E-Book การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ม.1

0

Presentation Transcript

  • 1.ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ E - Book จัดทำโดย นางสาวสื่อปก วิชาการ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่น โรงเรียนทองเอนวิทยา
  • 2.คำนำ หนังสือ e – book เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาความรู้ที่ได้จากเรื่องการดูแลรักษาห้องต่างๆ ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำ e - book เนื่องมาจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจ รวมถึงเป็นการที่ข้าเจ้าต้องการอยากให้ผู้เรียนศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่น ในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid – 19) ผู้จัดทำหวังว่า e - book เล่มนี้นี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน สารบัญ
  • 3.3 4 ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย วัยรุ่นชาย : การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เห็นได้ชัด เสียงจะเปลี่ยนเป็นเสียงแหบและห้าวขึ้นซึ่งเรียกว่า “เสียงแตกหนุ่ม” เริ่มมีหนวดเคราที่หยาบและแข็ง มีขนขึ้นบริเวณรักแร้ หน้าแข้งและอวัยวะเพศ มีกลิ่นตัว มีสิวขึ้นตามใบหน้า หัวนมจะแข็งเป็นไตหรือก้อนเล็กๆ ถ้าถูกสัมผัสจะรู้สึกเจ็บ ซึ่งเรียกว่า“นมขึ้นพาน” หรือ “นมตั้งพาน” อวัยวะเพศจะโตขึ้น มีขนาดเท่ากับผู้ใหญ่ และมีการหลั่งนํ้าอสุจิครั้งแรก โดยการ ฝันเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ แล้วหลั่งนํ้าอสุจิออกมาขณะหลับเรียกว่า “ฝันเปียก” ร่างกายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีกล้ามเนื้อและกระดูกที่แข็งแรง สะโพกแคบ ไหล่กว้าง แขนขายาว บางครั้งดูแล้วเก้งก้าง การยอมรับและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย วัยรุ่นหญิง : การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เห็นได้ชัด มีสิวขึ้นบนใบหน้า มีเสียงแหลม มีกลิ่นตัว อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศในวัยรุ่น เริ่มมีหน้าอกที่โตขึ้น ร่างกายเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว สะโพกผายออก เอวคอดเล็กลง มีขนขึ้นบริเวณรักแร้และอวัยวะเพศ และมีประจำเดือนหรือระดูซึ่งแสดงให้เห็นถึง การมีวุฒิภาวะทางเพศ
  • 4.Web browser ที่นิยมใช้งาน 5 6 ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์ 1. มีความเชื่อ ค่านิยม เจตคติที่เป็นของตนเอง 2. อยากได้สิ่งใดหรือจะทำอะไร จะต้องได้หรือกระทำทันที 3. มองเห็นคุณค่าในตนเอง คือ มีความมั่นใจในตัวเองสูง มีความนับถือตัวเองมากขึ้น 4. อยากรู้ อยากเห็น และอยากลอง 5. ใช้อารมณ์ที่อยู่เหนือเหตุผล จนบางครั้งมักทำอะไรลงไปโดยขาดสติ ขาดความยั้งคิด 6. มีความสนใจในตัวเอง รักสวยรักงาม ทั้งรูปร่าง หน้าตา และทรงผม 7. ชอบความเป็นอิสระ ไม่ชอบการบังคับหรือมีกฎระเบียบมากเกินไป 8. วัยรุ่นหญิงมีอารมณ์ที่อ่อนไหวง่าย เพ้อฝัน ขี้อาย เริ่มจะสนใจเพศตรงข้าม แต่จะไม่แสดงออกอย่างชัดเจน 9. วัยรุ่นชายมีความห้าวหาญ ชอบการต่อสู้ ผจญภัย และคึกคะนอง 10. เริ่มมีความต้องการทางเพศ
  • 5.7 8 การยอมรับและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์ 1. ยอมรับสภาพความเป็นจริงของตนเอง โดยรู้จักการปล่อยวางในบางเรื่อง 2. พยายามสร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง กล้าที่จะเผชิญกับปัญหา 3. รู้จักปรับตัวให้สามารถเข้ากับผู้อื่นได้ โดยมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นเพื่อการอยู่ร่วมกัน ในสังคมได้อย่างปกติสุข 4.ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ มองโลกในแง่ดี คิดดี และทำดี 5. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดี สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเอง รวมถึงการยอมรับและ การเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น 6. ฝึกทำจิตใจให้สงบ มีสมาธิ ไม่คิดฟุ้งซ่าน โดยจิตใจที่สงบและมีสมาธิจะช่วยทำให้เป็นคนที่มีเหตุผล 7. หลีกเลี่ยงจากสิ่งไม่ดีทั้งหลายที่มีผลต่อจิตใจและอารมณ์ของตนเอง อวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชายและเพศหญิง เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น พัฒนาการทางเพศที่เปลี่ยนไปจากวัยเด็กโดยสิ้นเชิง นั่นคือการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งของเพศชายและเพศหญิงซึ่งแตกต่างกัน อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
  • 6.9 10 อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
  • 7.12 11 ต่อมควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเพศ ต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายเพื่อช่วยกระตุ้นและควบคุมให้พัฒนาการทางเพศเป็นไปอย่างปกติ โดยต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่ในการควบคุมให้มีการพัฒนาการทางเพศ ประกอบด้วย ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) และต่อมไทมัส (Thymus Gland)
  • 8.14 13 ต่อมเพศ (Gonad) ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland)
  • 9.16 15 การยอมรับและปรับตัวต่อพัฒนาการทางเพศ 1. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศ เพื่อทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และพัฒนาการทางเพศ ให้สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม 2. ยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และพัฒนาการทางเพศของตนเอง โดยพยายามยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นเรื่องธรรมชาติ 3. รู้จักปฏิบัติตัวให้เหมาะสมต่อตนเองและเพศตรงข้าม 4. รู้จักทักษะในการแก้ปัญหาทางเพศ เช่น ทักษะการปฏิเสธ ทักษะการตัดสินใจ เป็นต้น 5. หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำ เช่น เล่นกีฬา เล่นดนตรี บำเพ็ญประโยชน์ ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง เป็นต้น 6. ดูแลสุขอนามัยของตนเองให้ถูกต้อง 7. เมื่อมีปัญหาเรื่องเพศควรปรึกษาพ่อแม่ หรือผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ เพื่อท่านจะได้ช่วยอธิบายชี้แนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาในทางที่ถูกที่ควร สาเหตุของการเบี่ยงเบนทางเพศ 1. การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว เช่น การแต่งกาย การปลูกฝังค่านิยมทางเพศ การขาดความอบอุ่น การถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง การขาดสัมพันธภาพที่ดีของครอบครัว เป็นต้น 2. การมีบุคลิกภาพที่แปรปรวนอันเนื่องมาจากจิตใต้สำนึกของตนเอง เช่น การรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อยทางรูปร่างหน้าตาและความสามารถทางเพศ จึงพยายามที่จะสร้างจุดเด่นให้กับตนเองเพื่อต้องการให้เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น เป็นต้น 3. ความรู้สึกเก็บกดทางเพศ อันมีสาเหตุเนื่องมาจากค่านิยม ทัศนคติ ประเพณีวัฒนธรรม รวมถึงประสบการณ์การเรียนรู้ในเรื่องเพศที่ไม่เหมาะสม 4. สภาพแวดล้อม สิ่งยั่วยุต่างๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเบี่ยงเบนทางเพศของวัยรุ่น เช่น การได้รับอิทธิพลจากสื่อต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม ทำให้เด็กเกิดการซึมซับและมีพฤติกรรมเลียนแบบโดยจะนำไปสู่พฤติกรรมการเบี่ยงเบนทางเพศได้ 5. การเลียนแบบพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการเบี่ยงเบนทางเพศ โดยวัยรุ่นมองเห็นว่าเป็นเรื่องปกติเพราะได้รับความสนใจและยอมรับจากบุคคลอื่น จึงทำให้เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมต่อๆ กันมาจนกลายเป็นค่านิยม
  • 10.18 17 ลักษณะการเบี่ยงเบนทางเพศ ความแปรปรวนในเอกลักษณ์ทางเพศของตน บุคคลที่มีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่สอดคล้องกับเพศของตนเอง ซึ่งมีความสุขความพอใจและอารมณ์ทางเพศจากการได้แต่งตัวหรือแสดงท่าทีที่เป็นเพศตรงข้าม คือ ชายอยากเป็นหญิง หญิงอยากเป็นชาย และมีความพึงพอใจที่จะรักใคร่เพศเดียวกัน หรืออาจรักได้ทั้ง ๒ เพศ เช่น ลักเพศ พฤติกรรมเบี่ยงเบนในการปฏิบัติทางเพศ เป็นพฤติกรรมผิดปกติทางเพศที่อาจส่งผลกระทบที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทำให้เสียบุคลิกภาพในความเป็นตนเอง เกิดการล่วงละเมิดทางเพศ อันเป็นเหตุให้ครอบครัวแตกแยก โดยสามารถพบเห็นได้ในหลายลักษณะ ดังนี้ ถ้ำมอง ชอบอวดอวัยวะเพศ การทำอนาจารเด็ก เบียดเสียด ถูไถด้วยอวัยวะเพศ ซาดิสม์ พูดจาลามก การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองบ่อยครั้ง การแก้ปัญหาพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ 1. การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง โดยการยอมรับตนเอง และรู้จักใช้ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ต่างๆ มาแก้ไขปัญหาอย่างชาญฉลาด 2. การมีค่านิยม และทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับบทบาททางเพศที่ถูกต้องตรงตามบรรทัดฐานของสังคมไทย 3. ไม่สร้างปัญหาให้กับสังคม และเมื่อมีปัญหาก็ควรปรึกษาแพทย์ หรือนักจิตวิทยา 4. การศึกษาหาความรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศที่ถูกต้องและเหมาะสม ตามที่สังคมและขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมไทยได้กำหนดไว้ถึงความสำคัญของความเป็นเพศชายและเพศหญิง 5. มีทักษะในการดูแลและป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากการถูกคุกคามทางเพศ
  • 11.การแก้ปัญหาพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ (ต่อ) 6. การสร้างครอบครัวเข้มแข็งโดยครอบครัวเข้มแข็ง ย่อมเปรียบเสมือนเป็นเกราะป้องกันปัญหาต่างๆ รวมถึงป้องกันการมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศของสมาชิกอันเนื่องมาจากครอบครัวมีปัญหาได้อีกด้วย 7. ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน โดยเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรณรงค์ป้องกันปัญหาที่เกิดจากการมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมต่างๆ 8. การสร้างเครือข่ายทางสังคม โดยให้ความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กร ทั้งของภาครัฐและเอกชน เพื่อป้องกันและควบคุมการใช้สื่อประเภทต่างๆ ที่มีผลต่อการเกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศของวัยรุ่น 9. หลีกเลี่ยงการแก้ปัญหาโดยใช้การบังคับ เพราะการบังคับไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาพฤติกรรมการเบี่ยงเบนทางเพศ ซึ่งนอกจากจะสร้างความกดดันแล้ว อาจทำให้ปัญหาบานปลายหรือมีความรุนแรงต่างๆ เกิดขึ้นได้ คำสั่ง 3.ให้นักเรียนเขียนการเปลี่ยนแปลงทางร่างก่ายของนักเรียนมาพอสังเขป 1. วัยรุ่นชายจะมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างไร 2. วัยรุ่นหญิงจะมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างไร อย่าลืมทำงานส่งครูด้วยนะคะ