การงานอาชีพ ป.5 หน่วยที่ 1 งานบ้าน

1

Presentation Transcript

  • 1.หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่
  • 2.หน่วยการเรียนรู้ที่ งานบ้าน การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ การทำงานกับสมาชิกในครอบครัว การจัดการงานบ้านอย่างเป็นระบบ จิตสำนึกในการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า
  • 3.๑. การทำงานกับสมาชิกในครอบครัว  การทำงานบ้านเป็นกิจกรรมที่สมาชิกในครอบครัวได้ทำงานร่วมกัน ช่วยทำให้บ้านสะอาดเรียบร้อย น่าอยู่อาศัย และเมื่อบ้านน่าอยู่อาศัย ทุกคนในบ้านก็จะมีความสุข การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
  • 4.หมายถึง งานที่หัวหน้าครอบครัวหรือ ผู้ปกครองมอบหมายให้สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวทำตามความสนใจและความถนัด ซึ่งเหมาะสมกับวัยและความสามารถ หมายถึง งานที่สมาชิกในครอบครัวช่วยทำด้วยความสมัครใจ หรือช่วยทำแทนสมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ ในโอกาสต่าง ๆ ลักษณะงานบ้านที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวต้องช่วยกันทำ ๑.๑ ๑) งานบ้านที่ได้รับมอบหมาย ๒) งานบ้านที่ไม่ได้รับมอบหมาย การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
  • 5.มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่เกี่ยงกันทำงาน ให้ความช่วยเหลือหรือทำงานแทนสมาชิกในครอบครัวตามความสามารถของตนเอง เมื่อเจ้าของงานเจ็บป่วย หรือต้องการให้งานเสร็จเร็วขึ้น กล่าวคำ “ขอบคุณ” เมื่อผู้มีอายุมากกว่าช่วยงาน หรือ “ขอบใจ” เมื่อผู้มีอายุน้อยกว่าช่วยงานทุกครั้ง กล่าวคำ “ขอโทษ” ทุกครั้งที่ทำงานผิดพลาด และปรับปรุงแก้ไขการทำงานของตนเองให้ดีขึ้น รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน เมื่อเกิดความผิดพลาดในการทำงาน มารยาทในการทำงานกับสมาชิกในครอบครัว ๑.๒ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
  • 6.บ้านสะอาดเรียบร้อย น่าอยู่อาศัย สมาชิกในครอบครัวมีเวลาทำกิจกรรมร่วมกัน จึงมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและให้ความร่วมมือในการทำงานจนสำเร็จได้ เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สร้างลักษณะนิสัยที่ดีให้แก่สมาชิกในครอบครัว เช่น ความรับผิดชอบความมีระเบียบวินัยในการดำเนินชีวิต ความประณีตรอบคอบ รักการทำงานยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ฝึกให้สมาชิกในครอบครัวทำงานอย่างเป็นกระบวนการตามลำดับขั้นตอน ๑.๓ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ประโยชน์ของการทำงานบ้านร่วมกับสมาชิกในครอบครัว
  • 7. การจัดการงานบ้านอย่างเป็นระบบ เป็นกระบวนการทำงานบ้านตามลำดับขั้นตอน ซึ่งสามารถมอบหมายงาน ติดตาม ควบคุม และตรวจสอบการทำงานจน ได้ผลงานที่มีคุณภาพ ช่วย ประหยัดเวลา แรงงาน และ ค่าใช้จ่ายในครอบครัว ๒. การจัดการงานบ้านอย่างเป็นระบบ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
  • 8.๑. วางแผนการทำงานบ้าน เป็นการกำหนดงานที่จะทำ เป้าหมายของงานที่จะทำ วิธีการทำงาน วัสดุ อุปกรณ์ เวลาที่ใช้ในการทำงาน และผู้รับผิดชอบในแต่ละงาน ๒. การทำงานบ้านตามแผนที่วางไว้ เป็นการทำงานบ้านตามแผนงานที่กำหนด จะช่วยลดความสับสนและความผิดพลาดในการทำงานได้ ๓. การประเมินผลงาน เป็นการตรวจสอบว่างานที่ทำมีข้อบกพร่องหรือไม่ ถ้ามี ต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น กระบวนการทำงานบ้าน ๒.๑ การจัดการงานบ้านอย่างเป็นระบบ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ วางแผนกวาดพื้น กวาดพื้นตามแผนที่วางไว้ ประเมินผลงานพื้นที่กวาดแล้วว่าสะอาดหรือไม่ ตัวอย่างการจัดการงานบ้านอย่างเป็นระบบ
  • 9. แผนการทำงานบ้านที่ดี ๒.๒ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เรียงลำดับความสำคัญของงาน ว่างานใดสำคัญเป็นอันดับแรก และงานใดสำคัญรองลงมา ระบุวันเวลาและกิจกรรมในแผนงานอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย และเข้าใจตรงกัน ระบุผู้รับผิดชอบในแต่ละงาน โดยเลือกให้เหมาะสมกับวัย ความสนใจความสามารถ หรือเวลาว่างของผู้รับผิดชอบงานนั้น ๆ จัดสรรเวลาให้เหมาะสมกับงาน โดยงานที่ใช้แรงงานมากและใช้เวลาในการทำงานมาก เช่น พรวนดิน ตัดหญ้า ตักน้ำ ทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่ควรทำในตอนเช้าหรือทำเฉพาะวันหยุด ส่วนงานที่ใช้แรงงานน้อยและใช้เวลาทำไม่มากนัก เช่น งานปัด กวาด เช็ด ถู ควรทำทุกวัน
  • 10.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ต้องจัดสรรเวลาว่างร่วมกันหลังจากทำงานบ้านแล้ว เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้พูดคุย และทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ดูโทรทัศน์ ออกกำลังกาย ทำสวน รับประทานอาหารเย็น แผนงานที่กำหนดไว้ต้องปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แผนงานที่กำหนดไว้ทุกคนต้องปฏิบัติได้ ตัวอย่าง แผนการทำงานบ้านในวันหยุด ๑ วัน
  • 11.หมายถึง ความพยายามของบุคคลที่จะจัดระบบงานในการทำงานเป็นรายบุคคล และจัดระบบคนในการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้ทำงานสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะการจัดการงานบ้านจึงเป็นการทำงานบ้านด้วยตนเองเพียงคนเดียว หรือการทำงานบ้านร่วมกับสมาชิกในครอบครัวอย่างเป็นระบบ ประณีต และ มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงาน เช่น ไฟฟ้า น้ำ กระดาษ อย่างประหยัดและคุ้มค่า เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำความรู้เรื่อง การจัดการงานบ้านอย่างเป็นระบบและการเขียนแผนการทำงานบ้านมาประยุกต์ใช้กับงานแต่ละงานที่จะทำ ทักษะการจัดการงานบ้าน ๒.๓ ทักษะการจัดการ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
  • 12. การจัดห้องครัว ๒.๔ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ห้องครัวเป็นห้องที่ใช้เตรียมอาหาร ประกอบอาหาร จัดวางและเก็บสิ่งของเครื่องใช้ในครัวต่าง ๆ และบางครอบครัวอาจมีโต๊ะรับประทานอาหารในห้องครัวด้วย การจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ในห้องครัว การจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ในห้องครัวในตำแหน่งที่เหมาะสม จะช่วยให้เดินเข้า-ออกได้สะดวก มีความคล่องตัวในการทำงาน ดูแลรักษาและทำความสะอาดได้ง่าย โดยมีแนวทาง ดังนี้
  • 13.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ควรมีถังขยะสำหรับใส่เศษอาหารแห้ง อาหารสด และมีปลั๊กไฟ เพื่อใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า เตาไมโครเวฟ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
  • 14.การจัดเก็บอุปกรณ์ประกอบอาหารและรับประทานอาหารในห้องครัว อุปกรณ์ประกอบอาหารและรับประทานอาหารในห้องครัวที่ล้างสะอาดและผึ่งให้แห้งแล้ว ควรนำมาจัดเก็บ ดังนี้ หม้อ ลังถึง คว่ำไว้บนชั้นวางหรือเก็บในตู้โปร่ง ครก คว่ำไว้บนชั้นวางโปร่ง ๆ สากและเขียงวางไว้ข้าง ๆ กระทะ ตะหลิว ทัพพี และกระชอนที่มีรูสำหรับแขวน ให้แขวนไว้บนที่แขวน ส่วนที่ไม่มีรูแขวนให้วางไว้ในที่ว่าง มีด เก็บไว้ในที่เสียบ เพื่อป้องกันคมมีดกระทบกันและเสียคม จาน ชาม ถ้วย คว่ำไว้บนชั้นวางโปร่ง ๆ หรือเก็บในตู้ แก้วน้ำ ถ้วย คว่ำไว้บนชั้นวางหรือเก็บในตู้ ช้อน ส้อม วางไว้ในที่ว่างและปิดฝาไว้ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
  • 15.การจัดเก็บเครื่องปรุงรส ข้าวสาร และอาหารแห้งในห้องครัว หลังใช้งาน ปิดฝาขวดหรือฝาภาชนะเครื่องปรุงรส ข้าวสาร และอาหารแห้งให้แน่นสนิทก่อนนำไปจัดเก็บ ดังนี้ ขวดเครื่องปรุงรสวางรวมกันไว้บนชั้นวางหรือใกล้เตาปรุงอาหารเพื่อให้หยิบใช้สะดวก ข้าวสาร น้ำตาล เกลือกะปิ วางไว้ในที่โปร่ง ไม่อับชื้นและไม่ร้อน หอม กระเทียม แขวนไว้ในที่โปร่งหรือวางไว้ในตะกร้าโปร่ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง วุ้นเส้น เก็บในตู้มีประตูปิด การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
  • 16.ตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้เก็บรักษาอาหารให้คงความสดไว้และไม่เน่าเสียในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อรอการนำมารับประทาน หรือประกอบอาหาร การใช้ตู้เย็นอย่างมีประสิทธิภาพทำได้โดยไม่เปิด-ปิดตู้เย็นบ่อย ๆ ละลายน้ำแข็งในช่องแข็งทุก ๑-๒ สัปดาห์ ทำความสะอาดชั้นวางต่าง ๆ ในตู้เย็นอยู่เสมอ และจัดวางอาหารให้เป็นระเบียบตามอุณหภูมิที่เหมาะสมในช่องและชั้นวางภายในตู้เย็น เพราะอาหารแต่ละชนิดมีลักษณะและระยะเวลาในการเน่าเสียแตกต่างกัน การจัดตู้เย็น ๒.๕ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
  • 17.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ แนวทางการจัดตู้เย็น
  • 18.ตู้อาหารเป็นตู้ที่ใช้เก็บอาหารที่เหลือจากการรับประทาน อาหารที่ปรุงเสร็จแล้วรอการเสิร์ฟ และอาหารแห้ง เช่น หอม กระเทียม อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป วุ้นเส้น ตู้อาหารส่วนใหญ่ทำจากอะลูมิเนียม มีประตูเปิดและปิดได้ช่วยป้องกันมดและแมลงมาไต่ต่อมอาหาร การจัดวางอาหารในตู้อาหารให้เป็นระเบียบ มีวิธีปฏิบัติดังนี้ ๑. แยกประเภทของอาหาร ๒. จัดวางอาหารแต่ละประเภทบนชั้นต่าง ๆ โดยวางอาหารที่ต้องการใช้ก่อนหรือหมดอายุเร็วที่สุดไว้ด้านนอกสุด การจัดตู้อาหาร ๒.๖ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
  • 19.การจัดโต๊ะอาหารเป็นงานบริการในบ้านที่ช่วยแบ่งเบาภาระของสมาชิกในครอบครัว ทำให้อุปกรณ์รับประทานอาหารเป็นระเบียบพร้อมใช้งาน และช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการรับประทานอาหาร อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดโต๊ะอาหาร ๑. จาน ๒. ช้อน ส้อม ๓. แก้วน้ำ ๔. ผ้าเช็ดปาก ๕. ผ้าปูโต๊ะ ๖. ผ้ารองจาน การจัดโต๊ะอาหาร ๒.๖ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ บางครอบครัวที่มีโต๊ะอาหารขนาดใหญ่อาจตกแต่งให้สวยงามด้วยการวางแจกันดอกไม้ ตะกร้าหรือกระจาดใส่ผลไม้ไว้กลางโต๊ะ โต๊ะอาหารที่จัดเรียบร้อย
  • 20.ขั้นตอนการจัดโต๊ะอาหาร การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ปูผ้าปูโต๊ะบนโต๊ะอาหาร ถ้ามีผ้ารองจานให้วางบนผ้าปูโต๊ะตามจำนวนผู้รับประทานอาหาร วางจานข้าวบนผ้ารองจาน ตามจำนวนผู้รับประทานอาหาร วางช้อนไว้ด้านขวา และวางส้อมไว้ด้านซ้ายของจานบนผ้ารองจาน
  • 21.ขั้นตอนการจัดโต๊ะอาหาร การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ วางแก้วน้ำทางขวามือเยื้องไปด้านบน วางผ้าเช็ดปากไว้บนจานข้าวหรือทางขวามือ วางกับข้าวไว้กลางโต๊ะอาหาร และก่อนรับประทานอาหาร ให้คลี่ผ้าเช็ดปากวางไว้บนตัก แล้วจึงตักข้าวเสิร์ฟบนจานข้าว
  • 22.ห้องน้ำและห้องส้วมเป็นห้องที่ใช้สำหรับอาบน้ำชำระล้างร่างกายและขับถ่ายเป็นประจำจึงต้องทำความสะอาดอยู่เสมอ เพราะถ้าปล่อยให้เศษผง ฟองสบู่ หรือตะกอนของน้ำเกาะติดสุขภัณฑ์และพื้นผนังห้องนาน ๆ จะทำให้เกิดคราบสกปรก เป็นแหลงสะสมเชื้อโรค มีกลิ่นเหม็น ทำความสะอาดได้ยาก และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุลื่นล้มได้ การทำความสะอาดห้องน้ำและห้องส้วม ๒.๘ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
  • 23.น้ำยาและผงทำความสะอาด ใช้กำจัดคราบสกปรกต่าง ๆ ในห้องน้ำ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ถังน้ำ ใช้รองน้ำสำหรับล้างคราบน้ำยาและผงทำความสะอาด ถุงมือยาง ใช้สวมใส่เพื่อป้องกันผิวหนังสัมผัสน้ำยาและผงทำความสะอาด ขันน้ำ ใช้ตักน้ำสำหรับล้างคราบน้ำยาและผงทำความสะอาด ฟองน้ำ ใช้ขัดอ่างล้าง ที่ว่างสบู่ และที่วางยาสระผม ผ้าปิดจมูกและปาก ใช้ปิดจมูกและปากขณะทำความสะอาดห้องน้ำและห้องส้วม เพื่อป้องกันการสูดดมกลิ่นของน้ำยาและผงทำความสะอาดโดยตรง รองเท้ายางหรือรองเท้าบูต ใช้สวมใส่ขณะทำความสะอาดห้องน้ำและห้องส้วม เพื่อป้องกันการสัมผัสน้ำยาและผงทำความสะอาดโดยตรง ๑) วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดห้องน้าและห้องส้วม แปรงขัด ใช้ขัดพื้นและสุขภัณฑ์ต่าง ๆ อุปกรณ์อื่น ๆ น้ำยาและผงทำความสะอาด ห้องน้ำและห้องส้วม  แปรงใยสังเคราะห์ใช้ขัดพื้น ผนังกระเบื้อง และสุขภัณฑ์  แปรงพลาสติกและแปรงใยมะพร้าว มีด้ามจับยาวใช้ขัดโถส้วม
  • 24.อ่างล้างมือ ใช้ฟองน้ำชุบน้ำยาทำความสะอาดขัดให้ทั่วทั้งด้านในและด้านนอกจากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วเช็ดด้วยผ้าแห้ง การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ๒) วิธีทำความสะอาดสุขภัณฑ์ในห้องน้ำและห้องส้วม โถส้วม เทน้ำยาทำความสะอาดลงไป แล้วใช้แปรงด้ามยาวขัดด้านในให้ทั่ว ส่วนภายนอกใช้ฟองน้ำชุบน้ำยาขัดให้ทั่ว จากนั้นใช้น้ำล้างให้สะอาดทั้ง ภายนอกและภายใน พื้นและผนังห้องน้ำที่ทำจากกระเบื้อง พื้นทำความสะอาดโดยเทน้ำยา หรือผงขัดลงบนพื้นที่เปียกแล้วใช้แปรงใยสังเคราะห์ขัดให้สะอาด ถ้าเป็นพื้นซีเมนต์ควรใช้แปรงลวดขัด ผนังห้องน้ำที่เป็นกระเบื้องให้ใช้ฟองน้ำชุบน้ำยาทำความสะอาดเช็ดให้ทั่ว แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด จากนั้นปล่อยไว้ให้แห้ง
  • 25.ของใช้ในห้องน้ำและห้องส้วม เช่น สบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ควรจัดวางให้เป็นระเบียบเพื่อความสะดวกในการหยิบใช้และดูสวยงาม การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ๓) การจัดวางของใช้ในห้องน้ำและห้องส้วม อุปกรณ์ในการทำความสะอาดห้องน้ำและห้องส้วม ควรล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้งก่อนนำไปเก็บในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้ดี ส่วนน้ำยาทำความสะอาด ควรปิดฝาให้สนิท แล้วนำไปเก็บในที่เย็น ไม่มีแสงแดดส่องถึง
  • 26. จิตสำนึกในการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า เป็นความเข้าใจถึงสาเหตุหรือเหตุผลของการประหยัด การร่วมมือกันเพื่อรักษา ควบคุม ดูแล หาวิธีการใช้พลังงานและทรัพยากรที่มีอยู่ให้เหมาะสมและเป็นไปตามความจำเป็น รวมถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือโครงการที่จัดขึ้น เพื่อรณรงค์ให้เกิดการประหยัด ตลอดจนการกระตุ้นและสนับสนุนให้ทุกคนในครอบครัว สังคม และประเทศชาติ มีส่วนร่วมในการใช้พลังงานและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ๓. จิตสำนึกในการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ พลังงานจากน้ำตกสามารถนำมาสร้างกระแสไฟฟ้าได้ น้ำจากเขื่อนสามารถนำมาสร้างกระแสไฟฟ้าได้ พลังงานแสงอาทิตย์สามารถนำมาสร้างกระแสไฟฟ้าได้
  • 27.มนุษย์มีจำนวนเพิ่มขึ้น ความต้องการใช้พลังงานและทรัพยากรที่มีวันหมดไปได้ เช่น น้ำมัน ป่าไม้ แร่ จึงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย มนุษย์ใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองทั้งในการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงาน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพลังงานและทรัพยากรที่มนุษย์ต้องใช้เป็นประจำสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจของโลก เช่น ราคาน้ำมัน ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า การสร้างพลังงานและทรัพยากรทดแทนยังไม่แพร่หลาย เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า การสร้างอุปกรณ์เก็บกักพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้ การสร้างพลังงานชีวมวล การแปรรูปวัสดุเหลือใช้เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ สาเหตุที่ต้องใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัด ๓.๑ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
  • 28. แนวทางการมีส่วนร่วมในการใช้พลังงานและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า ๓.๒ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ๑. ใช้น้ำ ไฟฟ้า กระดาษอย่างประหยัดและใช้เมื่อจำเป็น
  • 29.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
  • 30.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ๒. มีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือโครงการที่จัดขึ้นเพื่อรณรงค์ให้เกิดการประหยัดพลังงานและทรัพยากร โครงการโรงเรียนสีเขียว เป็นการรณรงค์เพื่อเสริมสร้างทัศนคติและค่านิยมในการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพแก่เยาวชนของชาติ ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษา โดยผ่านระบบการศึกษาของประเทศ เพื่อปลูกฝังอุปนิสัยการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพให้ยั่งยืน โครงการ ๕๕๕ ช่วยลดค่าไฟฟ้าของคนไทย ร่วมใจลดภาวะโลกร้อน ซึ่งมีเป้าหมายรณรงค์ส่งเสริมให้เกิดการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ ๕ ในช่วงฤดูร้อนเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานของประเทศ โครงการช่วยลดภาวะโลกร้อน โครงการปลูกป่าถาวร ๓. กระตุ้นและสนับสนุนให้ทุกคนในครอบครัวและสังคมที่อยู่อาศัยมีส่วนร่วมในการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า