การงานอาชีพ ป.5 หน่วยที่ 2 เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย

1

Presentation Transcript

  • 1.หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่
  • 2.หน่วยการเรียนรู้ที่ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ สัญลักษณ์สากลในการดูแลรักษาเสื้อผ้า การซักเสื้อผ้าและการตากเสื้อผ้า การเก็บเสื้อผ้าและการพับเสื้อผ้า การซ่อมแซมเสื้อผ้า การรีดเสื้อผ้า เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
  • 3.๑. การซ่อมแซมเสื้อผ้า  การดูแลรักษาเสื้อผ้า เป็นการทำให้เสื้อผ้าใช้งานได้นานและประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อเสื้อผ้าใหม่ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การซ่อมแซมเสื้อผ้า การขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า และการซักเสื้อผ้า  เสื้อผ้าที่สวมใส่เป็นประจำอาจชำรุดจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือเสื่อมสภาพเพราะใช้งานมานาน หากรู้จักซ่อมแซมจะทำ ให้เสื้อผ้าใช้งานได้ต่อไป การซ่อมแซมเสื้อผ้ามีหลักการสำคัญ ดังนี้ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เลือกวิธีซ่อมแซมให้เหมาะสมกับลักษณะการชำรุดของเสื้อผ้า เพื่อความทนทานต่อการใช้งาน ใช้ด้ายสีเดียวกับสีเสื้อผ้าที่จะซ่อมแซมหรือสีใกล้เคียงกัน เพื่อความกลมกลืนสวยงาม ซ่อมแซมก่อนซักรีดเสื้อผ้า เพื่อป้องกันไม่ให้เสื้อผ้าชำรุดไปมากกว่าเดิม
  • 4.การสอยเป็นการซ่อมแซมเสื้อผ้าวิธีหนึ่งซึ่งเห็นรอยเย็บน้อยที่สุด การสอยโดยทั่วไปมี ๔ วิธี ดังนี้ การสอย ๑.๑ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
  • 5.วิธีการสอยที่นิยมใช้ซ่อมแซมเสื้อผ้ามากที่สุด คือการสอยซ่อนด้าย ซึ่งมีวัสดุ อุปกรณ์และขั้นตอนการทำดังนี้ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เข็มมือ เข็มหมุด ด้าย กรรไกร วัสดุ อุปกรณ์ ขั้นตอนการสอยซ่อนด้าย
  • 6.ตะขอเป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ใช้สำหรับเกี่ยวผ้า 2 ชิ้นให้ติดกัน เช่น ขอบกางเกง ขอบกระโปรง ขอบแขนเสื้อ การเย็บตะขอ ๑.๒ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ตะขอเกี่ยวและตะขอรับบนกางเกง ตะขอเกี่ยวและตะขอรับบนคอเสื้อ ๑) ตะขอเกี่ยว เป็นตะขอที่มีลักษณะงองุ้ม ใช้ยึดหรือเกาะเกี่ยวตะขอรับให้อยู่กับที่ ๒) ตะขอรับ เป็นตะขอที่ให้ตะขอเกี่ยวมายึดเกาะ ตะขอรับมี ๓ ชนิด ดังนี้
  • 7.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เข็มมือ ด้าย กรรไกร ตะขอรับ ตะขอเกี่ยว วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเย็บตะขอ ขั้นตอนการเย็บตะขอเกี่ยว
  • 8.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ขั้นตอนการเย็บตะขอรับ การติดตะขอเกี่ยวและตะขอรับควรติดในตำแหน่งที่พอดีกัน เพื่อให้เสื้อผ้าที่สวมใส่ไม่คับ หรีอหลวมจนเกินไป และไม่เสียรูปทรงขณะสวมใส่
  • 9. การดูแลรักษาเสื้อผ้าตามสัญลักษณ์สากลที่บอกรายละเอียดข้อควรปฏิบัติหรือละเว้นในการทำความสะอาด และการระวังรักษาเนื้อผ้าไว้บนป้ายหรือฉลากเสื้อผ้าสำเร็จรูป หรือผลิตภัณฑ์สิ่งทอต่าง ๆ จะช่วยถนอมเนื้อผ้าให้ใช้ งานได้นาน โดยสัญลักษณ์ ที่พบเห็นทั่วไป มีดังนี้ ๒. สัญลักษณ์สากลในการดูแลรักษาเสื้อผ้า การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ซักด้วยมือเท่านั้น ห้ามซักด้วยเครื่องซักผ้า ห้ามซักด้วยเครื่อง แยกซักด้วยน้ำเย็น ซักแห้งเท่านั้น ห้ามซักแห้ง ปั่นแห้งได้ ห้ามอบหรือปั่นแห้ง ห้ามบิด ใช้สารฟอกขาวได้ ห้ามใช้สารฟอกขาว ตากในที่ราบ แขวนตาก รีดด้วยอุณหภูมิต่ำ รีดด้วยอุณหภูมิ ปานกลาง รีดด้วยอุณหภูมิสูง ห้ามรีด
  • 10. การซักเสื้อผ้าและการตากเสื้อผ้า เป็นวิธีการดูแลรักษาเสื้อผ้าอย่างหนึ่งซึ่งต้องทำเป็นประจำ เพื่อให้มีเสื้อผ้าที่ แห้งสะอาดไว้สวมใส่ใน ครั้งต่อไป ๓. การซักเสื้อผ้าและการตากเสื้อผ้า การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เสื้อผ้าที่สวมใส่แล้วย่อมเกิดความสกปรกจาก คราบเหงื่อไคล ฝุ่นละออง หรือรอยเปื้อนจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ จึงต้องนำไปซักทำความสะอาด ตากแดดให้แห้ง แล้วพับเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย เพื่อความสะดวกในการนำมาสวมใส่ การซักเสื้อผ้าโดยทั่วไปมี ๒ วิธี ได้แก่ การซักเสื้อผ้าด้วยมือและการซักเสื้อผ้าด้วยเครื่องซักผ้า ซึ่งการซักเสื้อผ้าแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน การเลือกซักเสื้อผ้าด้วยวิธีใดนั้น ขึ้นอยู่กับความสะดวก เวลา และฐานะทางเศรษฐกิจของแต่ละครอบครัว การซักเสื้อผ้า ๓.๑
  • 11.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
  • 12.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ การซักเสื้อผ้าด้วยมือเป็นการทำความสะอาดเสื้อผ้าโดยใช้แรงงานคน ซึ่งมีวัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็น ดังนี้
  • 13.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ขั้นตอนการซักผ้าด้วยมือ
  • 14.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ การซักเสื้อผ้าด้วยเครื่องซักผ้าเป็นการทำความสะอาดเสื้อผ้าโดยใช้เครื่องซักผ้า ซึ่งเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่งร่วมกับสารซักล้างดังนี้ ๑. เครื่องซักผ้า เครื่องซักผ้ามี ๒ ประเภท ได้แก่ เครื่องซักผ้าแบบอัตโนมัติ (ถังเดี่ยว) และเครื่องซักผ้าแบบกึ่งอัตโนมัติ (ถังคู่) โดยแต่ละประเภทมีลักษณะรูปร่าง และการทำงานที่แตกต่างกัน ๑.๑ เครื่องซักผ้าแบบอัตโนมัติ ลักษณะ เป็นถังเดี่ยว มีปุ่ม ลูกบิดหมุน หรือระบบสัมผัส เพื่อตั้งโปรแกรมการทำงาน ฝาเปิด-ปิดได้ มีทั้งฝาบนและฝาหน้า การทำงาน สามารถซักเสื้อผ้าให้เสร็จสิ้นได้เองตั้งแต่เริ่มซักจนถึงปั่นหมาด โดยตั้งโปรแกรมการทำงานเพียงครั้งเดี่ยวก่อนซัก ซึ่งการซักเสื้อผ้าด้วยเครื่องซักผ้าประเภทนี้ต้องมีระบบน้ำที่ดีและเพียงพอต่อการใช้งานตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการทำงาน และต้องใส่เสื้อผ้าตามน้ำหนักที่แต่ละเครื่องระบุไว้
  • 15.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ๑.๒ เครื่องซักผ้าแบบกึ่งอัตโนมัติ ลักษณะ เป็นถังคู่ มีปุ่มหรือลูกบิดหมุน เพื่อตั้งโปรแกรมการทำงาน มีฝาเปิด-ปิดอยู่ด้านบนทั้ง ๒ ถัง การทำงาน การซักเสื้อผ้าและการปั่นหมาดไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ในถังเดียว การซักเสื้อผ้าด้วยเครื่องซักผ้าประเภทนี้ประหยัดน้ำ แต่ผู้ใช้ต้องควบคุมระบบน้ำโดยเปิด-ปิดน้ำเอง และเมื่อต้องการปั่นแห้ง ต้องย้ายผ้าจากถังซักไปสู่ถังปั่นหมาด ก่อนใช้เครื่องซักผ้าทุกชนิด ควรอ่านคู่มือที่แนบมากับเครื่องซักผ้าให้เข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
  • 16.กล่องใส่ผงซักฟอก และน้ำยาปรับผ้านุ่ม ควรถอดออกมาล้างเป็นระยะ ๆ โดยใช้แปรงสีฟันขัดทำความสะอาด ตัวถังภายนอก ควรใช้ฟองน้ำ หรือผ้าชุบน้ำอุ่นหมาด ๆ เช็ดทำความสะอาด ขอบยาง ควรเช็ดให้แห้งทุกครั้งหลังการใช้งาน และไม่ควรปิดประตูเครื่องเนื่องจากจะทำให้มีกลิ่นอับชื้น และเกิดเชื้อราได้ง่าย ตัวถังภายใน ควรล้างทำความสะอาดเดือนละครั้ง โดยตั้งโปรแกรมการซักผ้าหนา เปิดเครื่องและปล่อยให้ทำงานจนจบโปรแกรมโดยไม่ต้องใส่เสื้อผ้าและผงซักฟอก บานประตูและกระจก ให้ใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดโดยรอบ โดยเฉพาะด้านใน ไส้กรองน้ำทิ้ง ควรถอดทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุของการอุดตันได้ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ การดูแลรักษาเครื่องซักผ้า ๒. สารซักล้าง สารซักล้างที่ใช้กับเครื่องซักผ้ามีทั้งชนิดผง ชนิดเกล็ด และน้ำยาซักผ้าที่เป็นของเหลว สำหรับวิธีการใช้สามารถอ่านได้จากฉลากข้างถุง กล่อง หรือขวดผลิตภัณฑ์
  • 17.ขั้นตอนการซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
  • 18.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ผ้าที่ซักเสร็จแล้วควรนำมาตากทันที่ เพื่อป้องกัน เสื้อผ้ามีกลิ่นอับชื้น โดยใช้อุปกรณ์ ได้แก่ ไม้แขวนเสื้อ ที่หนีบผ้า และราวตากผ้า การตากเสื้อผ้า ๓.๒ ขั้นตอนการตากเสื้อผ้า ๑. คลี่ผ้าออก แล้วสะบัดผ้า ๒-๓ ครั้ง เพื่อให้สะเด็ดน้ำและป้องกันไม่ให้ผ้ายับมาก ๒. กลับผ้าด้านในออกมาด้านนอกทุกตัว เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้ามีสีซีดและเปื้อนฝุ่นละออง ๓. นำเสื้อผ้ามาใส่ไม้แขวนเสื้อหรือพาดบนราวตากผ้า แล้วใช้ที่หนีบผ้าหนีบไว้ ไม่ให้เสื้อผ้าปลิว นอกจากนี้ เสื้อผ้าสีควรตากในที่ร่มเพื่อป้องกันเสื้อผ้าสีซีด และเสื้อผ้าที่ทำจากไหมพรม ควรตากบนพื้นตะแกรงในแนวราบเพื่อไม่ให้เสื้อผ้าเสียรูปทรง การตากเสื้อผ้า ไม้แขวนเสื้อ ที่หนีบผ้า
  • 19.การเก็บเสื้อผ้าและการพับเสื้อผ้า ช่วยให้เสื้อผ้าที่แห้งแล้วไม่ต้องเปื้อนฝุ่นที่เกิดจากลมพัด หรือตากแดดจนสีซีด รวมทั้งเป็นระเบียบเรียบร้อย พร้อมสำหรับการนำมาพับ และรีดหรือใช้งานต่อไป ๔. การเก็บเสื้อผ้าและการพับเสื้อผ้า การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ การเก็บเสื้อผ้า มีขั้นตอนดังนี้ ๑. เก็บเสื้อผ้าที่ตากไว้จากราวตากผ้า โดยเสื้อผ้าที่มีไม้แขวนให้หิ้วมาทั้งไม้แขวน ส่วนเสื้อผ้าที่พาดไว้ ให้ดึงที่หนีบผ้าออกแล้ววางรวมกันในกะละมังหรือตะกร้าผ้าที่แห้งสะอาด ๒. แยกประเภทเสื้อผ้าที่ต้องรีดและไม่ต้องรีด โดยเสื้อผ้าที่ต้องรีดให้แขวนรวมกันไว้เพื่อรอรีด ส่วนเสื้อผ้าที่ไม่ต้องรีด วางรวมกันเพื่อพับก่อนเก็บเข้าตู้เสื้อผ้า การเก็บเสื้อผ้า ๔.๑ การพับผ้า
  • 20.เสื้อผ้าที่ไม่ต้องรีด เช่น ชุดนอน กางเกงชั้นใน เสื้อยืด กางเกงขาสั้น ถุงเท้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ผ้าถุง ควรพับให้เรียบร้อยเพื่อเก็บในกล่องหรือตู้เสื้อผ้า การพับเสื้อผ้า ๔.๒ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
  • 21. การรีดเสื้อผ้า เป็นวิธีทำให้เสื้อผ้าเรียบน่าสวมใส่ และเสื้อผ้าที่เรียบนี้เองจะช่วยส่งเสริมให้ผู้สวมใส่มีบุคลิกภาพดี ๕. การรีดเสื้อผ้า การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการรีดเสื้อผ้าแต่ละชนิดมี วิธีการใช้งานและการดูแลรักษาแตกต่างกัน ดังนี้ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการรีดเสื้อผ้า ๕.๑
  • 22.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
  • 23.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ การรีดเสื้อผ้าให้เรียบ ถนอมเนื้อผ้า และปลอดภัย มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้ ข้อควรปฏิบัติในการรีดเสื้อผ้า ๕.๒ ๑. ศึกษาวิธีการใช้วัสดุ อุปกรณ์สำหรับรีดเสื้อผ้าจากเอกสาร แผ่นพับหรือฉลากที่ติดอยู่บนกล่องและภาชนะบรรจุให้ละเอียดก่อนใช้งาน ๒. สำรวจชนิดของผ้าที่ต้องการรีด เพื่อจะได้ปรับอุณหภูมิของเตารีดให้เหมาะสมกับชนิดของผ้า ๓. พรมน้ำให้เสื้อผ้ามีความชื้นก่อนรีด หรือใช้น้ำยารีดผ้า หรือรีดผ้าขณะกำลังหมาดจนเกือบแห้งจะช่วยให้ผ้าอ่อนตัว รีดได้ง่าย และเรียบเสมอกัน ๔. ออกแรงกดเตารีดตามน้ำหนักของเตารีด เช่น เตารีดที่มีน้ำหนักมากจะใช้แรงกดน้อย เตารีดที่มีน้ำหนักน้อยจะใช้แรงกดมาก ๕. ขณะรีดผ้าควรมีสมาธิมองดูเสื้อผ้าที่รีดตลอดเวลา ระมัดระวังไม่ให้เตารีดสัมผัสมือจนเกิดแผลพุพอง การรีดเสื้อผ้า
  • 24.ปรับระดับอุณหภูมิที่ปุ่มควบคุมบนเตารีดให้เหมาะสมกับผ้าแต่ละชนิดที่จะรีด เสียบปลั๊กเตารีด แล้วทดลองความร้อนกับผ้าด้านใน โดยรีดบริเวณสาบเสื้อก่อนการรีดตัวเสื้อ หรือระหว่างที่รอให้เตารีดร้อน อาจรีดผ้าบาง ๆ เช่น ผ้าเช็ดหน้าก่อน เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้า คลี่ผ้าที่พรมน้ำแล้ววางไว้บนผ้ารองรีดหรือโต๊ะรองรีด จากนั้นรีดส่วนเล็ก ๆ ของตัวเสื้อก่อน เช่น คอ ปก แขน กระเป๋า ขอบกระโปรง ขอบกางเกง แล้วรีดตัวเสื้อ ตัวกระโปรงหรือตัวกางเกง โดยต้องรีดให้แห้งสนิท เพื่อป้องกันผ้าคืนตัวซึ่งจะทำให้ผ้าไม่เรียบ หมุนปุ่มควบคุมอุณหภูมิมาที่เลข ๐ จากนั้นถอดปลั๊กเตารีดเมื่อใกล้รีดเสร็จ แล้วรีดผ้าบาง ๆ ได้อีกเล็กน้อย เพราะเมื่อถอดปลั๊ก เตารีดยังมีความร้อนอยู่อีกระยะเวลาหนึ่ง การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ขั้นตอนในการรีดเสื้อผ้า ๕.๓