เสถียรภาพอากาศและแนวปะทะอากาศ

0

Presentation Transcript

  • 1. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 Slide PowerPoint_สื่อประกอบการสอน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครูผู้สอน นายสุวรรณ อินทร์ประโคน โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ เล่ม 2 รหัสวิชา ว32204
  • 2.ผลการเรียนรู้ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างเสถียรภาพอากาศและการเกิดเมฆ อธิบายการเกิดแนวปะทะอากาศแบบต่าง ๆ และลักษณะลมฟ้าอากาศที่เกี่ยวข้อง หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เสถียรภาพอากาศและแนวปะทะอากาศ
  • 3.การเกิดเมฆ เมฆ พื้นผิวโลกได้รับความร้อนจาก ดวงอาทิตย์ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น 1 ไอน้ำในอากาศลอยตัวสูงขึ้น เมื่อกระทบความเย็น จะเกิดการควบแน่นเป็นละอองน้ำขนาดเล็ก แล้วรวมตัวกันเป็นเมฆขนาดต่าง ๆ 2 ละอองน้ำที่อยู่ในเมฆ จะมีแรงโน้มถ่วงของโลกและแรงพยุงมากระทำและตกลงมาเป็นฝน 3
  • 4.VDO
  • 5.เมฆ เมฆเป็นกลุ่มละอองน้ำขนาดเล็กจำนวนมากที่ลอยอยู่ในอากาศ ซึ่งเมฆเกิดจากการยกตัวของกลุ่มอากาศในความสูงเหนือระดับการควบแน่น ทำให้กลุ่มอากาศนั้นเกิดการควบแน่นและรวมตัวกัน เมฆเกิดจากกลไกการยกตัวของอนุภาคอากาศซึ่งมี 4 ลักษณะ การพาความร้อน 1 การยกตัวของอากาศ ตามความชันหรือตามภูเขา 2 การบีบตัวของอากาศ 3 การเกิดแนวปะทะอากาศ 4 ชิ้นงาน สร้างผังการเกิดกลุ่มเมฆ
  • 6.เมื่อโลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ทำให้พื้นผิวโลกร้อน มวลอากาศที่ปกคลุมบริเวณพื้นผิวโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นแล้วลอยตัวขึ้นในแนวดิ่ง เมื่อถึงระดับควบแน่น ไอน้ำในอากาศจะก่อตัวกลายเป็นเมฆคิวมูลัส และอาจพัฒนาเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส การพาความร้อน เมฆ กระแสลมพัดพาอากาศที่มีความชื้นเคลื่อนที่ไปตามความชันของภูเขา อากาศจะถูกดันให้ลอยสูงขึ้นและขยายตัว อุณหภูมิลดลงจนถึงจุดควบแน่น ไอน้ำในอากาศเกิดการกลั่นตัวกลายเป็นเมฆนิมโบสเตรตัส และเกิดฝนตกด้านหน้าเขา ส่วนบริเวณหลังเขาจะมีปริมาณฝนน้อย เรียกว่า เขตเงาฝน การยกตัวของอากาศตามความชันหรือตามภูเขา อากาศลอยตัวขึ้น อากาศยกตัว เขตเงาฝน
  • 7.กระแสลมพัดมาปะทะกัน อากาศบริเวณที่ลมปะทะกันยกตัวขึ้น ทำให้อุณหภูมิลดลงจนถึงระดับควบแน่น ไอน้ำในอากาศควบแน่นเป็นหยดน้ำรวมตัวกันเป็นเมฆ เมฆที่พบ ได้แก่ เมฆแอลโตคิวมูลัส, แอลโตสเตรตัส, ซีร์โรคิวมูลัส, สเตรโทคิวมูลัส, สเตรตัส การบีบตัวของอากาศ เมฆ มวลอากาศสองกลุ่มที่มีอุณหภูมิและความชื้นแตกต่างกันเคลื่อนที่มาปะทะกัน อากาศร้อนจะลอยตัวขึ้นตามแนวปะทะอากาศ และอุณหภูมิลดลงจนถึงระดับควบแน่น ทำให้เกิดเมฆและฝน การเกิดแนวปะทะอากาศ ลม ลม อากาศร้อน อากาศเย็น
  • 8.เมฆ ชนิดของเมฆ แบ่งตามรูปร่างของเมฆ มีลักษณะเป็นเส้นใย มีสีขาวหรือสีน้ำเงิน ภายในก้อนเมฆอยู่ในสภาพที่เป็นอนุภาค ของเกล็ดน้ำแข็ง เมฆซีร์รัส (cirrus) มีลักษณะเป็นแผ่นปกคลุมบริเวณกว้าง มีสีเทา ความสูงของฐานเมฆสม่ำเสมอกัน ซึ่งเกิดจากหมอกที่ลอยขึ้นมาจากพื้นดิน เมฆสเตรตัส (stratus) มีลักษณะเป็นก้อนหนา ๆ คล้ายปุยฝ้าย มีสีขาว ฐานเมฆเป็นสีเทาก่อตัวในแนวตั้ง เกิดขึ้นจากอากาศที่ไม่มีเสถียรภาพ เมฆคิวมูลัส (cumulus) ชิ้นงาน ถ่ายรูปลักษณะของก้อนเมฆ ทำวิดิโอ
  • 9.คิวมูโลนิมบัส เมฆก่อตัวในแนวตั้ง เมฆ ชนิดของเมฆ แบ่งตามระดับความสูงของฐานเมฆ 6,000 ม. 2,000 ม. เมฆชั้นสูง เมฆชั้นกลาง เมฆชั้นล่าง ซีร์โรคิวมูลัส เป็นริ้วคล้ายคลื่น ซีร์รัส เป็นเส้นใยบาง ๆ แอลโตคิวมูลัส เรียงตัวเป็นคลื่น แอลโตสเตรตัส เป็นแผ่นปกคลุมบริเวณกว้าง สเตรโทคิวมูลัส เรียงต่อกันหนาแน่น คิวมูลัส เป็นก้อนคล้ายปุยฝ้าย องค์ประกอบภายในเมฆส่วนใหญ่ เป็นผลึกน้ำแข็งและละอองน้ำ องค์ประกอบภายในเมฆส่วนใหญ่ เป็นละอองน้ำ องค์ประกอบภายในเมฆส่วนใหญ่ เป็นผลึกน้ำแข็ง ชิ้นงาน แต่งเพลง ทำวิดิโอ ชนิดของเมฆ
  • 10.ระดับควบแน่น 10°C 2,000 เมตร 0°C 10°C 20°C กลุ่มอากาศยกตัว โดยมีอุณหภูมิต่ำกว่าสภาวะแวดล้อม 15°C 1,000 เมตร 20°C พื้นผิว เมื่อกลุ่มอากาศยกตัวสูงขึ้นจนถึงระดับ ควบแน่นจะทำให้เกิดเมฆในแนวราบ อากาศมีเสถียรภาพ เสถียรภาพอากาศ เมื่อกลุ่มอากาศยกตัว ปริมาตรจะเพิ่มขึ้นและอุณหภูมิลดต่ำลง ถ้ากลุ่มอากาศมีอุณหภูมิต่ำกว่าสภาวะแวดล้อม กลุ่มอากาศจะไม่เคลื่อนที่หรือจมตัวลงกลับสู่ที่เดิม หากกลุ่มอากาศยกตัวสูงจนเหนือระดับควบแน่นจะเกิดเมฆในแนวราบ
  • 11.ระดับควบแน่น 16°C 2,000 เมตร 30°C 20°C 40°C 28°C 1,000 เมตร 40°C พื้นผิว กลุ่มอากาศยกตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยอุณหภูมิสูงกว่าสภาวะแวดล้อม เมื่อถึงระดับควบแน่น กลุ่มอากาศ จะลอยตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดเมฆที่ก่อตัวในแนวตั้ง อากาศไม่มีเสถียรภาพ เสถียรภาพอากาศ เมื่อกลุ่มอากาศยกตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยกลุ่มอากาศมีอุณหภูมิสูงกว่าสภาวะแวดล้อม จะทำให้ลอยตัวขึ้นและก่อตัวเป็นเมฆในแนวตั้ง
  • 12.แนวปะทะอากาศ เป็นแนวที่ขอบเขตระหว่างมวลอากาศอุ่นและมวลอากาศเย็นเคลื่อนที่มาปะทะกัน โดยมวลอากาศ เย็นที่มีความหนาแน่นมากกว่าจะจมตัวลงด้านล่าง ส่วนมวลอากาศร้อนจะลอยตัวขึ้นด้านบน ซึ่งบริเวณรอยต่อของมวลอากาศทั้งสองจะมีสภาพอากาศแปรปรวน แนวปะทะอากาศ แนวปะทะอากาศแบ่งออกเป็น 4 ประเภท แนวปะทะอากาศอุ่น 1 แนวปะทะอากาศเย็น 2 แนวปะทะอากาศรวม 3 แนวปะทะอากาศคงที่ 4
  • 13.แนวปะทะอากาศอุ่น แนวปะทะอากาศ เกิดจากมวลอากาศอุ่นเคลื่อนที่เข้าหามวลอากาศเย็น ซึ่งจะทำให้มวลอากาศอุ่นยกตัวสูงขึ้นตามแนวของมวลอากาศเย็น เกิดฝนตกกระจายเป็นบริเวณกว้าง มวลอากาศอุ่น มวลอากาศเย็น
  • 14.แนวปะทะอากาศเย็น มวลอากาศเย็น แนวปะทะอากาศ เกิดจากมวลอากาศเย็นเคลื่อนที่เข้าหามวลอากาศอุ่น ทำให้มวลอากาศอุ่นลอยตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตามแนวอากาศเย็นจนถึง ระดับควบแน่น ก่อตัวเป็นเมฆคิวมูลัส หรือคิวมูโลนิมบัส เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง มวลอากาศอุ่น
  • 15.มวลอากาศเย็น มวลอากาศอุ่น แนวปะทะอากาศรวม แนวปะทะอากาศ เกิดจากมวลอากาศเย็นที่มีคุณสมบัติต่างกันเคลื่อนที่มาปะทะกัน ทำให้มวลอากาศอุ่นบริเวณนั้นลอยตัวขึ้นเหนือมวลอากาศเย็น ก่อตัวเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส เกิดพายุฝน มวลอากาศเย็น
  • 16.มวลอากาศเย็น มวลอากาศอุ่น แนวปะทะอากาศคงที่ แนวปะทะอากาศ เกิดจากมวลอากาศอุ่นและมวลอากาศเย็นเคลื่อนที่เข้าหากัน แต่ไม่แทนที่กันเนื่องจากแรงผลักดันเท่ากัน ทำให้เกิดแนวปะทะอากาศที่ไม่เคลื่อนที่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
  • 17.VDO