การงานอาชีพ ป.5 หน่วยที่ 3 งานเกษตร

1

Presentation Transcript

  • 1.หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่
  • 2.หน่วยการเรียนรู้ที่ งานเกษตร การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ การปลูกพืช ประเภทของพืช ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปลูกพืช การปลูกผักในแปลง
  • 3.๑. การปลูกพืช การปลูกพืชเป็นการนำเมล็ดพันธุ์ หน่อ หัว มาปลูกลงในดินหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม เพื่อให้งอกหรือเจริญเติบโต สามารถ นำไปใช้ประโยชน์ตาม ต้องการและขยายพันธุ์ ต่อไป การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เมล็ดพันธุ์ผักและผลไม้ หน่อของกล้วยไม้ หัวหอมแดง หัวหอมใหญ่
  • 4. การปลูกพืชเป็นงานเกษตรประเภทหนึ่งซึ่งสามารถนำผลผลิตไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การปลูกผักสวนครัว จะได้ผักสวนครัวไว้รับประทานในครัวเรือน และหากมีผลผลิตมากก็นำไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ การปลูกต้นมะม่วงจะได้มะม่วงสุกไว้รับประทาน และได้ร่มเงาจากกิ่งก้านและใบของต้นมะม่วง การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
  • 5.๒. ประเภทของพืช การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ พืชสวน ๒.๑ เป็นพืชที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด และพิถีพิถัน มีขอบเขตในการปลูกที่แน่นอน มีขั้นตอนและความประณีตในการปลูกมาก นับตั้งแต่การเพาะเมล็ด การเตรียมดิน การจัดระยะปลูก การให้ปุ๋ย การให้น้ำ การพรวนดิน การป้องกันและกำจัดวัชพืช แมลง การเก็บเกี่ยวผลผลิต แบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์ได้ดังนี้ ไม้ผล เป็นพืชที่ใช้ประโยชน์จากผลส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืน ลำต้นแข็งแรง เช่น มะม่วง ลองกอง ลำไย ลิ้นจี่ ส้ม เงาะ ทุเรียน มังคุด น้อยหน่า ลองกอง น้อยหน่า เงาะ
  • 6.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ไม้ดอก เป็นพืชที่ใช้ประโยชน์จากดอก โดยใช้ตกแต่งอาคารบ้านเรือน หรือตัดดอกมาปักแจกัน มีทั้งไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม้พุ่ม และไม้คลุมดิน ตัวอย่างไม้ดอก เช่น ดาวเรือง ดาวกระจาย ชวนชม เข็ม บานชื่น กุหลาบ เบญจมาศ กล้วยไม้ กุหลาบ กล้วยไม้ บานชื่น ไม้ประดับ เป็นพืชที่ปลูกขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากรูปร่าง รูปทรง สีสันของลำต้นและใบ ซึ่งสวยงามแตกต่างกัน มีทั้งไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม้พุ่ม และไม้ล้มลุก เช่น ปาล์มต่างๆ ข่อย สนชนิดต่างๆ เทียนทอง สาวน้อยประแป้ง เฟิร์นชนิดต่างๆ สาวน้อยประแป้ง เทียนทอง เฟิร์น
  • 7.มะเขือ ผักหวาน ชะอม การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ผัก เป็นพืชที่ปลูกขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ จากส่วนต่าง ๆ เป็นอาหาร เช่น ลำต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด และหัว ผักส่วนใหญ่เป็นไม้ล้มลุกเจริญเติบโตเร็ว ผักอายุสั้น เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ผักกาด คะน้า ผักบุ้ง พริก มะเขือ ฟักทอง แตงกวา ส่วนผักที่เป็นพืชยืนต้นมีอายุยืน เช่น สะตอ ชะอม กระถิน มะรุม ผักหวาน มะกรูด ขี้เหล็ก ผักหวาน พืชสมุนไพร เป็นพืชที่ปลูกขึ้นเพื่อใช้ส่วนต่าง ๆ มาทำยารักษาโรค และบรรเทาอาการเจ็บป่วย ซึ่งแต่ละชนิดจะมีสรรพคุณที่แตกต่างกันไป เช่น ฟ้าทะลายโจร ช่วยขับเสมหะ ลดไข้ แก้ร้อนใน ใบบัวบก ช่วยลดความดันโลหิต ขมิ้นชั้น ช่วยเรื่องท้องอืด ท้องร่วง จุกเสียด ใบบัวบก ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน
  • 8.๒. ประเภทของพืช การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ พืชไร่ ๒.๒ เป็นพืชที่ปลูกโดยใช้เนื้อที่มาก เจริญเติบโตเร็ว ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก มีอายุตั้งแต่ ๒ เดือน ถึง ๑ ปี หรือมากกว่า ผลผลิตของพืชไร่ใช้บริโภคเป็นอาหารหลักและเป็นสินค้าส่งออก จัดเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งสามารถทำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างพืชไร่ เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย ถั่วต่าง ๆ ยาสูบ ฝ้าย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ข้าว อ้อย ถั่ว ยาสูบ ฝ้าย
  • 9.๓. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปลูกพืช การปลูกพืชให้เจริญเติบโตนั้น ทำได้หลายวิธี ทั้งการปลูกพืชในดินและการปลูกพืชแบบ ไม่ใช้ดิน (hydroponics) ซึ่งโดยทั่วไปมักนิยมปลูกพืชในดิน เพราะมีขั้นตอนการปลูกและวิธีการดูแลรักษาง่ายกว่า การปลูกพืชในดินสามารถปลูกได้ทั้งในภาชนะและในแปลง โดยจะเลือกปลูกแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับพื้นที่หรือบริเวณที่มี กล่าวคือ ถ้ามีพื้นที่น้อยก็ควรเลือกปลูกพืชในภาชนะ และหากมีพื้นที่กว้างขวางก็ควรเลือกปลูกพืชในแปลง การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน การปลูกพืชในภาชนะ การปลูกพืชในดิน
  • 10.๓.๑ ขั้นตอนการปลูกพืชในดิน มีดังนี้ ๑) การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ หรือส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น กิ่งพันธุ์ หน่อ หัวที่จะนำมาใช้เพาะปลูก ควรคัดเลือกที่มีคุณภาพดี โดยมีลักษณะทั่วไป ดังนี้ (๑) เมล็ดพันธุ์ ควรเลือกเมล็ดจากฝักแก่เต็มที่ มีความสมบูรณ์ เมล็ดใหญ่แข็งแรง ไม่เหี่ยว ไม่ฝ่อ ไม่ถูกแมลงเจาะทำลาย และไม่เป็นโรค (๒) ส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น กิ่งพันธุ์ ควรเลือกกิ่งพันธุ์ที่ไม่อ่อน หรือแก่จนเกินไป มีความสมบูรณ์ ไม่เหี่ยว ไม่เน่า ไม่เป็นโรค และไม่ถูกแมลงกัดกิน ควรเลือกกิ่งพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ ขั้นตอนการปลูกพืชในดิน ๓.๑ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
  • 11. ๒) การเตรียมดิน เป็นการทำให้ดินมีสภาพเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งโดยทั่วไปพืชจะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก เพราะทำให้ดินมีสภาพร่วน โปร่ง ระบายน้ำและอากาศได้ดี การเตรียมดินสามารถใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อความสะดวกในการจัดหาและประหยัดค่าใช้จ่าย ดังนี้ ขั้นตอนการปลูกพืชในดิน ๓.๑ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ดินร่วน 1 ส่วน ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน
  • 12. ๓) การปลูกพืช เป็นการนำเมล็ดพันธุ์ ต้นกล้าหรือส่วนต่าง ๆ ของพืชมาปลูกลงในดินที่เตรียมไว้แล้ว ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น ใช้เมล็ดพันธุ์โรยหรือหว่านลงบนดิน ใช้กิ่งพันธุ์ปักชำลงในดิน ใช้ต้นกล้าปลูกลงในหลุมที่ขุดไว้ ขั้นตอนการปลูกพืชในดิน ๓.๑ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ การหว่านเมล็ดพันธุ์ลงบนดิน การปักชำกิ่งพันธุ์ลงในดิน การปลูกต้นกล้าในหลุม
  • 13. ๔) การดูแลรักษา เป็นการทำให้ต้นพืชที่ปลูกเจริญเติบโต งอกงาม และให้ผลผลิตตามต้องการซึ่งมีวิธีการ ดังนี้ (๑) การรดน้ำ น้ำช่วยลำเลียงสารอาหารในดินให้แก่ต้นพืช จึงควรรดทุกวัน วันละ ๒ ครั้ง เช้าและเย็น ไม่ควรรดน้ำมากเกินไป เพราะจะทำให้พืชเน่าตายได้ (๒) การพรวนดิน เป็นการทำให้ดินร่วนซุยมีช่องว่าง ทำให้พืชได้รับอาหารสะดวก ในพื้นที่ขนาดเล็ก เช่น แปลงผัก ให้ใช้ส้อมพรวนค่อย ๆ พรวนดินระหว่างแถวที่ปลูกพืช สำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น ในไร่ ในสวนผลไม้ ควรใช้จอบพรวนดินระหว่างแถวปลูกพืชหรือรอบ ๆ โคนต้นพืช ขั้นตอนการปลูกพืชในดิน ๓.๑ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ (๓) การใส่ปุ๋ย เป็นการให้อาหารแก่พืช ปุ๋ยแต่ละชนิดทำให้พืชเจริญเติบโตแตกต่างกัน การให้ปุ๋ยจึงต้องพิจารณาจากพืชที่ปลูกด้วย เช่น ถ้าปลูกคะน้าที่เป็นผักกินใบ ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย ซึ่งมีธาตุไนโตรเจนสูง วิธีการใส่ปุ๋ยทำได้หลายวิธี เช่น การหว่าน การโรยเป็นแถว การโรยรอบต้นพืช การใส่ข้างต้นพืช การละลายน้ำรด (๔) การกำจัดวัชพืช เป็นการป้องกันไม่ให้วัชพืช เช่น หญ้าต่าง ๆ มาแย่งอาหารพืช การกำจัดวัชพืชทำได้โดยการถอนด้วยมือ เสร็จแล้วจึงพรวนดินและใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยเคมี (๕) การกำจัดแมลง เป็นการป้องกันไม่ให้แมลงมากัดกิน หรือเจาะทำลายต้นพืช ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น การใช้มือจับแมลงไปทิ้ง การใช้สารเคมีหรือสารสกัดจากสมุนไพรฉีดพ่น การใช้แมลงกำจัดแมลงด้วยกันเอง
  • 14. ๕) การเก็บเกี่ยวผลผลิต เป็นการนำผลผลิตที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วมาใช้ประโยชน์ ซึ่งทำได้หลายวิธี ดังนี้ (๑) เก็บเกี่ยวด้วยมือ เช่น การเก็บพริก การถอนต้นหอม (๒) ใช้เครื่องมือขนาดเล็ก เช่น การใช้มีดตัดโคนต้นผักกินใบ การใช้ตะกร้อสอยผลไม้ การใช้เคียวเกี่ยวข้าว การใช้จอบขุดเผือกและมัน (๓) การใช้เครื่องมือขนาดใหญ่ เช่น การใช้เครื่องเกี่ยวข้าว ขั้นตอนการปลูกพืชในดิน ๓.๑ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ การใช้เครื่องเกี่ยวข้าว การใช้จอบขุดเผือกและมัน การใช้ตะกร้อสอยผลไม้ การใช้เคียวเกี่ยวข้าว การเก็บพริก
  • 15.๔. การปลูกผักในแปลง คะน้า เป็นผักที่นิยมปลูกเพื่อ รับประทานใบและลำต้น โดยปลูกได้ ตลอดทั้งปีทั่วทุกภาคของประเทศไทย ช่วงเวลาที่ปลูกได้ผลดีที่สุด คือ เดือนตุลาคม ถึง เดือนเมษายน คะน้าที่นิยมปลูกในประเทศไทย ได้แก่ คะน้ายอดหรือคะน้าใบ ซึ่งสามารถหาซื้อเมล็ดพันธุ์ได้ตามร้านค้าที่จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักทั่วไปคุณประโยชน์ของคะน้า คะน้ามีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา วิตามินซี ช่วยบำรุงผิวพรรณ แคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ใยอาหาร ช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ คะน้าสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผัดคะน้าน้ำมันหอย ผัดคะน้าปลาเค็ม ข้าวผัด ผัดซีอิ๊ว ยำคะน้ากุ้งสด การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ การปลูกคะน้า ๔.๑ คะน้าในแปลง ผัดคะน้าน้ำมันหอย
  • 16.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ๑. เมล็ดพันธุ์คะน้า ๒. เสียม ๓. สายยาง ๔. ฟางแห้ง ๕. ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก ๖. จอบ ๗. คราด วัสดุ อุปกรณ์ การเตรียมดิน ยกร่องแปลงปลูกแบบจีน มีคูน้ำล้อมรอบหรือแบบยกร่องธรรมดาในแปลงนา ใช้ดินร่วนปนทราย หรือดินที่ผสมปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักคลุกเคล้ากัน วิธีการปลูก ก่อนปลูกต้องรดน้ำให้ทั่วแปลง นำเมล็ดที่เตรียมไว้มาหว่านลงบนแปลงปลูก กลบด้วยดินละเอียดบาง ๆ แล้วคลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งเพื่อป้องกันต้นอ่อนจากแสงแดด และรักษาความชื้นของผิวดิน หรือจะปลูกโดยใช้วิธีโรยเป็นแถวบนแปลงปลูก การดูแลรักษา คะน้าเป็นผักที่ต้องการน้ำมากแต่ไม่ชอบน้ำขัง จึงควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ วันละ ๒ ครั้ง เช้าและเย็น สำหรับวัชพืชที่ขึ้นในระยะแรกควรถอนออกทันที เพราะวัชพืชเป็นตัวแย่งน้ำและธาตุอาหารจากคะน้า การเก็บเกี่ยว คะน้าจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ ๔๕-๕๕ วัน ควรเก็บเกี่ยวโดยการถอนด้วยมือให้ใบ ต้น และรากไม่ขาดออกจากกัน ก่อนถอนควรรดน้ำบนแปลงให้ดินชุ่มชื้นเพื่อสะดวกในการถอน เมื่อถอนเสร็จแล้วนำไปล้างดินออก ตกแต่งโดยเด็ดใบเหลืองและใบแห้งทิ้ง ขั้นตอนการปลูกคะน้า
  • 17. การปลูกต้นหอม ๔.๒ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ต้นหอมหรือหอมแบ่ง เป็นผักที่นิยม รับประทานส่วนของต้นและใบ ขยายพันธุ์โดยใช้หัว เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ชอบอากาศชื้น และต้องการแสงแดดตลอดวันคุณประโยชน์ของต้นหอม ต้นหอมนิยมรับประทานสดโดยใช้เป็นผักเคียง ตกแต่งอาหารหรือชูรสอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาว และเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาในการลดไข้ รักษาแผล ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ยับยั้งเส้นเลือดอุดตัน รวมทั้งแก้ผดผื่นคันและถอนพิษแมลงกัดต่อย ต้นหอมในแปลง ตกแต่งอาหารหรือชูรสอาหาร
  • 18.การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ๑. หัวหอม ๒. ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ๓. สายยาง ๔. จอบ ๕. เสียม ๖. ฟางแห้ง ๗. คราด ๘. เศษซากใบไม้ วัสดุ อุปกรณ์ การเตรียมดิน ควรเตรียมแปลงผักขนาดกว้าง ๑ เมตร ยาว ๔-๖ เมตร โดยขุดดินและพลิกดิน จากนั้นคลุกเคล้าเศษซากใบไม้ ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักกับดินให้เข้ากัน ปรับแต่งหน้าดินให้เรียบ รดน้าให้ชุ่มแล้วหมักทิ้งไว้ ๔-๗ วัน วิธีการปลูก ใช้หัวที่สมบูรณ์ ไม่เป็นโรค ตัดรากบางส่วนและปลายยอดออก ทิ้งไว้ ๒ วัน เมื่อแตกหน่อแล้วนำไปปลูกโดยใช้นิ้วหัวแม่มือกดส่วนที่เป็นรากลงดิน อย่ากดให้หัวจมดินจนมิด ระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถว ๑๐-๑๕ เซนติเมตร ปิดคลุมดินบาง ๆ ด้วยหญ้าหรือฟางแห้ง เพื่อรักษาความชุ่มชื้น และควรรดน้ำให้ชุ่ม การดูแลรักษา ควรให้น้ำสม่ำเสมออย่างเพียงพอทุกวัน วันละ ๒ ครั้งเช้าและเย็น นอกจากนี้ควรพรวนดินและกำจัดวัชพืชเป็นประจำ การเก็บเกี่ยว อายุการเก็บเกี่ยวต้นหอมหรือหอมแบ่งคือ ๔๐-๕๐ วัน โดยเลือกเก็บขณะต้นโตเต็มที่ แตกกอใหม่สีเขียวสด ก่อนที่ปลายใบจะเหลือง ด้วยการถอนขึ้นมาทั้งกอ สลัดดินที่ติดรากออก จุ่มน้ำล้างทำความสะอาด ขั้นตอนการปลูกต้นหอม