ทะเล

0

Presentation Transcript

  • 1.
  • 2.คำนำ หนังสือ e-book เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในรายวิชาประวัติศาสตร์สากล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องการสำรวจทางทะเลและได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน ผู้จัดทำหวังว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านหรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่หากมีข้อเเนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใดผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทำ การสำรวจทางทะเล
  • 3.“การสำรวจทางทะเลของยุโรปเริ่มต้นเมื่อคริสต-ศักราช 1450 ถึง 1750 ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกับยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการของยุโรปและต่างก็มีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสตร์ยุโรปในยุคใหม่กล่าวได้ว่าการฟื้นฟูศิลปวิทยาการเป็นพื้นฐานสำคัญทำให้เกิดการสำรวจทางทะเลซึ่งผลทำให้ยุโรปเผยแพร่วัฒนธรรมของคนไปสู่ภูมิภาคอื่นๆของโลกได้ในเวลาต่อมา” สาเหตุของการสำรวจทางทะเล 1.การมีวิทยาการที่ก้าวหน้า ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการชาวยุโรปเริ่มหันมาสนใจศึกษาสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวมากขึ้น ความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ของปโตเลมี ความรู้ในการใช้เข็มทิศและการพัฒนาเรือ ให้แข็งแรงทนทานต่อสภาพลมฟ้าอากาศ สามารถที่จะเดินทางไกลได้ดียิ่งขึ้นทำให้ชาติตะวันตกหลั่งไหลสู่โลกตะวันออก แผนที่ของปโตเลมี เข็มทิศ
  • 4.2.แรงผลักดันทางด้านการค้า เมื่อพวกมุสลิมสามารถยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเบิลและดินแดนจักรวรรดิไบเซนไทน์ได้ทั้งหมดทำให้การค้าทางบกระหว่างโลกตะวันออกกับโลก ตะวันตกหยุดชะงักแต่สินค้าต่างๆ จากตะวันออกเช่น ผ้าไหม เครื่องเทศ ยังเป็นที่ต้องการของตลาดตะวันตกจึงจำเป็นต้องสำรวจเส้นทางทะเลเพื่อติดต่อกับโลกตะวันออก เครื่องเทศ ผ้าไหม 3.แรงผลักดันทางด้านศาสนา เนื่องจากความคิดของผู้นำชาติต่างๆ เห็นว่าการเผยแผ่คริสต์ศาสนาเป็นกุศลอย่างมาก รวมทั้งต้องการแข่งขันกับชาวมุสลิมที่เข้ามาขยายอิทธิพลอยู่ในขณะนั้น จึงสนับสนุนให้มีการค้นหาดินแดนใหม่ๆและเผยแพร่คริสตศาสนาไป พร้อมกันด้วย สัญลักษณ์ไม้กางเขน
  • 5.4.อิทธิพลของแนวคิดในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ แนวความคิดในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ทำให้ชาวยูโรปมุ่งหวังที่จะสร้างชื่อเสียงเกียรติยศ ผลักดันให้ชาวยุโรปเกิดความกระตือรือร้นที่จะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ และรักการผจญภัย เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาวยุโรปกล้าเสี่ยงภัยเดินทางสำรวจมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ไพศาล อารยธรรมยุโรปเผยแพร่ไปสู่ดินแดนอื่น โดยชาวยุโรปได้สร้างเมืองและความเจริญต่างๆ เพื่อให้คนสามารถดำเนินชีวิตได้ตามแบบที่คุ้นเคย จึงเกิดการแพร่กระจายวัฒนธรรมตามแบบตะวันตก เช่น ภาษา การแต่งกาย อาหาร ระบบการปกครอง ศิลปกรรม เช่น การก่อสร้างถนน สะพาน สถานที่ราชการ โบสถ์ วิหาร เป็นต้น โบสถ์ เรือกลางมหาสมุทร อาหารชาวยุโรป
  • 6.บทบาทของชาติต่างๆ ในการสำรวจทางทะเล คริสต์ศตวรรษที่ 15 เจ้าชายเฮนรี่ นาวิกราช พระอนุซาของพระเจ้า จอห์นที่ 1 แห่งโปรตุเกส ได้จัดตั้งโรงเรียนราชนาวีเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เกี่ยวกับการเดินทางทะเล การใช้เครื่องมือและเทคนิคการสร้างเรือ ซึ่งส่งผลให้ชาวโปรตุเกสสามารถดันพบเส้นทางเดินเรือสู่ดินแดนตะวันออก ได้แก่ โปรตุเกส
  • 7.บาร์โธโลมิว ไดแอส สามารถเดินเรือเลียบชายฝั่งทวีปแอฟริกาผ่านแหลมกู๊ดโฮป ได้สำเร็จในค.ศ.1488 วัลโก ดา กามา แล่นเรือตามเส้นสำรวจของไดแอสถึงทวีปเอเชียและขึ้นฝั่งที่เมืองกาลิกัต ของอินเดีย ต่อมาสามารถยึดเมืองกัว(Goa) สเปน ค.ศ.1492 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ชาวเมืองเจนัวประเทศอิตาลี ซึ่งมีความเชื่อว่าโลกกลม ได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์สเปนให้เดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนดิก เพื่อสำรวจเส้นทางเดินเรือไปประเทศจีน แต่เขาได้พบหมู่เกาะเวสต์อินดีสซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทวีปอเมริกาใต้โดยบังเอิญ ทำให้สเปนได้ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ในอเมริกาใต้ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่เงินและทองคำ
  • 8.คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นช่วงการแข่งข้นอำนาจทางทะเลระหว่างโปรตุเกสและสเปน เพื่อหาเส้นทางไปหมู่เกาะอีสต์อินดีส ซึ่งเป็นแหล่งเครื่องเทศและพริกไทย เครื่องเทศ เส้นทางไปหมู่เกาะอีสต์อินดีส ค.ศ.1494 สันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 ได้ให้สเปนและ โปรตุเกสทำสนธิสัญญาทอร์เดซียัส กำหนดเส้นสมมติ แบ่งโลกออกเป็น 2 ส่วน โดยสเปนมีสิทธิสำรวจและยึดครองดินแดนทางด้านตะวันตกของเส้นเมริเดียนที่ 51 ส่วนโปรตุเกสได้สิทธิด้านตะวันออกและนำไปสู่การ สร้างจักรวรรดิทางทะเลของโปรตุเกสในเอเชีย
  • 9.คริสต์ศตวรรษที่ 16 โปรตุเกสได้ขยายอำนาจมาจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเข้ายึดครองมะละกา ทำให้บริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซียตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของโปรตุเกส ค.ศ.1519 Ferdinand Magellan นักเดินเรือชาวโปรตุเกสโดยความสนับสนุนจากกษัตริย์สเปนได้เดินทางไปทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอดแลนดิกผ่านช่องแคบ ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาได้ ข้ามมหาสมุทรแปชิฟิกมาทางทวีปเอเชีย เขาถูกชาวพื้นเมืองฆ่าตายเมื่อพยายามเผยแพร่ศาสนาคริสต์ที่เกาะฟิลิปปินส์ แต่ลูกเรือของเขาสามารถเดินทางกลับสเปนทางมหาสมุทรอินเดียได้ใน ค.ศ.1522 นับเป็นการเดินเรือรอบโลกได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
  • 10. ในยุคนี้โปรตุเกสและสเปนกลายเป็นชาติที่มีมหาอำนาจ มีความมั่งคั่ง ทำให้หลายชาติทำการสำรวจเส้นทางการดำเนินเรือ การแข่งขันอำนาจ ทางทะเลระหว่างโปรตุเกสกับสเปนยุติลงเมื่อโปรตุเกสตกอยู่ภายใต้การปกครองของสเปนในช่วง ค.ศ.1580-1640 ค.ศ.1605 เรือดุฟแกน ของฮอลันดาที่เป็นเรือค้นหาเกาะทองคำที่เชื่อว่าอยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันออกของเกาะชวา ได้คันพบทวีปออสเตรเลียเป็นครั้งแรก และเรียนทวีปนี้ว่า นิวฮอลแลนด์ แต่ในคริสต์ศตวรรษที่18 อังกฤษได้ครอบครองและเรียกทวีปนี้ว่า ออสเตรเลีย ซึ่งมาจาก Australis ใน ภาษากรีก แปลว่า ดินแดนทางชีกโลกใต้
  • 11.ค.ศ.1588 กองทัพเรืออังกฤษทำสงครามชนะกองทัพอาร์มาดา ของสเปนที่มีชื่อเสียงได้ ทำให้อังกฤษขยายอิทธิพลสู่ดินแดนตะวันออก สามารถสลายอำนาจทางทะเลของโปรตุเกสและเข้าไปมีอำนาจและอิทธิพลในอินเดีย และเป็นคู่แข่งทางการค้ากับฮอลันดา อังกฤษ คริสต์ศตวรรษที่ 17 มีเพียงอังกฤษ ฮอลันดา และฝรั่งเศส แข่งกันมีอำนาจทางทะเลและแสงวหาอาณานิคม ทั้งนี้ได้มีการทำสงครามกันหลายครั้ง ในที่สุดฮอลันดายังคงมีอำนาจแถบมะละกาและควบคุมการค้าเครื่องเทศในหมู่เกาะเครื่องเทศต่อไป จนถึงปลาคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษกลับเป็นประเทศที่มีแสนยานุภาพทางทะเลเหนือกว่าชาติอื่น โดยได้อาณานิคมในแถบอินเดีย อเมริกาเหนือ และออสเตรเลียทั้งทวีป
  • 12.ผลการสำรวจทางทะเล 1. ยุโรปได้รับอารยธรรมจากดินแดนอื่นๆ วิทยาการของชาวตะวันออก เช่น การเดินเรือ ศิลปะจีนที่เน้นความงดงามของธรรมชาติ อารยธรรมของอิสลาม เช่น คณิตศาสตร์ การดื่มชาแบบจีน กาแฟจากตุรกี ยาสูบจากหมู่เกาะเวสต์อินดีส น้ำตาลจากบราซิล และมันฝรั่งจากอเมริกาใต้ ได้มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของชาวยุโรป
  • 13.2. เกิดการแพร่กระจายของพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ ชาวยุโรปได้นำพันธุ์พืชและนำสัตว์ต่างๆ ไปยัง ทวีปอื่น จากถิ่นกำเนิด ไปยังภูมิภาคอื่นๆ ㆍ นำกาแฟจากดินแดนตะวันออกกลางมาที่เกาะชวาและแพร่ไป ㆍ ต้นยางพารา จากบราซิลมาที่อินโดนีเซียและมาเลเซีย ต่อมาได้ขยายทางภาคใต้ของไทย ㆍ มันฝรั่งและข้าวโพดจากทวีปอเมริกามาปลูกในยุโรป ㆍ ปลูกข้าวโอ๊ตและ ข้าวโพดในทวีปแอฟริกา ㆍ หัวผักกาดหวานจากทวีปอเมริกามาปลูกที่จีน ㆍ นำแกะ ไปแพร่พันธุ์ที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
  • 14.3. เกิดการระบาดของโรคภัยไข้เจ็บ โรคระบาดมาพร้อม ๆ กับเรือของชาวยุโรป โรคระบาดที่สำคัญ เช่น โรคหัด และฝีดาษในอเมริกาเหนือ ไข้เหลืองและไข้มาลาเรียที่มีมากในแอฟริกามาระบาดในอเมริกากลางและใต้ เป็นต้น 4. ศาสนาคริสต์ได้แผ่ขยายไปในดินแดนต่างๆ ในบางแห่งใช้แบบสันติวิธี โดยบาทหลวงจะทำ หน้าที่สั่งสอนให้การศึกษากับชาวพื้นเมืองและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ในบางแห่งใช้วิธีการรุนแรงบีบบังคับคนพื้นเมืองในบริเวณอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ให้มาเข้ารีตนับถือคริสต์ศาสนา ทำให้ศาสนาคริสต์เจริญอย่างมั่นคงในดินแดนทวีปอเมริกา และดินแดนต่างๆ
  • 15.กลุ่ม การสำรวจทางทะเล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/4 1.นางสาวจันทกานต์ สืบเทพ เลขที่16 2.นางสาวพลอยฟ้า ช้างไชย เลขที่23 3.นางสาวสุนิสา บุตรงาม เลขที่28 4.นางสาวสุพิชชา สีดำ เลขที่29