เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ป.6 หน่วยที่ 4

0

Presentation Transcript

  • 1.เทคโนโลยี ๖ ชั้นประถมศึกษาปีที่ (วิทยาการคำนวณ)
  • 2.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกันอย่างปลอดภัย 4 ผลกระทบและแนวทางป้องกัน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สิทธิในการเข้าถึง ข้อมูลและรหัสผ่าน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกันอย่างปลอดภัย เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แผนผังหัวข้อหน่วยการเรียนรู้ อันตรายจากการติดตั้ง ซอฟต์แวร์บนอินเทอร์เน็ต
  • 3.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกันอย่างปลอดภัย ป.6
  • 4.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ไม่ส่งข้อมูลส่วนตัวให้ผู้อื่น สร้างรหัสผ่าน ติดตั้งโปรแกรม ป้องกันมัลแวร์ ปิดอุปกรณ์ทุกครั้ง เมื่อเลิกใช้งาน ตรวจสอบเว็บไซต์ ตรวจสอบจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ก่อนเปิด ปรึกษาครูหรือผู้ปกครอง เมื่อพบข้อมูล ที่ไม่ปลอดภัย ป.6
  • 5.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลกระทบและแนวทางป้องกันการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในยุคปัจจุบันอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศจะทำงานร่วมกัน เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย มีทั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กในบ้านหรือในโรงเรียนรวมไปถึง เครือข่ายขนาดใหญ่ เช่น อินเทอร์เน็ต ดังนั้น การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อกันนี้ อาจมีผู้ไม่หวังดีกำลังเข้าถึงอุปกรณ์ของเราอยู่ บุคคลที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นประจำ หรือที่เรียกว่า พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizen) ควรเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบในการใช้งาน และมีความระมัดระวังในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และใช้งานได้อย่างปลอดภัย คำถามสำคัญ อันตรายจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง นักเรียนเคยได้รับผลกระทบเหล่านั้นบ้างหรือไม่ อย่างไร
  • 6.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตัวอย่าง เหมี่ยวอ่านข้อความบนอินเทอร์เน็ตพบว่ามีคนที่ไม่รู้จักนัดให้พบกันที่สวนหน้าโรงเรียน จากนั้นคน ๆ นั้น ก็แอบมาขโมยกระเป๋าเงินของเหมี่ยวไป ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ป.6
  • 7.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตทำให้การค้นหาข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันผู้ที่ไม่หวังดีสามารถเข้ามาใช้งานได้ง่ายเช่นกัน ดังนั้น ในการใช้งานควรมีข้อปฏิบัติ ดังนี้ 2. ไม่ส่งข้อมูลส่วนตัว ของตนเองและผู้อื่นให้กับ ผู้ที่ไม่รู้จัก 3. สร้างรหัสผ่านในการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และควรกำหนดรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก 4. กำหนดสิทธิการใช้งาน หรือสิทธิที่บุคคลอื่นสามารถเข้าถึงข้อมูลของเราได้ 5. ถ้าพบปัญหาหรือพบข้อมูล หรือบุคคลที่ทำให้ไม่สบายใจ ให้ขอความช่วยเหลือจากครูหรือผู้ปกครอง 6. ออกจากระบบ หรือปิดอุปกรณ์ทุกครั้ง เมื่อเลิกใช้งาน 1. ปกป้องข้อมูลส่วนตัวไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่นรหัสผ่านต่าง ๆ หมายเลข-ประจำตัวประชาชน รหัส ATM ข้อปฏิบัติ ในการใช้ เทคโนโลยี สารสนเทศ การออกจากระบบ (log out) เมื่อเลิกใช้งาน ป.6
  • 8.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กิจกรรมที่ 4.1 อาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต + - x นักเรียนยกตัวอย่างอันตรายหรือความเสียหายที่เกิดจากการใช้งานทางอินเทอร์เน็ตมา 5 ข้อ พร้อมบอกวิธีการป้องกันลงในตาราง อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ การกระทำผิดกฎหมาย โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ เช่น การขโมยข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต การละเมิดสิทธิ การฟอกเงิน การก่อกวน การเผยแพร่ภาพ วิดีโอหรือสื่อลามกอนาจาร การหลอกลวงให้ร่วมค้าขาย การแอบโอนเงินในบัญชีผู้อื่นเข้าบัญชีตนเอง ป.6
  • 9.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลและรหัสผ่าน อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศบางชนิดมีผู้ใช้งานหลายคน เช่น คอมพิวเตอร์สาธารณะหรือคอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการของโรงเรียน ดังนั้น เราจึงไม่ควรเก็บข้อมูลสำคัญ หรือบันทึกชื่อและรหัสผ่านไว้ในคอมพิวเตอร์สาธารณะ คำถามสำคัญ นักเรียนมีวิธีกำหนดรหัสผ่านบนอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไร
  • 10.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การกำหนดรหัสผ่านให้กับโปรแกรมต่าง ๆ ไม่ควรใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ง่าย การตั้งรหัสผ่านมีแนวทาง ดังนี้ ควรเป็นตัวอักษรและตัวเลขที่ผู้ใช้จำง่าย แต่คาดเดาได้ยาก เลือกใช้ตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็ก และตัวเลขผสมกันเป็นรหัสผ่าน รหัสผ่านที่ยาวยิ่งมีความปลอดภัย เนื่องจากคาดเดาได้ยาก ไม่ควรใช้วันเดือนปีเกิดหรือหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการกำหนด รหัสผ่าน ไม่ใช้เป็นภาษาที่อ่านได้ ไม่ควรใช้รหัสผ่านซ้ำกับซอฟต์แวร์หรืออุปกรณ์หลาย ๆ อุปกรณ์ เพราะถ้าผู้ไม่หวังดีทราบรหัสผ่านของเรา จะทำให้เข้าถึงอุปกรณ์และข้อมูลได้ทั้งหมด ป.6
  • 11.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แม้ว่ารหัสผ่านจะทำให้ใช้งานได้เป็นส่วนตัวมากขึ้น แต่ไม่ควรบันทึกรหัสผ่านไว้ในอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้วการกำหนดรหัสผ่านจะให้ยืนยันซ้ำ ว่าต้องการรหัสผ่านตามที่ตั้งไว้หรือไม่ ถ้าลืมรหัสผ่านซอฟต์แวร์หรือเว็บไซต์บางเว็บไซต์จะมีวิธีการกำหนดรหัสผ่านใหม่ โดยการถามคำถามหรือติดต่อกลับมาทางโทรศัพท์ หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น ในการกำหนดรหัสผ่านควรให้ข้อมูลที่สำคัญให้ครบถ้วน สำหรับอุปกรณ์สมัยใหม่สามารถเข้าถึงข้อมูลหรือใช้รหัสผ่านด้วยลายนิ้วมือได้ Face ID เป็นการตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้ ซึ่งเป็นการตั้งรหัสผ่านรูปแบบหนึ่ง โดยยิงรังสีอินฟราเรดออกไปและใช้การตรวจสอบรูปของใบหน้า แม้ว่าหน้าตาจะเปลี่ยนไปเล็กน้อย เปลี่ยนทรงผม ใส่แว่น Face ID ก็ยังคงสามารถตรวจสอบได้ นิยมใช้ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ ความรู้รอบโลก การตั้งรหัสผ่านที่ดี ป.6
  • 12.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กิจกรรมที่ 4.2 มากำหนดรหัสผ่านกันเถอะ + - x นักเรียนกำหนดรหัสผ่านขึ้นมา 3 ชุด แล้วตอบคำถามต่อไปนี้ รหัสผ่านที่ยาวมีข้อดีอย่างไร ในอนาคตจะใช้สิ่งใดแทนรหัสผ่านได้บ้าง ถ้าไม่มีการกำหนดรหัสผ่านจะเกิดอะไรขึ้น ป.6
  • 13.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อันตรายจากการติดตั้งซอฟต์แวร์บนอินเทอร์เน็ต คำถามสำคัญ เมื่อคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ง่าย และมีความเร็วสูงทำให้การประมวลผลของคอมพิวเตอร์ทำงานบนคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า การประมวลผลเป็นกลุ่มเมฆ โดยประมวลผลร่วมกันและใช้ทรัพยากรบางอย่างร่วมกันได้ รวมไปถึงการติดตั้งซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมต่าง ๆ จะใช้วิธีติดตั้งซอฟต์แวร์ที่เก็บไว้บนอินเทอร์เน็ตหรือบนระบบคลาวด์ ทำให้ไม่ต้องใช้หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ในการติดตั้งซอฟต์แวร์เหมือนในอดีต คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) การสำรองข้อมูล บนระบบคลาวด์ ระบบพัฒนา ด้านความปลอดภัย พื้นที่จัดเก็บข้อมูล แบบออนไลน์ การติดตั้งโปรแกรมที่ไม่รู้จักบนอินเทอร์เน็ตจะส่งผลกระทบอย่างไร
  • 14.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การปรับปรุงหรือการอัปเดตระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เป็นการช่วยอุดช่องโหว่และแก้ไขบั๊กต่าง ๆ ภายในเครื่อง รวมถึงโปรแกรมสแกนไวรัสก็ควรตั้งค่าให้อัปเดตฐานข้อมูลสม่ำเสมอ และควรตรวจสอบไวรัสบนคอมพิวเตอร์ อย่างน้อยทุก ๆ 2 สัปดาห์ ปลอดภัยไว้ก่อน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายหรือส่งผลเสียต่อการใช้งานทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้งานมีหลายประเภท เช่น ไวรัส (Virus) โทรจัน (Trojan) สปายแวร์ (Spyware) วอร์ม (Worm) เราเรียกกลุ่มของโปรแกรมเหล่านี้ที่ออกแบบมาเพื่อมุ่งร้ายต่อคอมพิวเตอร์ว่า มัลแวร์ (Malware) ดังนั้น การป้องกันเบื้องต้นสามารถทำได้ ดังนี้ อัปเดตซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ ติดตั้งโปรแกรมป้องกันมัลแวร์ในคอมพิวเตอร์ ไม่คลิกข้อความที่แสดงโฆษณาหรือหน้าโปรแกรมต่าง ๆ ที่แปลกปลอมระหว่างการใช้งาน ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรมจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือมาติดตั้งในคอมพิวเตอร์ ไม่เปิดอีเมล์หรือไฟล์แนบต่าง ๆ ที่ไม่รู้จัก ป.6
  • 15.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กิจกรรมที่ 4.3 ทำความรู้จักกับมัลแวร์ + - x นักเรียนค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของมัลแวร์ต่อไปนี้ จากนั้นบันทึกคำตอบเป็นแผนภาพความคิด ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus) โทรจัน (Trojan) สปายแวร์ (Spyware) วอร์ม (Worm) ป.6
  • 16.จบหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ป.6