ดนตรี ป.6 หน่วยที่ 5 การวิเคราะห์เพลงและ หลักการฟังเพลง

1

Presentation Transcript

  • 1. หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ การวิเคราะห์เพลงและ หลักการฟังเพลง
  • 2.๑. บรรยายความรู้สึกที่มีต่อดนตรี (ศ ๒.๑ ป.๖/๕) ๒. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทำนอง จังหวะ การประสานเสียง และคุณภาพเสียงของเพลงที่ฟัง (ศ ๒.๑ ป.๖/๖)
  • 3.การวิเคราะห์ เพลงและหลักการ ฟังเพลง
  • 4.๑. การวิเคราะห์เพลง เพลง หมายถึง สำเนียงขับร้อง ทำนองดนตรีที่สร้างสรรค์ขึ้น โดยมีเนื้อเพลงจังหวะทำนองการสัมผัสคำ การใช้ถ้อยคำตามหลักดนตรี เป็นส่วนประกอบของเพลงที่ทำให้เพลงมีความไพเราะ การวิเคราะห์เพลงแต่ละเพลงนั้น ผู้ฟังเพลงหรือผู้ที่จะ วิเคราะห์เพลง ต้องมีความเข้าใจองค์ประกอบของดนตรี เพื่อที่จะทำให้เข้าใจและวิเคราะห์เพลงนั้นได้ถูกต้อง การวิเคราะห์เพลงและหลักการฟังเพลง
  • 5.องค์ประกอบของดนตรี มีดังนี้ ๑.๑ เนื้อหาในเพลง เพลงแต่ละเพลงจะมีเนื้อหาและความหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถบ่งบอกอารมณ์และความรู้สึกของเพลงนั้นให้ผู้ฟังได้ เข้าใจและซาบซึ้งไปกับเพลง เนื้อหาในเพลงแต่ละเพลงจะมีลักษณะอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง
  • 6.ตัวอย่าง เนื้อหาในเพลง ทำนอง : พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คำร้อง : พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร
  • 7. ๑.๒ องค์ประกอบในเพลง เพลงจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ ๑) จังหวะ จังหวะ คือ สิ่งที่ใช้กำหนดควบคุมความช้า-เร็วของเพลง เพลงแต่ละเพลงจะมีจังหวะช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับผู้ประพันธ์เพลง นอกจากจังหวะจะควบคุมความช้า-เร็วของเพลงแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ทำให้เพลงมีความไพเราะซึ่งช่วยให้ผู้ฟังเพลงเข้าใจได้ว่าเพลงนั้นมีจังหวะเป็นอย่างไร เช่น เพลงที่เศร้า โหยหวนจะมีจังหวะช้า เพลงที่สนุกสนานตื่นเต้นจะมีจังหวะเร็ว
  • 8. ๒) ทำนอง ทำนองคือเสียงสูง-ต่ำ ดัง-เบา สั้น-ยาวประกอบรวมกันเรียบเรียงให้มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กัน และเป็นองค์ประกอบที่ง่ายต่อการจดจำว่าเพลงแต่ละเพลงนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งทำนองเพลงจะเป็นไปในลักษณะใดนั้นจะขึ้นอยู่กับผู้ประพันธ์เพลง ๓) การประสานเสียง การประสานเสียงเกิดจากผู้ขับร้องร้องไปพร้อมกับการบรรเลง ดนตรีให้มีระดับเสียงเดียวกัน เสียงร้องและเสียงของดนตรีนั้นจะต้องดังไป พร้อม ๆ กันซึ่งการประสานเสียงเป็นสิ่งที่บอกถึงความเหมาะสมกลมกลืนของ เพลงว่าใช้เสียงเป็นอย่างไรการบรรเลงจังหวะ ทำนองเหมาะสมกันหรือไม่
  • 9. ๑.๓ คุณภาพเสียงในเพลง คุณภาพเสียง คือ ลักษณะที่ดีของเสียงที่ใช้ในเพลง แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้ ๑) คุณภาพเสียงร้อง ผู้ขับร้องจะต้องมีลักษณะน้ำเสียงที่ดีเหมาะสมกับเนื้อเพลง จังหวะทำนองของบทเพลง และมีความเหมาะสมกลมกลืนกับการบรรเลงดนตรีด้วย ๒) คุณภาพเสียงดนตรี ดนตรีที่บรรเลงประกอบเพลงจะต้องมีเสียงที่ไพเราะ บรรเลงตาม จังหวะและทำนองของเพลงได้ถูกต้อง และสอดคล้องกับเสียงของผู้ขับร้อง ได้ดีคุณภาพเสียง ๒ ลักษณะนี้จะส่งผลให้เพลงมีความไพเราะมากยิ่งขึ้น
  • 10.๒. หลักการฟังเพลง การฟังเพลง นอกจากการฟังเพื่อความผ่อนคลายแล้ว เมื่อผู้ฟังฟังเพลงด้วยความตั้งใจ และมีสมาธิยังส่งผลให้ผู้ฟังสามารถวิเคราะห์ เข้าใจ และซาบซึ้งกับเพลงได้มากขึ้น
  • 11.
  • 12.การวิเคราะห์เพลงและ หลักการฟังเพลง
  • 13.๑. บรรยายความรู้สึกที่มีต่อดนตรี (ศ ๒.๑ ป.๖/๕) ๒. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทำนอง จังหวะ การประสานเสียง และคุณภาพเสียงของเพลงที่ฟัง (ศ ๒.๑ ป.๖/๖)
  • 14.เฉลย ๑. เพลงป่าดงพงพีมีการบรรเลงดนตรี ที่ให้ความรู้สึกอย่างไร ๑ คึกคัก ๒ นุ่มนวล ๓ โศกเศร้า ๔ อ่อนหวาน
  • 15.เฉลย ๒. ดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบเพลง ควรมีลักษณะอย่างไร ๑ บรรเลงตามความพอใจของนักดนตรี ๒ บรรเลงได้ตรงตามจังหวะทำนองของเพลง ๓ บรรเลงโดยใช้เครื่องดนตรีสมัยใหม่เท่านั้น ๔ บรรเลงเร็วกว่าจังหวะของเพลงที่กำหนดไว้
  • 16.เฉลย ๓. เพลงลาวดวงเดือนมีความหมายเกี่ยวกับสิ่งใด ๑ ความงามของธรรมชาติ ๒ ความหวังในวันใหม่ ๓ การต่อสู้เพื่อชาติ ๔ ความคิดถึงคนรัก
  • 17.เฉลย ๔. ข้อใดเป็นองค์ประกอบของเพลงทั้งหมด ๑ ทำนอง ผู้ขับร้อง ๒ จังหวะ เครื่องดนตรี ๓ เนื้อเพลง ผู้ประพันธ์เพลง ๔ การประสานเสียง ทำนอง
  • 18.เฉลย ๕. เพลงที่มีลักษณะโหยหวน โศกเศร้า เป็นเพลงที่มีจังหวะใด ๑ จังหวะช้า ๒ จังหวะเร็ว ๓ จังหวะดัง ๔ จังหวะสั้น
  • 19.เฉลย ๖. คุณภาพเสียงในเพลงควรมีลักษณะอย่างไร ๑ เสียงร้องต่างกับเสียงดนตรี ๒ เสียงร้องเหมาะกับเสียงดนตรี ๓ เสียงร้องและเสียงดนตรีต้องทันสมัย ๔ เสียงร้องและเสียงดนตรีต้องแปลกใหม่
  • 20.เฉลย ๗. สิ่งใดเป็นตัวกำหนดความช้า-เร็วของเพลง ๑ ทำนอง ๒ จังหวะ ๓ เนื้อเพลง ๔ เครื่องดนตรี
  • 21.เฉลย ๘. สิ่งใดที่ทำให้ผู้ฟังเพลงจดจำได้ว่าเพลงนั้น มีลักษณะอย่างไร ๑ ทำนอง ๒ ผู้ประพันธ์เพลง ๓ การประสานเสียง ๔ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง
  • 22.เฉลย ๙. ข้อใดไม่ใช่หลักการฟังเพลงที่ถูกต้อง ๑ ฝึกฟังเพลงที่มีทำนองต่างกัน ๒ ศึกษาเทคนิคที่ใช้ในเพลงนั้น ๓ หาจุดผิดของเพลงนั้นอย่างตั้งใจ ๔ สามารถบอกอารมณ์ของเพลงได้
  • 23.เฉลย ๑๐. การตั้งใจฟังเพลงจะส่งผลอย่างไร ๑ ผู้ฟังไม่ต้องฟังเพลงอีก ๒ ผู้ฟังจะร้องเพลงได้ไพเราะ ๓ ผู้ฟังเข้าใจประวัติของนักร้อง ๔ ผู้ฟังเข้าใจความหมายของเพลง
  • 24.ต่อข้อ ๒ ๑. เพลงป่าดงพงพีมีการบรรเลงดนตรี ที่ให้ความรู้สึกอย่างไร ๑ คึกคัก ๒ นุ่มนวล ๓ โศกเศร้า ๔ อ่อนหวาน เฉลย ๑ เพราะเป็นเพลงที่มีจังหวะเร็วให้ความรู้สึกคึกคัก สนุกสนาน เฉลย
  • 25.ต่อข้อ ๓ ๒. ดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบเพลง ควรมีลักษณะอย่างไร ๑ บรรเลงตามความพอใจของนักดนตรี ๒ บรรเลงได้ตรงตามจังหวะทำนองของเพลง ๓ บรรเลงโดยใช้เครื่องดนตรีสมัยใหม่เท่านั้น ๔ บรรเลงเร็วกว่าจังหวะของเพลงที่กำหนดไว้ เฉลย ๒ เพราะดนตรีที่ใช้บรรเลง ควรบรรเลงได้ตรงตามจังหวะ ทำนองของเพลงจะทำให้เพลงมีความไพเราะน่าฟัง
  • 26.ต่อข้อ ๔ ๓. เพลงลาวดวงเดือนมีความหมายเกี่ยวกับสิ่งใด ๑ ความงามของธรรมชาติ ๒ ความหวังในวันใหม่ ๓ การต่อสู้เพื่อชาติ ๔ ความคิดถึงคนรัก เฉลย ๔ เพราะเพลงลาวดวงเดือน เป็นเพลงที่มีความหมายเกี่ยวกับความคิดถึงคนรักที่ต้องพรากจากกันไปความอาลัยอาวรณ์
  • 27.ต่อข้อ ๕ ๔. ข้อใดเป็นองค์ประกอบของเพลงทั้งหมด ๑ ทำนอง ผู้ขับร้อง ๒ จังหวะ เครื่องดนตรี ๓ เนื้อเพลง ผู้ประพันธ์เพลง ๔ การประสานเสียง ทำนอง เฉลย ๔ เพราะองค์ประกอบของเพลงประกอบด้วยจังหวะ ทำนองและการประสานเสียง
  • 28.ต่อข้อ ๖ ๕. เพลงที่มีลักษณะโหยหวน โศกเศร้า เป็นเพลงที่มีจังหวะใด ๑ จังหวะช้า ๒ จังหวะเร็ว ๓ จังหวะดัง ๔ จังหวะสั้น เฉลย ๑ เพราะเพลงที่มีจังหวะช้าจะมีลักษณะโศกเศร้า โหยหวนหรือบางครั้งให้อารมณ์อ่อนหวาน นุ่มนวล ซาบซึ้ง
  • 29.ต่อข้อ ๗ ๖. คุณภาพเสียงในเพลงควรมีลักษณะอย่างไร ๑ เสียงร้องต่างกับเสียงดนตรี ๒ เสียงร้องเหมาะกับเสียงดนตรี ๓ เสียงร้องและเสียงดนตรีต้องทันสมัย ๔ เสียงร้องและเสียงดนตรีต้องแปลกใหม่ เฉลย ๒ เพราะคุณภาพเสียงในเพลงเสียงร้องและเสียงดนตรีควรมีความเหมาะสมกลมกลืนกันจะทำให้เพลงมีความไพเราะน่าฟัง
  • 30.ต่อข้อ ๘ ๗. สิ่งใดเป็นตัวกำหนดความช้า-เร็วของเพลง ๑ ทำนอง ๒ จังหวะ ๓ เนื้อเพลง ๔ เครื่องดนตรี เฉลย ๒ เพราะจังหวะเป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมความช้า-เร็วของเพลง ทำให้ เพลงมีความไพเราะ ช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจ ได้ว่าเพลงนั้นมีจังหวะอย่างไร
  • 31.ต่อข้อ ๙ ๘. สิ่งใดที่ทำให้ผู้ฟังเพลงจดจำได้ว่าเพลงนั้น มีลักษณะอย่างไร ๑ ทำนอง ๒ ผู้ประพันธ์เพลง ๓ การประสานเสียง ๔ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง เฉลย ๑ เพราะทำนองเพลง คือ เสียงสูง-ต่ำ ดัง-เบาสั้น-ยาว ที่มาประกอบรวบรวมเป็นเสียงที่เหมาะสมกัน เป็นองค์ประกอบที่ง่ายต่อการจดจำว่าเพลงนั้นมีลักษณะอย่างไร
  • 32.ต่อข้อ ๑๐ ๙. ข้อใดไม่ใช่หลักการฟังเพลงที่ถูกต้อง ๑ ฝึกฟังเพลงที่มีทำนองต่างกัน ๒ ศึกษาเทคนิคที่ใช้ในเพลงนั้น ๓ หาจุดผิดของเพลงนั้นอย่างตั้งใจ ๔ สามารถบอกอารมณ์ของเพลงได้ เฉลย ๓ เพราะการหาจุดผิดของเพลงนั้นอย่างตั้งใจจะทำให้ผู้ฟังไม่ซาบซึ้ง ไม่ได้รับรู้ถึงความไพเราะของเพลง ทำให้ไม่เข้าใจอารมณ์ และความหมายของเพลง
  • 33.ไปหน้าแรก ๑๐. การตั้งใจฟังเพลงจะส่งผลอย่างไร ๑ ผู้ฟังไม่ต้องฟังเพลงอีก ๒ ผู้ฟังจะร้องเพลงได้ไพเราะ ๓ ผู้ฟังเข้าใจประวัติของนักร้อง ๔ ผู้ฟังเข้าใจความหมายของเพลง เฉลย ๔ เพราะการตั้งใจฟังเพลงจะทำให้ผู้ฟังเพลงเข้าใจความหมายของเพลง เกิดอารมณ์และความรู้สึกคล้อยตามไปกับเพลง