าศาสนามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต แต่ศาสนาที่แตกต่างกันก็เป็นสาเหตุของความขัดแย้งด้วยเช่นกัน พัฒนาการด้านสังคม
  • 17.ภูมิภาคเอเชียตะวันตกใต้ ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของประชากร ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีตเพราะเป็นจุดเชื่อมทวีปสำคัญ ๓ ทวีป ได้แก่ ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ประกอบด้วยประเทศ ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน ตุรกี อัฟกานิสถาน เยเมน อิรัก โอมาน ซีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จอร์แดน อิสราเอล คูเวต กาตาร์ เลบานอน ไซปรัส บาห์เรน
  • 18.เขตเทือกเขาและที่ราบสูงทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ที่ราบสูงอิหร่าน เป็นต้น เขตที่ราบสูงอาหรับทางตะวันตกเฉียงใต้ เช่น บริเวณคาบสมุทรอาหรับ เป็นต้น เขตที่ราบต่ำตอนกลาง คือ บริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีส สภาพภูมิประเทศ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีส และชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีอากาศอบอุ่น มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เช่น บริเวณประเทศอิรัก อิสราเอล ซีเรีย บริเวณคาบสมุทรอาหรับ มีภูมิอากาศแบบทะเลทรายที่ร้อนและแห้งแล้ง ผู้คนอาศัยอยู่อย่างเบาบาง ใช้ชีวิตแบบเร่ร่อน เช่น แถบประเทศซาอุดีอาระเบีย เยเมน จอร์แดน สภาพภูมิอากาศ
  • 19.การปกครองในอดีต ศูนย์กลางของอารยธรรมเมืองยุคแรก คือ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การปกครองแบบนครรัฐ การปกครองภายใต้อาณาจักร และจักรวรรดิ คริสต์ศตวรรษที่ ๕ ได้รับอิทธิพลของอารยธรรมกรีก-โรมัน คริสต์ศตวรรษที่ ๗ เมื่อศาสดามุฮัมมัดประกาศศาสนาอิสลาม ทำให้ชาวอาหรับและพวกเบดูอินเกิดความสามัคคีจากการนับถือศาสนาเดียวกัน สร้างจักรวรรดิอาหรับที่รุ่งเรืองอยู่ในช่วง ค.ศ. ๖๓๔-๑๒๕๘ ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองแบกแดด คริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ พวกมุสลิมมองโกลขยายอำนาจเข้ามา คริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ จักรวรรดิออตโตมันได้เข้ามาปกครองดินแดนนี้ การปกครองภายหลังการเข้ามาของชาติตะวันตก ชาวยุโรปขยายลัทธิจักรวรรดินิยมเข้ามาในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑อังกฤษและฝรั่งเศสเข้ามามีอิทธิพล และสนับสนุนให้ชาวยิวจากยุโรปอพยพเข้ามายังดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ มหาอำนาจตะวันตกสนับสนุนการตั้งประเทศอิสราเอลของชาวยิว ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้น จนนำไปสู่สงครามระหว่างชาติอาหรับกับอิสราเอล ปาเลสไตน์กับอิสราเอล พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
  • 20.เศรษฐกิจในอดีต ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้เป็นดินแดนเชื่อมเส้นทางการค้าระหว่างเอเชีย แอฟริกาตะวันออก และมหาสมุทรอินเดีย เดิมชาวอาหรับประกอบอาชีพเกษตรกรรม และมีการเลี้ยงสัตว์หรือเป็นกองคาราวานค้าขาย เมื่อจักรวรรดิอาหรับรุ่งเรือง พ่อค้ามุสลิมได้ออกค้าขายไปยังดินแดนต่างๆ เศรษฐกิจภายหลังการเข้ามาของชาติตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ยุโรปได้ผูกขาดการค้าในภูมิภาคนี้ ใน ค.ศ. ๑๘๖๙ อังกฤษได้เปิดใช้คลองสุเอชในอียิปต์ จนกลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ การค้นพบน้ำมันทำให้ดินแดนนี้เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการสู้รบในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ และสงครามเย็น มีการรวมตัวกันตั้งองค์การโอเปก (OPEC ปัจจุบันเมืองใหญ่หลายเมืองมีฐานะทางเศรษฐกิจดี เช่น เทลอาวีฟ ริยาด พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ
  • 21.สังคมในอดีต เป็นสังคมแบบชนเผ่า ประกอบด้วยพวกที่ตั้งถิ่นฐาน และพวกเร่ร่อนหรือพวกเบดูอิน การอยู่กลางทะเลทรายทำให้ชนเผ่าต่างๆ ต้องช่วยเหลือกัน การยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม ทำให้ชนเผ่าต่างๆ รู้สึกผูกพันกันในฐานะที่เป็นมุสลิมเหมือนกัน ความขัดแย้งระหว่างเผ่าจึงลดลง สังคมในสมัยจักรวรรดิอาหรับ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับนับถือศาสนาอิสลาม มีการรับความรู้ต่างๆ จากทุกเชื้อชาติ ศาสนา เช่น การรับเลขอารบิกจากอินเดีย แล้วนำไปพัฒนาต่อ จนทำให้มีความรุ่งเรืองทางอารยธรรมสูง มีการถ่ายทอดความรู้ไปยังยุโรปผ่านสงครามครูเสด และภูมิภาคอื่นๆ ผ่านการทำสงคราม การเผยแผ่ศาสนา และค้าขาย พัฒนาการด้านสังคม
  • 22.ภูมิภาคเอเชียกลาง ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของประชากร ภูมิภาคเอเชียกลางเป็นภูมิภาคเกิดใหม่ เป็นดินแดนของกลุ่มประเทศสาธารณรัฐอิสระ ประกอบด้วยประเทศ คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน อาร์เมเนีย
  • 23.เขตที่ราบสูงและเทือกเขา มีเทือกเขาคอเคซัส อยู่ทางตะวันตกสุดของภูมิภาค เขตที่ราบกว้างใหญ่ ตั้งแต่บริเวณตอนเหนือ ตอนกลาง ตอนใต้และตะวันตก เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของภูมิภาค เขตทะเลทราย กระจายอยู่เป็นหย่อมๆ ทั่วทั้งภูมิภาค สภาพภูมิประเทศ เขตที่ราบสูงและเทือกเขาทางตะวันตกของภูมิภาค ฝนตกน้อย อากาศหนาวเย็น เขตทะเลทราย มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง สภาพภูมิอากาศ
  • 24.การปกครองในอดีต มีการปกครองแบบชนเผ่า มีเมืองสำคัญตั้งอยู่บนเส้นทางสายแพรไหม คริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ ถูกยึดครองโดยชนเผ่ามองโกล การปกครองหลังคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิรัสเซีย ค.ศ. ๑๙๒๒ เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์สถาปนาสหภาพโซเวียต ได้อ้างสิทธิเหนือดินแดนเอเชียกลาง ค.ศ. ๑๙๙๑ เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย สาธารณรัฐต่างๆ จึงแยกตัวเป็นเอกราช พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
  • 25.เศรษฐกิจในอดีต มีความสำคัญในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายแพรไหม ประชาชนประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์และทำกสิกรรม เศรษฐกิจภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต รัฐบาลกลางจะเป็นผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจ ประชาชนส่วนหนึ่งประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ บางส่วนเป็นแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ
  • 26.สังคมในอดีต ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษา และศาสนา จากยุโรปและเอเชีย เป็นสังคมที่มีชนหลากหลายกลุ่ม เช่น อุซเบก ทาจิก เติร์กเมน ประชากรร้อยละ ๙๐ นับถือศาสนาอิสลาม รองลงมา คือ คริสต์ศาสนา สังคมภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต เมื่อถูกรวมเข้ากับสหภาพโซเวียตจึงใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษากลาง พรรคคอมมิวนิสต์มีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด ทำให้การย้ายถิ่นฐานมีน้อย เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย ประเทศต่างๆ ในเอเชียกลางมีการติดต่อกับโลกภายนอกมากขึ้น พัฒนาการด้านสังคม