ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย-ไทยแท้-บาลี-สันสกฤต

0

Presentation Transcript

  • 1.ภาษาต่างประเทศที่นำมาใช้ในภาษาไทย
  • 2.เรามักจะพบคำภาษาต่างประเทศภาษาใดบ้างที่นำมาใช้ในภาษาไทย
  • 3.ภาษาอังกฤษ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาจีน ภาษาเขมร ภาษาชวา-มลายู ภาษาต่างประเทศ ที่นำมาใช้ ในภาษาไทย
  • 4.ภาษาไทยแท้มักเป็นคำโดด เช่น พ่อ แม่ ขวด ไก่ บ้าน ถ้าเป็นคำหลายพยางค์ มักเกิดจาก -การกร่อนเสียง เช่น ตาวัน เป็น ตะวัน สายดือ เป็น สะดือ -การแทรกเสียง เช่น นกจอก เป็น นกกระจอก ลูกเดือก เป็น ลูกกระเดือก -การเติมพยางค์หน้า เช่น โจน เป็น กระโจน เดี๋ยว เป็น ประเดี๋ยว ทำ เป็น กระทำ
  • 5.มีตัวสะกดตัวเดียว ไม่มีตัวตาม และสะกดตรงตามมาตรา เช่น ขัน มาก พาด เยินยอ ชุก มีรูปวรรณยุกต์ เช่น ข่า มั่งมี น้า ก้าง ไม่มีตัวการันต์ ไม่นิยมคำควบกล้ำ
  • 6.ภาษาไทยแท้ ไม่ใช้พยัญชนะ ฆ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ศ ษ ฬ ยกเว้นบางคำที่เป็นคำไทย ได้แก่ ฆ่า เฆี่ยน ระฆัง ฆ้อง ตะเฆ่ ใหญ่ หญ้า เฒ่า ณ ธ ธง เธอ สำเภา ภาย เศร้า ศึก ศอก ศอ ศก
  • 7.คำไทยจะใช้ “ใ” (ไม้ม้วน)  ๒๐ คำ คือ        ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่      ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ     ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ         มิหลงใหลใครขอดู     จะใคร่ลงเรือใบ       ดูน้ำใสและปลาปู     สิ่งใดอยู่ในตู้           มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง     บ้าใบ้ถือใยบัว         หูตามัวมาใกล้เคียง     เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี
  • 8.ข้อสังเกตภาษาต่างประเทศที่นำมาใช้ในภาษาไทย
  • 9.ภาษาบาลี - สันสกฤต เป็นภาษาตระกูลเดียวกัน แต่ไม่ใช่ภาษาเดียวกัน มีข้อแตกต่าง และข้อสังเกต ดังนี้
  • 10.หลักการสังเกตภาษาบาลีและสันสกฤต ๑. สระในภาษาบาลี มี ๘ ตัว ได้แก่ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ส่วนสระในภาษาสันสกฤต มี ๑๔ ตัว ได้แก่ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ไอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ
  • 11.๒. พยัญชนะในภาษาบาลี มี ๓๓ ตัว ดังนี้ พยัญชนะเศษวรรค มี ๘ ตัว ได้แก่ ย ร ล ว ส ห ฬ  ° (อัง) ในภาษาสันสกฤต เพิ่ม ตัว ศ และ ษ
  • 12.๓. หลักการตัวสะกดและตัวตามในภาษาบาลี แถวที่ ๑ สะกด แถวที่ ๑ หรือ ๒ ตาม เช่น สักกะ จักขุ อิจฉา บุปผา สิกขา
  • 13.หลักการตัวสะกดและตัวตามในภาษาบาลี แถวที่ ๓ สะกด แถวที่ ๓ หรือ ๔ ตาม เช่น อัคคี มัชฌิมา วิชชา
  • 14.หลักการตัวสะกดและตัวตามในภาษาบาลี แถวที่ ๕ สะกด แถวที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ในวรรคเดียวกัน ตาม เช่น องค์ สงฆ์ กังขา
  • 15.หลักการตัวสะกดและตัวตามในภาษาบาลี เศษวรรคสะกด เศษวรรคตัวเดิมตาม เช่น ปัสสาวะ นิสสัย วัลลภ เศษวรรค ได้แก่ ย ร ล ว ส ห ฬ °(อัง)
  • 16.๔. ภาษาบาลี ใช้ ฬ เช่น วิรุฬห์ กีฬา ๕. ภาษาบาลีขึ้นต้นด้วยหน่วยความเติมหน้า คือคำว่า ปฎิ- เช่น ปฏิบัติ ปฏิวัติ ปฏิรูป ปฏิญาณ ปฏิสนธิ
  • 17.หลักการสังเกตคำที่มาจากภาษาสันสกฤต ๑. นิยมใช้ รร (ร หันหรือ ร เรผะ) เช่น ครรภ์ ดรรชนี บรรพต หรรษา ภรรยา พรรณนา ๒. นิยมคำควบกล้ำ เช่น โกรธ เคราะห์ นิทรา ปราสาท ไมตรี
  • 18.๓.นิยมใช้ ร ตามหลัง ก ค ช ต ท เพื่อใช้เป็นตัวสะกดร่วม เช่น จักร เพชร สมัคร บัตร สมุทร ๔. ใช้ ร ตามหลัง ต ท เพื่อใช้เป็นตัวการันต์ร่วมกัน เช่น มนตร์ ศาสตร์ อินทร์ จันทร์ หลักการสังเกตคำที่มาจากภาษาสันสกฤต
  • 19.๕. ใช้ ร ตามหลัง ท แล้วอ่านออกเสียงเป็น ซ เช่น พุทรา ทรัพย์ มัทรี อินทรีย์ แต่มีบางคำที่ไม่ใช่ภาษาสันสกฤต เช่น ทรวง ทรง ทราบ ทราย ไทร โทรม (ภาษาเขมร) ๖. ใช้ ฤ เช่น ฤกษ์ ฤทธิ์ ฤษี กฤษณะ มฤค ทฤษฎี หฤทัย พฤกษา หลักการสังเกตคำที่มาจากภาษาสันสกฤต
  • 20.๗. ใช้ ศ และ ษ เช่น พิศวาส ศิษย์ ดุษฎี บุษบา ศีรษะ ๘. ใช้ ฑ เช่น กรีฑา บัณฑิต หลักการสังเกตคำที่มาจากภาษาสันสกฤต
  • 21.ข้อสังเกตภาษาเขมรที่นำมาใช้ในภาษาไทย
  • 22.ข้อสังเกตคำภาษาเขมรที่นำมาใช้ในภาษาไทย ๑. มักเป็นคำโดด เช่น ขลาด เดิน เกิด เรียบ เพลิง ๒. มักสะกดด้วย  จ  ญ  ร  ล  ส เช่น เสร็จ สมเด็จ ผลาญ  เดิร (ไทยใช้เดิน) จรัล จรัส ๓. ไม่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น ราบ กาจ ดุจ ควร จาร ข้อสังเกตคำภาษาเขมรที่นำมาใช้ในภาษาไทย
  • 23.๔. เป็นคำแผลง เช่น ตรวจ แผลงเป็น ตำรวจ กราบ แผลงเป็น กำราบ ตรง แผลงเป็น ดำรง แข็ง แผลงเป็น กำแหง,คำแหง เจาะ แผลงเป็น จำเพาะ,เฉพาะ จ่าย แผลงเป็น จำหน่าย ตริ แผลงเป็น ดำริ
  • 24.๔. เป็นคำแผลง เช่น แสดง แผลงเป็น เกิด แผลงเป็น เพ็ญ แผลงเป็น ช่วย แผลงเป็น เชิญ แผลงเป็น สำแดง กำเนิด บำเพ็ญ ชำร่วย อัญเชิญ
  • 25.๕. มักขึ้นต้นด้วย บัง  บัน  บำ  เช่น บังคับ  บังคม  บังเกิด  บังอาจ  บันได บันดาล บันลือ    บำเพ็ญ       บำเหน็จ     บำบัด ๖. คำที่มี  ๒  พยางค์ มีลักษณะเหมือนอักษรนำและอักษรควบของไทย        เหมือนอักษรนำ เช่นแขนง  จมูก  ฉนำ (ปี)  ฉลอง  ถนน   เสวย   เหมือนอักษรควบ เช่น ไพร กระบือ ขลาด ขลัง
  • 26.๗. ขึ้นต้นด้วย   คำ  กำ  จำ  ชำ  ดำ  ตำ  ทำ   และสามารถแผลงเป็นตัวอื่นได้   มักเป็นคำเขมร   เช่น         คำรบ       แผลงมาจาก ครบ                   กำเนิด      แผลงมาจาก เกิด                   จำหน่าย    แผลงมาจาก จ่าย         จำแนก     แผลงมาจาก แจก                     ชำนาญ    แผลงมาจาก ชาญ                 ดำเนิน     แผลงมาจาก เดิน          ดำริ        แผลงมาจาก ตริ                               ทำนบ      แผลงมาจาก ทบ
  • 27.๘. คำเขมรมักขึ้นต้นด้วย  กระ (แผลงจาก  ข)     ประ (แผลงจาก  ผ  และ  บรร)      สระอำ (แผลงจากสระอื่น)    เช่น กระดาน      แผลงมาจาก ขดาน               กระโดง       แผลงมาจาก ขโดง               กระจาย       แผลงมาจาก ขจาย                ประสม       แผลงมาจาก ผสม        ประสาน      แผลงมาจาก ผสาน ประจญ       แผลงมาจาก ผจญ                ประกาย      แผลงมาจาก ผกาย              ประทม        แผลงมาจาก บรรทม ประทุก        แผลงมาจาก บรรทุก              ประจุ          แผลงมาจาก บรรจุ                 สำรวล         แผลงมาจาก สรวล สำราญ       แผลงมาจาก สราญ              อำนาจ         แผลงมาจาก อาจ
  • 28.๙. มักใช้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น สมเด็จ ถวาย มาน ใน(ของ) เขนย กราน ตรัส ทูล สรง บรรทม
  • 29.คำภาษาจีนที่นำมาใช้ในภาษาไทย
  • 30.คำภาษาจีนที่นำมาใช้ในภาษาไทย ๑. มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลาง คือ ก จ ต บ ป อ เช่น ก๊ก เก๋ง เจ๋ง ตั๋ว ปุ๋ย อั๊ว ๒. มีรูปและเสียงวรรณยุกต์ ตรี และจัตวา เช่น เจ๊ ตุ๊ย บ๊วย ก๋ง ตี๋ ๓. ประสมกับสระเสียงสั้น เช่น เพียะ เผียะ ผัวะ จั๊วะ เกี๊ยะ เจี๊ยะ ยัวะ
  • 31.ตัวอย่างคำภาษาจีนที่ใช้ในภาษาไทย คำเรียกชื่ออาหาร กวยจี๊
  • 32.ตัวอย่างคำภาษาจีนที่ใช้ในภาษาไทย คำเรียกชื่ออาหาร เฉาก๊วย
  • 33.ตัวอย่างคำภาษาจีนที่ใช้ในภาษาไทย คำเรียกชื่ออาหาร เต้าหู้
  • 34.ตัวอย่างคำภาษาจีนที่ใช้ในภาษาไทย คำเรียกชื่อผัก ผลไม้ เก๊กฮวย
  • 35.ตัวอย่างคำภาษาจีนที่ใช้ในภาษาไทย คำเรียกชื่ออาหาร ตั้งโอ๋
  • 36.ตัวอย่างคำภาษาจีนที่ใช้ในภาษาไทย คำเรียกชื่ออาหาร ขึ้นฉ่าย
  • 37.ตัวอย่างคำภาษาจีนที่ใช้ในภาษาไทย คำเรียกชื่ออาหาร แปะก๊วย
  • 38.ตัวอย่างคำภาษาจีนที่ใช้ในภาษาไทย คำเรียกเครื่องใช้ กอเอี๊ยะ
  • 39.ตัวอย่างคำภาษาจีนที่ใช้ในภาษาไทย คำเรียกเครื่องใช้ อั้งโล่
  • 40.ตัวอย่างคำภาษาจีนที่ใช้ในภาษาไทย คำเรียกเครื่องใช้ เข่ง
  • 41.คำภาษาอังกฤษที่นำมาใช้ในภาษาไทย
  • 42.ข้อสังเกตคำภาษาอังกฤษที่ใช้ในภาษาไทย ๑. ส่วนมากเป็นคำหลายพยางค์ เช่น คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี ไวโอลิน เปียโน อาจมีคำพยางค์เดียวบ้าง เช่น กอล์ฟ ชอล์ก ๒. ไม่มีการเปลี่ยนรูปไวยากรณ์ เช่น เดิมเป็นคำนาม แต่เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย เปลี่ยนเป็น คำกริยา ตัวอย่าง curruption (n) คอร์รัปชั่น
  • 43.๓. มีการใช้พยัญชนะควบกล้ำที่ไม่มีในภาษาไทย ได้แก่ <บล> บล็อก <บร> เบรก <ดร> ดรัมเมเยอร์ <ฟร> ฟรี <ทร> เทรน ๔. มีเสียงพยัญชนะท้ายที่ไม่มีในระบบเสียงภาษาไทย เช่น /ฟ/ ได้แก่ กอล์ฟ อ๊อฟ ปรู๊ฟ /ล/ ได้แก่ แอปเปิล บอล แคปซูล /ส/ ได้แก่ โฟกัส แก๊ส เทนนิส การออกเสียง Eที่นำมาใช้ในภาษาไทย และ Eที่เขียนเป็นE
  • 44.ตัวอย่างคำยืมภาษาอังกฤษ คำศัพท์วิชาการ กลูโคส (glucose) ไนโตรเจน (nitrogen) แกรนิต (granite) เลนส์ (lenses) ออกไซด์ (oxide) ออกซิเจน (oxigen) ไซโคลน (cyclone)
  • 45.ตัวอย่างคำยืมภาษาอังกฤษ คำเรียกอาหาร ผัก ผลไม้ เครื่องดื่ม สตู (stew) ไอศกรีม (ice cream) กาแฟ (coffee) คุกกี้ (cookie) สลัด (salad) ช็อกโกแลต / ช็อกโกเลต (chocolate) โซดา (soda)
  • 46.ตัวอย่างคำยืมภาษาอังกฤษ คำเรียกกีฬาและเครื่องดนตรี เทนนิส (tennis) แบดมินตัน (badminton) กอล์ฟ (golf) วอลเลย์บอล (volleyball) กีตาร์ (guitar) แซ็กโซโฟน (saxophone) ไวโอลิน (violin)
  • 47.ตัวอย่างคำยืมภาษาอังกฤษ คำเรียกสิ่งของเครื่องใช้ ฟิวส์ (fuse) วิดีโอ (video) เนกไท (necktie) ไมโครโฟน (microphone) สกรู (screw) คลิป (clip) คอมพิวเตอร์ (computer)
  • 48.คำที่มาจากภาษาชวา - มลายู
  • 49.ข้อสังเกตคำภาษาชวา - มลายูที่นำมาใช้ในภาษาไทย เป็นคำ ๒ พยางค์ เช่น กะพง กะปะ โลมา ไม่มีเสียงพยัญชนะควบกล้ำ เช่น กำยาน กุดัง ไม่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น ตุนาหงัน(หมั้นไว้ คู่หมั้น) บุหงารำไป บูดู กระยาหงัน(สวรรค์)
  • 50.ตัวอย่างคำภาษาชวา – มลายูที่นำมาใช้ในภาษาไทย คำเรียกชื่อพืช กระดังงา
  • 51.ตัวอย่างคำภาษาชวา – มลายูที่นำมาใช้ในภาษาไทย คำเรียกชื่อพืช สาคู
  • 52.ตัวอย่างคำภาษาชวา – มลายูที่นำมาใช้ในภาษาไทย คำเรียกชื่อพืช ทุเรียน น้อยหน่า มังคุด ลองกอง ละมุด ละไม จำปาดะ เงาะ ลางสาด สละ
  • 53.ตัวอย่างคำภาษาชวา – มลายูที่นำมาใช้ในภาษาไทย คำเรียกชื่อสัตว์ กะปะ
  • 54.ตัวอย่างคำภาษาชวา – มลายูที่นำมาใช้ในภาษาไทย คำเรียกชื่อสัตว์ กะพง
  • 55.ตัวอย่างคำภาษาชวา – มลายูที่นำมาใช้ในภาษาไทย คำเรียกชื่อสัตว์ กุเลา
  • 56.ตัวอย่างคำภาษาชวา – มลายูที่นำมาใช้ในภาษาไทย คำเรียกชื่อเครื่องใช้ กริช
  • 57.ตัวอย่างคำภาษาชวา – มลายูที่นำมาใช้ในภาษาไทย คำเรียกชื่อเครื่องใช้ กำยาน
  • 58.ตัวอย่างคำภาษาชวา – มลายูที่นำมาใช้ในภาษาไทย คำในวรรณคดี บุหลัน
  • 59.ตัวอย่างคำภาษาชวา – มลายูที่นำมาใช้ในภาษาไทย คำในวรรณคดี บุหรง
  • 60.แบบทดสอบ
  • 61.คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย