ดนตรี ป.6 หน่วยที่ 6 วิวัฒนาการดนตรีไทย

1

Presentation Transcript

  • 1. หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ วิวัฒนาการดนตรีไทย
  • 2.อธิบายเรื่องราวของดนตรีไทยในประวัติศาสตร์ (ศ ๒.๒ ป.๖/๑) จำแนกดนตรีที่มาจากยุคสมัยที่ต่างกัน (ศ ๒.๒ ป.๖/๒) อภิปรายอิทธิพลของวัฒนธรรมต่อดนตรีในท้องถิ่น (ศ ๒.๒ ป.๖/๓)
  • 3.วิวัฒนาการ ดนตรีไทย ดนตรีไทย ในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของวัฒนธรรมต่อดนตรี ในท้องถิ่น
  • 4.
  • 5.๑. ดนตรีไทยในประวัติศาสตร์ ดนตรีไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน เป็นสิ่งที่สร้างความบันเทิงใจ ผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยให้กับคนไทย และใช้ประกอบในพิธีกรรมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดนตรีไทยมีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทยในแต่ละยุคสมัย ดังนี้
  • 6.๑.๑ สมัยสุโขทัย ในสมัยสุโขทัยเป็นสมัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของชาติไทย เพราะมีหลักฐานการบันทึกปรากฏไว้เด่นชัด โดยมีจารึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับดนตรี ในประโยคที่ว่า “ดมบงคมกลอง ด้วยเสียงพาทย์เสียงพิณ” หมายถึง ระดมประโคมกลอง ด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ แสดงให้เห็นว่าดนตรีไทยมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
  • 7. ๑. วงบรรเลงพิณ มีผู้บรรเลง ๓ คน ทำหน้าที่ดีดพิณและ ขับร้องไปด้วยเป็นลักษณะของการขับลำนำ ๒. วงขับไม้ มีคนเล่น ๓ คน คือ คนขับลำนำ คนไกวบัณเฑาะว์ เพื่อให้จังหวะ และคนสีซอสามสายคลอเสียงคนขับลำนำ วงขับไม้มักใช้กับพิธีหลวงในสมัยนั้น เช่น พิธีสมโภชพระมหาเศวตฉัตร พิธีสมโภชพระยาช้างเผือก ลักษณะดนตรีในสมัยสุโขทัยที่เกิดขึ้น ดังนี้
  • 8. ๓. วงปี่พาทย์ เป็นลักษณะของวงปี่พาทย์เครื่อง ๕ มี ๒ ชนิด ดังนี้ ๑) วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างเบา ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ชนิดเล็ก ๆ จำนวน ๕ ชิ้น คือ ปี่ กลองชาตรี ทับ (โทน) ฆ้องคู่ และฉิ่ง ใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครชาตรี ๒) วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างหนัก ประกอบด้วยเครื่องดนตรีจำนวน๕ ชิ้น คือ ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง ใช้บรรเลงประโคมในงานพิธี และบรรเลงประกอบการแสดงมหรสพต่าง ๆ
  • 9. ๔. วงมโหรี เป็นลักษณะของวงดนตรีที่นำวงบรรเลงพิณกับวงขับไม้ มาผสมกัน เป็นลักษณะของวงมโหรีเครื่องสี่ ประกอบด้วยผู้บรรเลง ๔ คนคือ ผู้ขับลำนำและตีกรับพวง ให้จังหวะ ผู้สีซอสามสายคลอเสียงร้อง ผู้ดีดกระจับปี่ และผู้ตีทับ (โทน) ควบคุมจังหวะ
  • 10.๑.๒ สมัยอยุธยา ในสมัยอยุธยาเป็นสมัยที่บ้านเมืองเกิดศึกสงครามบ่อยครั้ง เมื่อยามปราศจากสงครามบ้านเมืองสงบสุข ประชาชนจะมีความสุขมีการร้องรำทำเพลง จัดงานรื่นเริงต่าง ๆ ในสมัยอยุธยาเป็นสมัยที่ดนตรีมีการพัฒนาขึ้น ประชาชนนิยมเล่นดนตรีและมีการแสดงต่าง ๆ
  • 11. ๑) วงปี่พาทย์เครื่องห้า มีการนำระนาดมาไว้ในวงดนตรีปลายสมัยอยุธยา ๒) วงมโหรี ในสมัยอยุธยาจะใช้ผู้หญิงบรรเลง โดยมีผู้บรรเลง ๔ คน ประกอบด้วย ผู้ดีดกระจับปี่ ผู้สีซอสามสาย ผู้ตีทับหรือโทน ผู้ตีกรับพวงบรรเลงขับร้องไปด้วย ต่อมาเพิ่มเครื่องดนตรีอีก ๒ ชนิด คือ รำมะนาและขลุ่ย จึงกลายเป็นวงมโหรีเครื่องหก ลักษณะดนตรีในสมัยอยุธยาที่เกิดขึ้น ดังนี้
  • 12. ๓) วงเครื่องสาย มีซออู้ ซอด้วง จะเข้ ขลุ่ย เป็นเครื่องบรรเลงทำนอง และโทน รำมะนา และฉิ่ง เป็นเครื่องประกอบจังหวะ
  • 13.๑.๓ สมัยธนบุรี ในสมัยธนบุรีมีเครื่องดนตรีของชาติต่าง ๆ เข้ามาในประเทศ เช่น มอญ แขก ฝรั่ง ญวน เขมร มีวงพิณพาทย์รามัญของชาติมอญ นำมาบรรเลง วงพิณพาทย์รามัญหรือวงปี่พาทย์มอญที่นำมาบรรเลง จะใช้เครื่องดนตรี เช่น ฆ้องมอญ ปี่มอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก แต่วงดนตรีไทยยังคงมีเพียงวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย และวงมโหรีเท่านั้น
  • 14.๑.๔ สมัยรัตนโกสินทร์ ดนตรีไทยในสมัยรัตนโกสินทร์พัฒนามาจากสมัยอดีตมาก เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีไทยในสมัยนี้ แบ่งออกเป็นเหตุการณ์ในรัชกาลต่าง ๆ ดังนี้
  • 15.ลักษณะดนตรีในสมัยรัตนโกสินทร์ที่เกิดขึ้น รัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านดนตรีสากล ทรงพระราชนิพนธ์เพลงไว้หลายเพลง เช่น เพลงสายฝน เพลงใกล้รุ่ง
  • 16.๒. อิทธิพลของวัฒนธรรมต่อดนตรีในท้องถิ่น วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น วัฒนธรรมจึงมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังส่งผลถึงวัฒนธรรมด้านดนตรีในท้องถิ่นอีกด้วย
  • 17.วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นมีลักษณะแตกต่างกัน และมีอิทธิพลต่อดนตรีในท้องถิ่น ดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะทางดนตรีพื้นบ้าน ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะได้รับอิทธิพลด้านวัฒนธรรมของประเทศลาวและกัมพูชา ทำให้มี ลักษณะทางดนตรีที่หลากหลาย เน้น ความเรียบง่าย สนุกสนาน สะท้อนวัฒนธรรม การดำรงชีวิตของชาวอีสาน ที่มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย อยู่แบบธรรมชาติ ภาคใต้ ลักษณะทางดนตรีพื้นบ้านภาคใต้จะมีความคึกคัก สนุกสนาน เป็นดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรม และประกอบการแสดง สะท้อนวิถีชีวิต ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อุปนิสัยของชาวใต้ที่เข้มแข็ง จิตใจดี มีน้ำใจ ภาคเหนือ ลักษณะเด่นของ ดนตรีพื้นบ้าน ภาคเหนือจะมีความอ่อนหวานนุ่มนวล สะท้อนวัฒนธรรม ด้านวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวเหนือที่มีความเรียบง่าย มีจิตใจอ่อนโยน ดำรงชีวิตแบบธรรมชาติ ภาคกลางลักษณะของดนตรีภาคกลางจะมีความสนุกสนาน ครึกครื้น สะท้อนถึงวัฒนธรรมด้านความเป็นอยู่ อาชีพ อุปนิสัยของคนภาคกลาง ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีอุปนิสัยช่วยเหลือกัน รักความสนุกสนาน
  • 18.วิวัฒนาการ ดนตรีไทย
  • 19.อธิบายเรื่องราวของดนตรีไทยในประวัติศาสตร์ (ศ ๒.๒ ป.๖/๑) จำแนกดนตรีที่มาจากยุคสมัยที่ต่างกัน (ศ ๒.๒ ป.๖/๒) อภิปรายอิทธิพลของวัฒนธรรมต่อดนตรีในท้องถิ่น (ศ ๒.๒ ป.๖/๓)
  • 20.เฉลย ๑. มีการบันทึกประวัติศาสตร์ดนตรีไทย ขึ้นในสมัยใด ๑ สมัยสุโขทัย ๒ สมัยอยุธยา ๓ สมัยธนบุรี ๔ สมัยรัตนโกสินทร์
  • 21.เฉลย ๒. เครื่องปี่พาทย์ประดับมุกและงาเกิดขึ้น ในรัชกาลใด ๑ รัชกาลที่ ๔ ๒ รัชกาลที่ ๕ ๓ รัชกาลที่ ๖ ๔ รัชกาลที่ ๗
  • 22.เฉลย ๓. ข้อใดไม่เกี่ยวกับสมัยพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑ กรมโขนหลวง ๒ เพลงเขมรลออองค์ (เถา) ๓ ตั้งวงเครื่องสายส่วนพระองค์ ๔ เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่งสามชั้น
  • 23.เฉลย ๔. ข้อใดเป็นพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับ ดนตรีไทยของรัชกาลที่ ๙ ๑ ประดิษฐ์ซอสามสายหลีบ ๒ สร้างโรงละครหุ่นกระบอก ๓ จัดพิมพ์เพลงไทยเป็นแบบโน้ตสากล ๔ พระราชนิพนธ์เพลงราตรีประดับดาว (เถา)
  • 24.เฉลย ๕. ข้อใดคือเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในวงมโหรี ทั้งหมด ๑ ซอด้วง บัณเฑาะว์ ๒ กลองชนะ กลองทัด ๓ กระจับปี่ กรับพวง ๔ ปี่ใน ปี่ไฉน
  • 25.เฉลย ๖. วงเครื่องสายถือกำเนิดขึ้นในสมัยใด ๑ สมัยสุโขทัย ๒ สมัยอยุธยา ๓ สมัยธนบุรี ๔ สมัยรัตนโกสินทร์
  • 26.เฉลย ๗. ข้อใดคือวงดนตรีในสมัยธนบุรี ๑ วงปี่พาทย์เครื่องคู่ ๒ วงมโหรีเครื่องใหญ่ ๓ วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ๔ วงดนตรีพิณพาทย์รามัญ
  • 27.เฉลย ๘. ข้อใดสัมพันธ์กัน ๑ ฆ้องวงเล็ก - รัชกาลที่ ๓ ๒ ระนาดทอง - รัชกาลที่ ๙ ๓ ระนาดมโหรี - รัชกาลที่ ๗ ๔ เพลงชะตาชีวิต - รัชกาลที่ ๕
  • 28.เฉลย ๙. ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือสะท้อนให้เห็น วิถีชีวิตของคนในภาคเหนืออย่างไร ๑ ความแข็งแกร่ง เด็ดเดี่ยว ๒ ความรักสนุกของชาวเหนือ ๓ ความเรียบง่าย และสนุกสนาน ๔ ความอ่อนโยนอยู่กับธรรมชาติ
  • 29.เฉลย ๑๐. ข้อใดแสดงถึงวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อดนตรี ในท้องถิ่น ๑ การเปิดเพลงพื้นบ้านฟัง ๒ การเล่นดนตรีในพิธีกรรมงานศพ ๓ การซื้อเครื่องดนตรีภาคอื่นมาเล่น ๔ การเต้นประกอบเพลงของเด็กในหมู่บ้าน
  • 30.ต่อข้อ ๒ ๑. มีการบันทึกประวัติศาสตร์ดนตรีไทย ขึ้นในสมัยใด ๑ สมัยสุโขทัย ๒ สมัยอยุธยา ๓ สมัยธนบุรี ๔ สมัยรัตนโกสินทร์ เฉลย ๑ เพราะได้มีการบันทึกเกี่ยวกับการเล่นดนตรีไว้ในศิลาจารึก เฉลย
  • 31.ต่อข้อ ๓ ๒. เครื่องปี่พาทย์ประดับมุกและงาเกิดขึ้น ในรัชกาลใด ๑ รัชกาลที่ ๔ ๒ รัชกาลที่ ๕ ๓ รัชกาลที่ ๖ ๔ รัชกาลที่ ๗ เฉลย ๓ เพราะเป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ มี ๒ ชุด คือ เครื่องปี่พาทย์ประดับมุกและเครื่องปี่พาทย์ประดับงา
  • 32.ต่อข้อ ๔ ๓. ข้อใดไม่เกี่ยวกับสมัยพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑ กรมโขนหลวง ๒ เพลงเขมรลออองค์ (เถา) ๓ ตั้งวงเครื่องสายส่วนพระองค์ ๔ เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่งสามชั้น เฉลย ๑ เพราะกรมโขนหลวงเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖
  • 33.๔. ข้อใดเป็นพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับ ดนตรีไทยของรัชกาลที่ ๙ ๑ ประดิษฐ์ซอสามสายหลีบ ๒ สร้างโรงละครหุ่นกระบอก ๓ จัดพิมพ์เพลงไทยเป็นแบบโน้ตสากล ๔ พระราชนิพนธ์เพลงราตรีประดับดาว (เถา) เฉลย ๓ เพราะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระปรีชาทางด้าน ดนตรีสากล และพระราชทานทุน จัดพิมพ์เพลงไทยเป็นโน้ตสากล ต่อข้อ ๕
  • 34.ต่อข้อ ๖ ๕. ข้อใดคือเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในวงมโหรี ทั้งหมด ๑ ซอด้วง บัณเฑาะว์ ๒ กลองชนะ กลองทัด ๓ กระจับปี่ กรับพวง ๔ ปี่ใน ปี่ไฉน เฉลย ๓ เพราะเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในวงมโหรีประกอบด้วย กระจับปี่ กรับพวง ซอสามสายและทับ (โทน)
  • 35.ต่อข้อ ๗ ๖. วงเครื่องสายถือกำเนิดขึ้นในสมัยใด ๑ สมัยสุโขทัย ๒ สมัยอยุธยา ๓ สมัยธนบุรี ๔ สมัยรัตนโกสินทร์ เฉลย ๒ เพราะในสมัยอยุธยา ได้เกิดวงปี่พาทย์เครื่องห้า วงมโหรี และวงเครื่องสาย
  • 36.ต่อข้อ ๘ ๗. ข้อใดคือวงดนตรีในสมัยธนบุรี ๑ วงปี่พาทย์เครื่องคู่ ๒ วงมโหรีเครื่องใหญ่ ๓ วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ๔ วงดนตรีพิณพาทย์รามัญ เฉลย ๔ เพราะในสมัยธนบุรีมีเครื่องดนตรีของชาติต่าง ๆ เข้ามามาก แต่ที่เด่นชัดคือ วงดนตรีพิณพาทย์รามัญ ของชาติมอญที่นำเข้ามาบรรเลง
  • 37.ต่อข้อ ๙ ๘. ข้อใดสัมพันธ์กัน ๑ ฆ้องวงเล็ก - รัชกาลที่ ๓ ๒ ระนาดทอง - รัชกาลที่ ๙ ๓ ระนาดมโหรี - รัชกาลที่ ๗ ๔ เพลงชะตาชีวิต - รัชกาลที่ ๕ เฉลย ๑ เพราะในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีการคิดค้นระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็ก
  • 38.ต่อข้อ ๑๐ ๙. ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือสะท้อนให้เห็น วิถีชีวิตของคนในภาคเหนืออย่างไร ๑ ความแข็งแกร่ง เด็ดเดี่ยว ๒ ความรักสนุกของชาวเหนือ ๓ ความเรียบง่าย และสนุกสนาน ๔ ความอ่อนโยนอยู่กับธรรมชาติ เฉลย ๔ เพราะลักษณะทางดนตรีของภาคเหนือจะอ่อนหวาน นุ่มนวล เชื่องช้า สะท้อนถึงความรัก ความอ่อนโยน และอยู่กับธรรมชาติของ ชาวเหนือ
  • 39.ไปหน้าแรก ๑๐. ข้อใดแสดงถึงวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อดนตรี ในท้องถิ่น ๑ การเปิดเพลงพื้นบ้านฟัง ๒ การเล่นดนตรีในพิธีกรรมงานศพ ๓ การซื้อเครื่องดนตรีภาคอื่นมาเล่น ๔ การเต้นประกอบเพลงของเด็กในหมู่บ้าน เฉลย ๒ เพราะการนำดนตรีมาใช้บรรเลงในงานศพแสดงถึงการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมกับดนตรีในท้องถิ่น