หน่วยที่ 5 รหัสเทียม (Pseudo code)

0

Presentation Transcript

  • 1.หน่วยที่ 5 รหัสเทียม Miss Nisarat Samoephop T. Business computer of SBRICEC
  • 2.สมรรถนะประจำหน่วย 1. แสดงความรู้เรื่องรหัสเทียม (Pseudo code) ได้ 2. ปฏิบัติการเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) ได้ จุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียนสามารถ ด้านความรู้ 1. บอกความหมายของรหัสเทียม (Pseudo code) ได้ 2. บอกหลักการเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) ได้ 3. อธิบายการเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) ในการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐานได้ 4. อธิบายการเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) ในการเปรียบเทียบได้ 5. อธิบายการเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) ในการทำงานแบบทำซ้ำได้ ด้านทักษะ 1. อภิปรายและวิเคราะห์เนื้อหาจากใบความรู้ เรื่อง รหัสเทียม (Pseudo code) 2. ปฏิบัติการเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) ได้ ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ แสดงออกถึงความมีวินัย ความสนใจใฝ่รู้ ความรักสามัคคี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อยู่อย่าง พอเพียง และความซื่อสัตย์สุจริต ทบทวนเนื้อหาได้ที่ google classroom รายวิชานี้ หรือ google site วิชาหลักการเขียนโปรแกรม by nijorj samoephop
  • 3.การวัดและประเมินผล ก่อนเรียน 1.แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยที่ 5 (ไว้เปรียบเทียบกับคะแนนสอบหลังเรียน) ขณะเรียน 1.ทำใบงานที่ 5 ความรู้เรื่อง ขั้นตอนการแก้ไขปัญหา (Algorithm) ได้อย่างถูกต้อง ทันเวลาที่กำหนด ใบงานสะอาดและเป็นระเบียบส่งงานที่ครู และส่งผ่าน Google classroom เกณฑ์ผ่าน 50% 2.แบบฝึกหัดที่ 5 เกณฑ์ผ่าน 50% หลังเรียน 1.ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนหน่วยที่ 5 ได้ถูกต้อง โดยได้คะแนน 50% เป็นอย่างต่ำ 2.แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมฯ เกณฑ์ผ่าน 60% 3.เกณฑ์ผ่านการสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล ต้องไม่มีช่องปรับปรุง 4.เกณฑ์ผ่านการสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม คือ ปานกลาง (50% ขึ้นไป) ทบทวนเนื้อหาได้ที่ google classroom รายวิชานี้ หรือ google site วิชาหลักการเขียนโปรแกรม by nijorj samoephop
  • 4.หัวข้อเรื่อง (Topics) 5.5 การเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) ในการทำงานแบบทำซ้ำ 5.1 ความหมายของรหัสเทียม (Pseudo code) 5.2 หลักการเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) 5.3 การเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) ในการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน 5.4 การเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) ในการเปรียบเทียบ Miss Nisarat Samoephop T. Business computer of SBRICEC ทบทวนเนื้อหาได้ที่ google classroom รายวิชานี้ หรือ google site วิชาหลักการเขียนโปรแกรม by nijorj samoephop
  • 5.5.1 ความหมายของ รหัสเทียม (Pseudo code)
  • 6. รหัสเทียมหรือซูโดโค้ด (Pseudo code) หมายถึง คำสั่งที่ไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง แต่เป็นคำสั่งที่นำมาใช้เขียนเลียนแบบชุดคำสั่งแบบย่อๆเพื่อออกแบบโปรแกรมหรือร่างเค้าโครงโปรแกรมที่จะเขียนขึ้นมา ก่อนที่จะนำไปแปลงเขียนเป็นชุดคำสั่งด้วยภาษาคอมพิวเตอร์จริงๆ ต่อไป (โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. 2554 : 48) รหัสเทียม (Pseudo code) หมายถึง การอธิบายลำดับขั้นตอนการทำงานอย่างละเอียดซึ่งจะได้จาก ขั้นตอนวิธีการประมวลผลที่ได้ออกแบบไว้ (อำภา กุลธรรมโยธิน. 2550 : 75) รหัสเทียม หรือ ซูโดโค้ด (Pseudo code) หมายถึง คำอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม โดยใช้ ถ้อยคำผสมระหว่างภาษาอังกฤษและภาษาการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง หรืออาจใช้ภาษาไทยก็ได้ แต่ควร เขียนเป็นภาษาอังกฤษ โดยให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถพัฒนาขั้นตอนต่าง ๆ ให้เป็นโปรแกรม ได้ง่ายขึ้น (ธีรวัฒน์ ประกอบผล. 2550 : 12) รหัสเทียม หรือ ซูโดโค้ด (Pseudo code) หมายถึง รหัสจำลอง หรือรหัสเทียม ที่ใช้เป็นตัวแทน ในการถ่ายทอดอัลกอริทึม (Algorithm) ผ่านถ้อยคำหรือประโยคคำสั่ง ที่เขียนอยู่ในรูปประโยคภาษาอังกฤษอย่างง่าย โดยมีการใช้คำเฉพาะ (Keywords) ที่มีอยู่ในภาษาโปรแกรมมาช่วยในการเขียน จึงทำให้ซูโดโค้ดมีความใกล้เคียง กับภาษาระดับสูง (โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. 2557 : 19) สรุปว่า รหัสเทียม (Pseudo code) หมายถึง การเขียนอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมโดยใช้ ข้อความภาษาอังกฤษและคำเฉพาะ (Keywords) ในภาษาโปรแกรมที่สามารถนำไปแปลงเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ได้
  • 7.5.2 หลักการเขียนรหัสเทียม (Pseudo code)
  • 8. ในการเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) ไม่มีการกำหนดมาตรฐานที่ระบุไว้แบบชัดเจนว่าจะต้องทำ อย่างนั้นทำอย่างนี้ ดังนั้น ผู้เขียนรหัสเทียมแต่ละคน จึงมีเทคนิคการเขียนที่แตกต่างกันไป และเพื่อให้การเขียน รหัสเทียมมีแบบแผนยิ่งขึ้น จึงควรปฏิบัติตามหลักการเขียนรหัสเทียมดังต่อไปนี้ 1. กำหนดจุดเริ่มต้นด้วยคำว่า “Begin”และจุดสิ้นสุดด้วยคำว่า “End” 2. ใช้คำที่สามารถเข้าใจได้ง่าย 3. การเขียนรหัสเทียมแต่ละคำสั่งควรเขียนเป็นบรรทัด ๆ 4. การเขียนรหัสเทียมต้องไม่ขึ้นกับภาษาใดภาษาหนึ่งในการเขียนโปรแกรม 5. การเขียนรหัสเทียมควรมีย่อหน้า เพื่อสะดวกต่อการอ่านและการตรวจสอบ 6. การเขียนรหัสเทียมจะต้องเขียนจากบนลงล่าง และมีทางเข้าทางหนึ่งและออกทางหนึ่ง 7. การเขียนรหัสเทียมจะไม่เขียนหมายเลขกำกับในแต่ละขั้นตอนหรือแต่ละบรรทัด จากหลักการเขียนรหัสเทียมที่ได้กล่าวมาข้างต้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานการเขียนโปรแกรมต่าง ๆ ได้ ดังตัวอย่างที่ 5.1 ตัวอย่างที่ 5.1 การเขียนรหัสเทียมของโปรแกรมคำนวณหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยม รหัสเทียม Begin Read Base,High Area = 0.5 * Base * High Print Area End อธิบายขั้นตอนการทำงานในลักษณะข้อความ 1. เริ่มต้นการทำงาน 2. อ่านค่า Base, High 3. คำนวณค่า Area = 0.5 * Base * High 4. แสดงค่า Area 5. จบการทำงาน
  • 9.5.3 หลักการเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) ในโปรแกรมขั้นพื้นฐาน
  • 10. ในการเขียนรหัสเทียมนั้นแม้ว่าจะไม่มีรูปแบบการเขียนที่แน่นอน แต่โดยทั่วไปมักจะเขียนตามความสามารถ พื้นฐานของคอมพิวเตอร์ เช่น ความสามารถด้านการรับและแสดงข้อมูล ความสามารถด้านการคำนวณ เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะนำเสนอการเขียนรหัสเทียมในการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐานดังรายละเอียดต่อไปนี้ 5.3.1 การรับข้อมูล คำศัพท์ที่ใช้ในการเขียนรหัสเทียมจะใช้คำว่า Read, Input, Get โดยที่ Read จะใช้ในการรับข้อมูลไปบันทึกไว้ในแฟ้มข้อมูล ส่วน Input และ Get จะใช้ในกรณีการรับข้อมูลเข้าผ่านทางแป้นพิมพ์ ดังตัวอย่างที่แสดงในตารางที่ 5.1 ตารางที่ 5.1 ตัวอย่างการเขียนรหัสเทียมและความหมายด้านการรับข้อมูล 5.3.2 การแสดงผล คำศัพท์ที่ใช้ในการเขียนรหัสเทียมจะใช้คำว่า Print, Write, Display โดยคำว่า Print ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ออกทางเครื่องพิมพ์ Write เป็นการบันทึกผลลัพธ์ลงแฟ้มข้อมูล ส่วนคำว่า Display เป็นการแสดงผลลัพธ์ออกทางจอภาพคอมพิวเตอร์ ดังตัวอย่างที่แสดงในตารางที่ 5.2 ตารางที่ 5.2 ตัวอย่างการเขียนรหัสเทียมและความหมายด้านการแสดงผล
  • 11. 5.3.3 การคำนวณ ในการเขียนรหัสเทียม จะใช้สัญลักษณ์ บวก (+) ลบ (–) คูณ (*) หาร (/) ยกกำลัง (^) วงเล็บ ( ) เป็นตัวดำเนินการกระทำกับข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งในการเขียนสัญลักษณ์ตัวดำเนินการ (Operator) เหล่านี้ จะต้องคำนึงถึงลำดับก่อนหลังของตัวดำเนินการด้วย ดังตัวอย่างที่แสดงในตารางที่ 5.3 ตารางที่ 5.3 ตัวอย่างการเขียนรหัสเทียมและความหมายด้านการคำนวณ 5.3.4 การกำหนดค่าเริ่มต้น คำศัพท์ที่ใช้ในการเขียนรหัสเทียมในส่วนของการประกาศตัวแปร และ ค่าคงที่ ได้แก่ Set และ Init ดังตัวอย่างที่แสดงในตารางที่ 5.4 ตารางที่ 5.4 ตัวอย่างการเขียนรหัสเทียมและความหมายด้านการกำหนดค่าเริ่มต้น
  • 12. จากที่นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องรูปแบบการเขียนรหัสเทียมที่กล่าวมาข้างต้นนั้น แม้ว่าในการเขียนรหัสเทียมจะไม่มีรูปแบบ การเขียนที่แน่นอน แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะเขียนตามความสามารถพื้นฐานของ คอมพิวเตอร์ เช่น ความสามารถด้านการรับข้อมูล ความสามารถด้านแสดงข้อมูล และความสามารถด้าน การคำนวณ เป็นต้น ซึ่งต่อไปนี้จะนำเสนอตัวอย่างการเขียนรหัสเทียมจากลำดับขั้นตอนของวิธีการประมวลผล โดยแสดงรายละเอียดการเขียนรหัสเทียมไว้ ดังตัวอย่างที่ 5.2 และตัวอย่างที่ 5.3 ตามลำดับ ตัวอย่างที่ 5.2 ให้นักเรียนเขียนรหัสเทียมจากลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมคำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยม ลำดับขั้นตอนของวิธีการประมวลผล 1. เริ่มต้น 2. รับค่า ความกว้าง ความยาว 3. คำนวณ ค่าพื้นที่สี่เหลี่ยม ความกว้าง*ความยาว 4. แสดงค่า พื้นที่สี่เหลี่ยม 5. จบการทำงาน จากลำดับขั้นตอนของวิธีการประมวลผลที่กำหนดให้ในตัวอย่างที่ 5.2 สามารถเขียนรหัสเทียมได้ ดังต่อไปนี้ รหัสเทียม Begin Read Wide, High Area = Wide * High Print Area End ตัวอย่างที่ 5.3 ให้นักเรียนเขียนรหัสเทียมจากลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมค่าผลรวมของ ตัวเลขจำนวนเต็ม 3 จำนวน ลำดับขั้นตอนของวิธีการประมวลผล 1. เริ่มต้น 2. รับค่า จำนวนเต็ม ค่าที่ 1 , ค่าที่ 2, ค่าที่ 3 3. คำนวณ ผลรวม ค่าที่ 1+ ค่าที่ 2+ ค่าที่ 3 4. แสดงค่า ผลรวม 5. จบการทำงาน จากลำดับขั้นตอนของวิธีการประมวลผลที่กำหนดให้ในตัวย่างที่ 5.3 สามารถเขียนรหัสเทียมได้ ดังต่อไปนี รหัสเทียม Begin Read num1, num2, num3 total = num 1+ num 2+ num 3 Print total End
  • 13.5.4 การเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) ในการเปรียบเทียบ
  • 14. การให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำการเปรียบเทียบค่า หรือทำการเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งนั้น ในการเขียนให้อยู่ในรูปแบบของรหัสเทียม (Pseudo code) นิยมใช้คำศัพท์ว่า If, Then, Else และ Endif ในการเขียนรหัสเทียมแบบ 2 ทางเลือก และใช้คำศัพท์ว่า Case ในกรณีที่ทางเลือกหรือเงื่อนไขมีมากกว่า2 ทางเลือก โดยมีรายละเอียดรูปแบบ การเขียนดังต่อไปนี้ 5.4.1 การเปรียบเทียบ 2 เงื่อนไข เป็นการเปรียบเทียบเงื่อนไขแบบบูลลีน โดยจะมี 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขที่เป็นจริงก็จะทำงานอย่างหนึ่ง แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จก็จะให้ทำงานอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งคำศัพท์ที่ใช้เขียน ประกอบด้วย 4 คำด้วยกัน คือ If, Then, Else และ Endif มีรูปแบบการเขียนรหัสเทียมดังแสดงในตารางที่ 5.5 ตารางที่ 5.5 รูปแบบการเขียนรหัสเทียมและความหมายด้านการเปรียบเทียบ 2 เงื่อนไข เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้รูปแบบการเขียนรหัสเทียม ในการเปรียบเทียบ 2 เงื่อนไขที่ได้กล่าว รายละเอียดในตารางที่ 5.5 ข้างต้นนั้น ต่อไปนี้จะนำเสนอตัวอย่างการเขียนรหัสเทียมในการเปรียบเทียบ 2 เงื่อนไข ดังตัวอย่างที่ 5.4 ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี
  • 15. ตัวอย่างที่ 5.4 ให้นักเรียนเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) สำหรับรับค่าคะแนนจากการสอบของ นักเรียน ถ้ามีการป้อนคะแนนเท่ากับและมากกว่า 50 คะแนนขึ้นไป ให้พิมพ์ข้อความ คุณสอบผ่าน แต่ถ้าน้อยกว่านั้นให้พิมพ์ข้อความ “คุณได้สอบซ่อม” รหัสเทียม Begin Init Score : Integer Read Score Print “กรุณาใส่คะแนนที่สอบได้ = ”,Score If Score>= 50 Then Print “คุณสอบผ่าน” Else Print “คุณได้สอบซ่อม” Endif End 5.4.2 การเปรียบเทียบแบบมีหลายทางเลือก ใช้วิธีเปรียบเทียบเงื่อนไขแบบ Case ซึ่งรูปแบบ การเขียนจะประกอบด้วยคำหลัก ๆ 4 คำ คือ Case, Of, Else, End Case โดยมีรูปแบบการเขียนดังแสดง ในตารางที่ 5.6
  • 16.ตารางที่ 5.6 รูปแบบการเขียนรหัสเทียมและความหมายด้านการเปรียบเทียบแบบมีหลายทางเลือก เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้รูปแบบการเขียนรหัสเทียม ในการเปรียบเทียบแบบหลายทางเลือกที่ได้กล่าว รายละเอียดในตารางที่ 5.6 ข้างต้นนั้น ต่อไปนี้จะนำเสนอตัวอย่างการเขียนรหัสเทียมในการเปรียบเทียบแบบ หลายทางเลือก ดังตัวอย่างที่ 5.5 ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ตัวอย่างที่ 5.5 ให้นักเรียนเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) สำหรับแสดงผลการเรียน วิชาหลักการ เขียนโปรแกรม ซึ่งมี 5 ระดับ ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ เงื่อนไขที่ 1 คะแนน 80–100 ได้ระดับ A เงื่อนไขที่ 2 คะแนน 70–79 ได้ระดับ B เงื่อนไขที่ 3 คะแนน 60–69 ได้ระดับ C เงื่อนไขที่ 4 คะแนน 50–59 ได้ระดับ D และเงื่อนไขที่ 5 คะแนน 0–49 ได้ระดับ F รหัสเทียม Begin Case Score of {นำค่า Score มาเปรียบเทียบเงื่อนไข} 80…100 : Print A {เงื่อนไขที่ 1 ถ้า Score มีค่าระหว่าง 80…100 : ให้พิมพ์ A} 70…79 : Print B {เงื่อนไขที่ 2 ถ้า Score มีค่าระหว่าง 70…79 : ให้พิมพ์ B} 60…69 : Print C {เงื่อนไขที่ 3 ถ้า Score มีค่าระหว่าง 60…69 : ให้พิมพ์ C} 50…59 : Print D {เงื่อนไขที่ 4 ถ้า Score มีค่าระหว่าง 50…59 : ให้พิมพ์ D} 0…49 : Print F {เงื่อนไขที่ 5 ถ้า Score มีค่าระหว่าง 0…49 : ให้พิมพ์ F} End Case {จบการเปรียบเทียบเงื่อนไข} End
  • 17.5.5 การเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) ในการทำงานแบบทำซ้ำ
  • 18. การทำงานแบบทำซ้ำสามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบคือไม่ทราบจำนวนครั้งและแบบทราบจำนวนครั้งของการทำซ้ำ รายละเอียดดังต่อไปนี้ 5.5.1 การทำซ้ำโดยไม่ทราบจำนวนครั้งของการทำซ้ำ เป็นการทำซ้ำที่ไม่ทราบจำนวนครั้ง ซึ่งถ้าต้องการกำหนดจำนวนการทำซ้ำก็จะต้องตั้งเงื่อนไขเพิ่มขึ้น มีลักษณะการทำงาน 2 รูปแบบด้วยกัน คือ While–Do และ Repeat–Until โดยมีรูปแบบการเขียนรหัสเทียมดังต่อไปนี้ 1. While–Do เป็นการทำงานซ้ำโดยมีการเปรียบเทียบเงื่อนไขก่อนเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง ก็จะ ทำซ้ำภายในลูปการทำซ้ำไปเรื่อยๆจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จจึงจะข้ามไปทำคำสั่งต่อไปโดยรูปแบบการเขียนรหัสเทียมแสดงรายละเอียดในตารางที่ 5.7 ตารางที่ 5.7 รูปแบบการเขียนรหัสเทียมและความหมายด้านการทำซ้ำที่ไม่ทราบจำนวนครั้ง จากตารางที่ 5.7 รูปแบบการเขียนรหัสเทียม และความหมายด้านการทำซ้ำที่ไม่ทราบจำนวนครั้ง รูปแบบการเขียนแบบ While–Do สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับโจทย์งานได้ ดังตัวอย่างที่ 5.6
  • 19.ตัวอย่างที่ 5.6 ให้นักเรียนเขียนรหัสเทียม การพิมพ์ตัวเลขตั้งแต่ 1–100 รหัสเทียม Begin Init Number: Integer {หมายถึง ประกาศค่าตัวแปร Number เป็นชนิดตัวเลข} Init Number =1 {กำหนดค่าเริ่มต้นให้ Number มีค่าเท่ากับ 1} While Number <= 100 Do {ถ้า Number มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 ให้ทำซ้ำดังนี้} Print Number {พิมพ์ค่า Number} Number = Number + 1 {เพิ่มค่า Number ขึ้นทีละ 1} End Do {จบการทำงานแบบทำซ้ำ} End 2. Repeat–Until เป็นการทำงานซ้ำก่อน จากนั้นก็จะเปรียบเทียบเงื่อนไขจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นจริง จึงจะออกจากลูปการทำซ้ำ แล้วไปทำงานตามคำสั่งต่อไป มีรูปแบบการทำงานแสดงในตารางที่ 5.8 ตารางที่ 5.8 รูปแบบการเขียนรหัสเทียมและความหมายด้านการทำซ้ำที่ไม่ทราบจำนวนครั้ง จากตารางที่ 5.8 รูปแบบการเขียนรหัสเทียม และความหมายด้านการทำซ้ำที่ไม่ทราบจำนวนครั้ง รูปแบบการเขียนแบบ Repeat–Until สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับโจทย์งานได้ ดังตัวอย่างที่ 5.7
  • 20.ตัวอย่างที่ 5.7 ให้นักเรียนเขียนรหัสเทียม โปรแกรมพิมพ์ตัวเลขตั้งแต่ 1–100 รหัสเทียม Begin Init Number : Integer {หมายถึง ประกาศค่าตัวแปร Number เป็นชนิดตัวเลข} Init Number = 1 {กำหนดค่าเริ่มต้น ให้ Number มีค่า = 1} Repeat {การทำงานซ้ำ} Print Number {พิมพ์ค่าของ Number} Number=Number+1 {เพิ่มค่า Number ขึ้นทีละ 1} Until Number >100 {เมื่อ Number มากกว่า 100 จบการทำซ้ำ} End 5.5.2 การทำซ้ำโดยทราบจำนวนครั้งของการทำซ้ำ การทำซ้ำในรูปแบบนี้ จะใช้คำว่า For ในการทำงานจะเปรียบเทียบเงื่อนไข ก่อนการทำงานภายในลูป และมีการตั้งจำนวนครั้งในการทำซ้ำที่แน่นอนด้วย ซึ่งมีรูปแบบการเขียนรหัสเทียมแสดงในตารางที่ 5.9 ตารางที่ 5.9 รูปแบบการเขียนรหัสเทียมและความหมายด้านการทำซ้ำที่ทราบจำนวนครั้ง จากตารางที่ 5.9 รูปแบบการเขียนรหัสเทียม และความหมายด้านการทำซ้ำที่ทราบจำนวนครั้ง รูปแบบการเขียนแบบ For สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับโจทย์งานได้ ดังตัวอย่างที่ 5.8 ตัวอย่างที่ 5.8 ให้นักเรียนเขียนรหัสเทียม การพิมพ์ตัวเลขตั้งแต่ 1–100 โดยใช้รูปแบบ For รหัสเทียม Begin Init Number: Integer {หมายถึง ประกาศค่าตัวแปร Number เป็นชนิดตัวเลข} For Number = 1 To 100 Do {ตั้งค่า Number = 1 และให้วนรอบ 100 ครั้ง} Print Number {ให้พิมพ์ค่าของ Number จากค่าเริ่มต้น 1–100} Endfor {จบการทำงานแบบทำซ้ำ} End
  • 21.สรุปสาระหน่วยการเรียนรู้ที่ 5
  • 22.1. ความหมายของรหัสเทียม รหัสเทียม (Pseudo code) หมายถึง การเขียนอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม โดยใช้ข้อความภาษาอังกฤษและคำเฉพาะ (Keywords) ในภาษาโปรแกรม ที่สามารถนำไปแปลงเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ได้ 2. หลักการเขียนรหัสเทียม 2.1) กำหนดจุดเริ่มต้นด้วยคำว่า “Begin” และจุดสิ้นสุดด้วยคำว่า “End” 2.2) ใช้คำที่สามารถเข้าใจได้ง่าย 2.3) การเขียนรหัสเทียมแต่ละคำสั่งควรเขียนเป็นบรรทัด 2.4) การเขียนรหัสเทียมต้องไม่ขึ้นกับภาษาใดภาษาหนึ่งในการเขียนโปรแกรม 2.5) การเขียนรหัสเทียมควรมีย่อหน้า เพื่อสะดวกต่อการอ่านและการตรวจสอบ 2.6) การเขียนรหัสเทียมจะต้องเขียนจากบนลงล่าง และ มีทางเข้าทางหนึ่งและออกทางหนึ่ง 2.7) การเขียนรหัสเทียมจะไม่เขียนหมายเลขกำกับในแต่ละขั้นตอนหรือแต่ละบรรทัด 3. การเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) ในการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน การเขียนรหัสเทียม ในการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน สามารถสรุปการทำงานด้านต่างๆ และรูปแบบคำสั่ง เทียมที่ใช้ในการเขียนรหัสเทียม แสดงในตารางที่ 5.10 ตารางที่ 5.10 สรุปการเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) ในการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน ทบทวนเนื้อหาได้ที่ google classroom รายวิชานี้ หรือ google site วิชาหลักการเขียนโปรแกรม by nijorj samoephop
  • 23.ตารางที่ 5.10 (ต่อ) สรุปการเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) ในการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน 4. การเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) ในการเปรียบเทียบ การเขียนรหัสเทียม ในการเปรียบเทียบ สามารถสรุปการทำงานด้านต่าง ๆ และรูปแบบคำสั่งเทียมที่ใช้ในการ เขียนรหัสเทียมแสดงในตารางที่ 5.11 ตารางที่ 5.11 สรุปการเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) ในการเปรียบเทียบ ทบทวนเนื้อหาได้ที่ google classroom รายวิชานี้ หรือ google site วิชาหลักการเขียนโปรแกรม by nijorj samoephop
  • 24.5. การเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) ในการทำงานแบบทำซ้ำ การเขียนรหัสเทียม ในการทำงานแบบทำซ้ำ สามารถสรุปการทำงานด้านต่าง ๆ และรูปแบบคำสั่งเทียมที่ใช้ ในการเขียนรหัสเทียมแสดงในตารางที่ 5.12 ตารางที่ 5.12 สรุปการเขียนรหัสเทียม (Pseudo code) ในการทำงานแบบทำซ้ำ ทบทวนเนื้อหาได้ที่ google classroom รายวิชานี้ หรือ google site วิชาหลักการเขียนโปรแกรม by nijorj samoephop