หน่วยที่ 4 ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย

0

Presentation Transcript

  • 1.บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด : 142 ถนนตะนาว เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 Aksorn CharoenTat ACT.Co.,Ltd : 142 Tanao Rd. Pranakorn Bangkok 10200 Thailand โทรศัพท์ : 02 622 2999 โทรสาร : 02 622 1311-8 webmaster@aksorn.com / www.aksorn.com ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ๑_หลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ ๒_แผนการจัดการเรียนรู้ ๓_PowerPoint_ประกอบการสอน ๔_Clip ๕_ใบงาน_เฉลย ๖_ข้อสอบประจำหน่วย_เฉลย ๗_การวัดและประเมินผล ๘_เสริมสาระ ๙_สื่อเสริมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖
  • 2.ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ ระบุภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยาและธนบุรี และอิทธิพลของภูมิปัญญาดังกล่าวต่อการพัฒนาชาติไทยในยุคต่อมาได้ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ ในการสร้างสรรค์ชาติไทย
  • 3.ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) ทรงพระนามเดิมว่า พระเจ้าอู่ทอง เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ต้นราชวงศ์อู่ทอง ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๙๓-๑๙๑๒ พระราชประวัติ ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ทรงนำรูปแบบการปกครองแบบจตุสดมภ์มาปรับใช้ ทรงรับลัทธิเทวราชาจากเขมรมาดัดแปลงให้สอดคล้องกับลักษณะวัฒนธรรมของคนไทย พระราชกรณียกิจ
  • 4.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา จากราชวงศ์สุพรรณภูมิ ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรม-ราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าพระยา) ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑ พระราชประวัติ ทรงปฏิรูปการปกครองครั้งสำคัญ ซึ่งกลายเป็นรากฐานการปกครองไทยในสมัยต่อมา ทรงผนวกรวมสุโขทัยเข้ากับอยุธยา ทรงตรากฎมณเฑียรบาลขึ้นใช้ในราชสำนัก ทรงตราพระราชกำหนดศักดินา พระราชกรณียกิจ
  • 5.สมเด็จพระสุริโยทัย ทรงเป็นพระอัครมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๕ แห่งกรุงศรีอยุธยา จากราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระราชประวัติ ทรงสละพระชนม์ชีพเพื่อปกป้องสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขณะทำสงครามยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปร แม่ทัพพม่า พระราชกรณียกิจ
  • 6.สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา จากราชวงศ์สุโขทัย เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๓๓-๒๑๔๘ พระราชประวัติ ทรงประกาศอิสรภาพของกรุงศรีอยุธยาที่เมืองแครงที่จะไม่ขึ้นต่อหงสาวดี ทรงอพยพคนไทยที่เคยถูกพม่ากวาดต้อนไปกลับคืนกรุงศรีอยุธยา ทรงทำสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีและชนะ ส่งเสริมพระบรมเดชานุภาพให้น่าเกรงขาม เป็นผลให้อาณาจักรแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง ทรงทำสงครามป้องกันพระราชอาณาจักรตลอดพระชนม์ชีพ ทรงปราบปรามข้าศึกที่เข้ามารุกรานพระราชอาณาเขต เพื่อปกป้องราษฎรของพระองค์ให้ร่มเย็นเป็นสุข จนได้รับยกย่องให้ทรงเป็น “มหาราช” พระราชกรณียกิจ
  • 7.สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๒๗ แห่งกรุงศรีอยุธยา จากราชวงศ์ปราสาททอง เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑ พระราชประวัติ ทรงดำเนินการค้าและสร้างสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจการค้าของอยุธยา ทรงดำเนินนโยบายทางการทูตด้วยความสุขุมและรอบคอบ ทำให้อยุธยาปลอดภัยจากการรุกรานของชาติตะวันตก ทรงส่งคณะทูตจากราชสำนักไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส นับเป็นผลดีต่อความมั่นคงของอยุธยาในขณะนั้น ทรงให้พระโหราธิบดีแต่งหนังสือจินดามณี ซึ่งเป็นแบบเรียนของไทยเล่มแรก ทรงให้การสนับสนุนด้านวรรณกรรม ทำให้มีวรรณกรรมที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์เป็นจำนวนมาก พระราชกรณียกิจ
  • 8.สมเด็จพระเพทราชา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๒๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา จากราชวงศ์บ้านพลูหลวง เคยเป็นขุนนางแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์-มหาราช ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๒๔๖ พระราชประวัติ ทรงดำเนินการกวาดล้างอิทธิพลของฝรั่งเศสให้พ้นไปจากอยุธยา โดยจับออกญาวิไชเยนทร์ หรือ คอนแสตนอิน ฟอลคอน ที่คิดแผนร่วมกับฝรั่งเศสประหารชีวิต ทรงเพิ่มจำนวนกำลังทหารให้แก่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า เพื่อเป็นกำลังป้องกันวังหลวงอีกทางหนึ่งด้วย พระราชกรณียกิจ
  • 9.ออกญาโกษาธิบดี (ปาน) เดิมชื่อ ปาน เป็นน้องชายของเจ้าพระยาพระคลัง หรือเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ได้รับราชการกับพี่ชายเมื่ออายุ ๒๐ ปี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประวัติ เป็นหัวหน้าคณะทูตเดินทางไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส ระหว่างพำนักที่ฝรั่งเศส ได้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็นมาและกราบถวายบังคมทูลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชให้ทรงทราบ เมื่อกลับถึงอยุธยา ผลงานที่สำคัญ
  • 10.ซิมง เดอ ลา ลูแบร์ ซิมง เดอ ลา ลูแบร์ หรือลาลูแบร์ เป็นชาวฝรั่งเศส ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะทูตฝรั่งเศสร่วมกับเซเบเรต์ เดินทางมาเจรจาเรื่องศาสนาและการค้าของฝรั่งเศสในอาณาจักรอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ ประวัติ เป็นหัวหน้าคณะทูตฝรั่งเศสเข้ามาทำสัญญาทางการค้ากับอยุธยา ได้บันทึกเรื่องราวของอยุธยาเพื่อกลับไปรายงานราชสำนักฝรั่งเศสและได้กลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าในเวลาต่อมา ผลงานที่สำคัญ
  • 11.เยเรเมียส ฟาน ฟลีต คนไทยเรียก วัน วลิต เป็นชาวฮอลันดา เป็นพ่อค้าและพนักงานในบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา ที่ปัตตาเวีย ประวัติ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคลังสินค้าของฮอลันดาในกรุงศรีอยุธยา เขียนพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวัน วลิต แสดงให้เห็นถึงความคิดของชาวตะวันตกที่มีต่ออาณาจักรอยุธยา พระราชกรณียกิจ
  • 12.ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า สิน เกิดในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ต่อมาได้เข้ารับราชการจนมีตำแหน่งเป็นพระยาตาก เจ้าเมืองตาก และพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ตามลำดับ พระราชประวัติ ทรงกอบกู้เอกราชของไทยจากพม่า ทรงรวมพระราชอาณาจักรด้วยการปราบชุมนุมต่างๆ ทรงฟื้นฟูบ้านเมืองทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมให้กลับคืนสู่ภาวะปกติ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา พระราชกรณียกิจ
  • 13.สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) มีนามเดิมว่า ทองด้วง ในปลายสมัยอยุธยารับราชการในตำแหน่งหลวงยกกระบัตร เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรีก็ได้เข้ารับราชการในกรุงธนบุรี พระราชประวัติ เป็นแม่ทัพไปตีเมืองเขมร และสามารถยึดเมืองเสียมราฐได้ ยกทัพไปปราบเมืองนางรองและนครจำปาศักดิ์ เสร็จศึกได้รับเลื่อนยศขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกทัพไปตีได้เมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงพระบาง และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมายังกรุงธนบุรี ยกทัพไปตีกัมพูชา เมื่อกลับมาได้แก้ไขวิกฤตการณ์ในธนบุรีให้ยุติลงได้ พระราชกรณียกิจ
  • 14.เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) มีนามเดิมว่า บุญมา เป็นน้องชายของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เมื่อนายบุญมาอายุได้ ๑๖ ปี บิดาได้ฝากเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในเจ้าฟ้าเอกทัศ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี ภายหลังได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายสุดจินดามหาดเล็กหุ้มแพร และในสมัยธนบุรี ก็ได้เข้ารับราชการจนมีความดีความชอบมากมาย ประวัติ เป็นผู้มีความสามารถในการรบ และมีความองอาจกล้าหาญ ได้รับเลื่อนยศขึ้นเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์ สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก ได้เข้าร่วมกับสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกทัพไปปราบหัวเมืองต่างๆ และยังเป็นทัพหน้าในการยกทัพไปตีกัมพูชา และได้แก้ไขวิกฤตการณ์ในกรุงธนบุรี ผลงานที่สำคัญ