เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ป.6 หน่วยที่ 1

0

Presentation Transcript

  • 1.เทคโนโลยี ๖ ชั้นประถมศึกษาปีที่ (วิทยาการคำนวณ)
  • 2.สารบัญ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาข้อมูล หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกันอย่างปลอดภัย
  • 3.การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา 1 วิธีการแก้ปัญหา กระบวนการทำงาน แบบวนซ้ำ การออกแบบ วิธีการแก้ปัญหา การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แผนผังหัวข้อหน่วยการเรียนรู้ ป.6
  • 4.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตรวจสอบสวิตช์ ตรวจสอบการใส่ถ่านไฟฉาย ตรวจสอบหลอดไฟฟ้า วิธีแก้ปัญหาไฟฉายไม่สว่าง ป.6
  • 5.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การเก็บขยะจนกว่าจะสะอาด ขยะบริเวณนั้นหมดจริงหรือไม่ นำขยะใส่ถังขยะ เริ่มต้น จบ เก็บขยะ เดินไปบริเวณที่มีขยะ ไม่จริง จริง
  • 6.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การค้นหาเส้นทางที่ใกล้ที่สุด ป.6
  • 7.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิธีการแก้ปัญหา ปัญหาแต่ละปัญหามีวิธีการแก้ไขได้หลายวิธี การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนจะช่วยให้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น นักเรียนลืมกล่องดินสอและต้องการได้กล่องดินสอคืน การแก้ปัญหานี้เราจะต้องทบทวนว่าเราไปที่ไหนมาบ้าง แต่ละสถานที่เราไปทำอะไร แล้วพิจารณาว่าในสถานที่นั้น ๆ เราทำอะไรกับกล่องดินสอหรือไม่ หรือถ้าเราต้องการลดค่าใช้จ่ายประจำวันเราต้องทบทวนว่าในแต่ละวันเรามีค่าใช้จ่ายเรื่องใดบ้าง มีเรื่องใดที่สามารถตัดออกได้บ้าง หรือมีเรื่องใดที่สามารถลดค่าใช้จ่ายในเรื่องนั้น ๆ ได้บ้าง คำถามสำคัญ ในชีวิตประจำวันนักเรียนพบปัญหาใดบ่อยที่สุด และมีวิธีการแก้ปัญหานั้นอย่างไร
  • 8.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (logical reasoning) เป็นการใช้เหตุผล เงื่อนไข หรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นเพื่อตรวจสอบความสมเหตุสมผลหรือความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ปัญหาบางปัญหาที่มีความซับซ้อนขึ้น ต้องใช้เงื่อนไขหรือใช้เหตุผลเชิงตรรกะมาช่วยในการแก้ปัญหา เช่น การเล่นเกมเขาวงกต เราต้องทำตามเงื่อนไขของเกม วิธีการเล่น คือ ใช้ดินสอลากเส้นจากต้นทางไปยังปลายทางโดยต้องไม่ยกดินสอออกจากกระดาษ การลากเส้นนั้นจะต้องให้เดินทางไปยังปลายทางได้สั้นที่สุดและไม่ชนกับผนัง ป.6
  • 9.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เกมที่มีความซับซ้อนมากขึ้นอาจเป็นเขาวงกตที่ซับซ้อนขึ้น หรือมีเงื่อนไขที่ต้องทำตามหลายเงื่อนไข เช่น เกมเขาวงกตคณิตศาสตร์ ดังภาพการหาเส้นทางจะต้องใช้การคิดเชิงคณิตศาสตร์ไปด้วย ผู้เล่นต้องลากเส้นให้กระต่ายเดินทางไปกินแคร์รอต โดยเส้นทางนั้นจะเป็นการนับจำนวนของตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง 100 เกมเขาวงกตคณิตศาสตร์ ป.6
  • 10.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เกมอาจมีความซับซ้อนมากขึ้นอีก เช่น หาเส้นทางให้กบกระโดดไปยังสระน้ำ โดยเส้นทางนั้นจะเป็นการนับตั้งแต่ 4 ถึง 400 ซึ่งการนับแต่ละครั้งจะเพิ่มครั้งละ 4 เกมเขาวงกตคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน ป.6
  • 11.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การฝึกคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน เป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ในอนาคต เช่น ถ้าเราต้องการเขียนโปรแกรมให้หุ่นยนต์เดินทางเข้าไปยังเป้าหมายในเขาวงกต เราต้องนำวิธีการคิดของเราและเงื่อนไขต่าง ๆ มาเปลี่ยนเป็นโปรแกรมสำหรับหุ่นยนต์ ดังภาพ การเขียนโปรแกรมให้หุ่นยนต์เดินไปในเขาวงกต ป.6
  • 12.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การใช้เหตุผล (reasoning) เป็นการคิดและอธิบายความคิดออกมาเป็นแผนงาน โดยแสดงวิธีการแก้ปัญหาเป็นลำดับขั้นตอน ทำให้มองเห็นวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจน ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะต้องพิจารณาเงื่อนไขหรือเหตุผลประกอบด้วย การแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหาทำได้โดยการเขียน บอกเล่า วาดภาพ หรือใช้สัญลักษณ์ กระบวนการแก้ปัญหา การพิจารณาปัญหา คือ การทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดแล้วพิจารณาว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง การวางแผนแก้ปัญหา คือ การกำหนดขั้นตอน วิธีการแก้ปัญหา อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา และระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ปัญหา โดยการทำงานนี้อาจต้องทำซ้ำ ๆ จนแก้ปัญหาได้สำเร็จ
  • 13.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ไฟฉายจะสว่างหรือใช้งานได้ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า และต้องกดสวิตช์เพื่อให้วงจรทำงาน ไฟฉายจึงจะส่องแสงสว่างได้ แต่เมื่อเปิดสวิตช์แล้วไฟฉายไม่สว่างอาจแก้ปัญหาตามขั้นตอนต่อไปนี้ ตัวอย่างที่ 1 เราพบว่าไฟฉายที่ใช้อยู่เป็นประจำ เมื่อเปิดแล้วไฟไม่สว่าง ป.6
  • 14.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 1. ตรวจสอบว่ากดสวิตช์ถูกต้องหรือไม่ ถ้ากดถูกต้องไปขั้นตอนที่ 2 2. ตรวจสอบว่าใส่ถ่านไฟฉายหรือไม่ ถ้าใส่แล้วไปขั้นตอนที่ 3
  • 15.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3. ตรวจสอบว่าใส่ถ่านไฟฉายถูกต้องหรือไม่ ถ้าใส่ถูกต้องไปขั้นตอนที่ 4 4. ตรวจสอบว่าถ่านไฟฉายแต่ละก้อนมีพลังงานไฟฟ้าหรือไม่ ถ้ามีพลังงานไฟฟ้าไปขั้นตอนที่ 5
  • 16.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 5. ตรวจสอบว่าหลอดไฟฟ้าในไฟฉายใช้ได้หรือไม่ การทิ้งถ่านไฟฉายที่ไม่มีพลังงานไฟฟ้าแล้ว ควรใส่ถ่านไฟฉายไว้ในถุงพลาสติก หรือถุงดำ แล้วเขียนว่า “ขยะพิษ” หรือ “ถ่านไฟฉายใช้แล้ว” เจ้าหน้าที่จะได้จัดเก็บอย่างถูกต้อง จากนั้นนำไปทิ้งในถังขยะอันตราย ปลอดภัยไว้ก่อน ป.6
  • 17.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิธีแก้ปัญหา การแก้ปัญหาในข้อนี้ เราจะต้องมีความรู้พื้นฐานเรื่องขนาดของกระดาษ โดยการ แบ่งขนาดของกระดาษเป็นประเภทต่าง ๆ แบ่งได้ดังภาพ ตัวอย่างที่ 2 เรามีกระดาษ 1 แผ่น ขนาด A4 ต้องการตัดกระดาษเป็นขนาด A6 ให้ได้มากที่สุด เราอาจทำได้ ดังนี้ กระดาษขนาด A0 แบ่งครึ่งจะเป็นกระดาษขนาด A1 กระดาษขนาด A1 แบ่งครึ่งจะเป็นกระดาษขนาด A2 กระดาษขนาด A2 แบ่งครึ่งจะเป็นกระดาษขนาด A3 กระดาษขนาด A3 แบ่งครึ่งจะเป็นกระดาษขนาด A4 กระดาษขนาด A4 แบ่งครึ่งจะเป็นกระดาษขนาด A5 กระดาษขนาด A5 แบ่งครึ่งจะเป็นกระดาษขนาด A6 กระดาษขนาด A6 แบ่งครึ่งจะเป็นกระดาษขนาด A7 กระดาษขนาด A7 แบ่งครึ่งจะเป็นกระดาษขนาด A8 จากความรู้เกี่ยวกับกระดาษจะพบว่า กระดาษขนาด A4 แบ่งเป็นกระดาษขนาด A5 ได้ 2 แผ่น และกระดาษขนาด A5 แบ่งเป็นกระดาษขนาด A6 ได้ 2 แผ่น ดังนั้น เราสามารถตัดกระดาษขนาด A4 เป็นกระดาษขนาด A6 ได้ 4 แผ่นนั่นเอง
  • 18.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กิจกรรมที่ 1.1 พับกระดาษ + - x นักเรียนนำกระดาษขนาด A4 ที่มีความกว้าง 21 เซนติเมตร และความยาว 29.7 เซนติเมตร มาพับครึ่งในแนวเดิมไปเรื่อยๆ จากนั้นเขียนบันทึกความยาวของกระดาษหลังการพับครึ่ง แต่ละครึ่งลงในตาราง ถ้ากระดาษขนาด A4 มีความหนา 1 มิลลิเมตร การพับแต่ละครั้งความหนาของกระดาษจะเป็นเท่าใด ลองนำกระดาษขนาด A4 มาพับและพับให้ได้จำนวนครั้งที่มากที่สุดจะพบปัญหาใดบ้าง ป.6
  • 19.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กระบวนการทำงานแบบวนซ้ำ เกมหรือปัญหาหลายปัญหาจะทำงานแบบวนซ้ำและมีเงื่อนไขอยู่ภายในด้วย เช่น การค้นหาของในกล่องจนกว่าจะพบของที่ต้องการ การเก็บขยะต้องเก็บจนขยะหมด การปูกระเบื้องบนพื้นจนเต็มพื้นที่ การทำงานแบบวนซ้ำจะทำงานวนซ้ำไปเรื่อย ๆ จนครบตามที่เงื่อนไขกำหนด คำถามสำคัญ กิจกรรมใดในชีวิตประจำวันมีการทำงานแบบวนซ้ำบ้าง การเก็บขยะ
  • 20.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อเราต้องการเก็บขยะ จะต้องเก็บขยะในบริเวณนั้นไปเรื่อย ๆ จนกว่าขยะในบริเวณนั้นจะหมดหรือสะอาด โดยเขียนเป็นอัลกอริทึมและผังงานได้ ดังนี้ ตัวอย่างที่ 1 การเก็บขยะ เริ่มต้น 1. เดินไปบริเวณที่มีขยะ 2. เก็บขยะ 3. นำขยะใส่ถังขยะ 4. ขยะบริเวณนั้นหมดจริงหรือไม่ 4.1 ถ้าไม่จริง ไปทำข้อ 1 4.2 ถ้าจริงจบการทำงาน จบ เริ่มต้น จบ ไม่จริง จริง จากตัวอย่างจะพบว่าจะทำงานวนซ้ำไปเรื่อย ๆ โดยมีเงื่อนไข คือ ขยะบริเวณนั้น หมดแล้วจริงหรือไม่ ถ้าจริงก็จะออกจากการวนซ้ำ ขั้นตอนการเก็บขยะ ป.6
  • 21.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ถ้าต้องการปูกระเบื้องเป็นสีเรียงกันไปเรื่อย ๆ คือ แดง น้ำเงิน เหลือง เขียว แดง น้ำเงิน เหลือง เขียว ดังภาพ และต้องการเรียงต่อกันไปเรื่อย ๆ เป็นจำนวน 15 แผ่น อยากทราบว่าแผ่นที่ 15 จะเป็นกระเบื้องสีอะไร ตัวอย่างที่ 2 การปูกระเบื้องบนพื้นที่ว่าง วิธีแก้ปัญหา การแก้ปัญหานี้จะต้องพิจารณาปัญหาอย่างละเอียด คิดหาความสัมพันธ์ต่าง ๆ โดยการเรียงข้อมูลตามที่โจทย์กำหนดจะเป็นเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ของปัญหานี้จากการปูกระเบื้องเราสามารถเขียนรูปแบบของกระเบื้องสีต่าง ๆ ให้เป็นข้อมูลอย่างง่ายได้ เช่น แทนสีกระเบื้องด้วยตัวเลข เมื่อพิจารณาปัญหานี้ต่อไป การปูกระเบื้องจะคล้ายกับการนับเลข 1, 2, 3, 4, 1, 2, 3, 4 โดยวนซ้ำไปเรื่อย ๆ จนครบ 15 ตัวเลข แล้วจะพบว่าการนับครั้งที่ 15 ตรงกับหมายเลข 3 ซึ่งหมายถึงกระเบื้องสีเหลืองนั่นเอง ป.6
  • 22.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เราต้องการเขียนโปรแกรมสั่งงานให้ผึ้งเดินทางไปเก็บน้ำหวานดังภาพจะเขียนคำสั่งได้อย่างไร ตัวอย่างที่ 3 ผึ้งเก็บน้ำหวาน วิธีแก้ปัญหา พิจารณาจากปัญหาของผึ้ง จะพบว่ามีน้ำหวานอยู่ที่ดอกไม้ 2 ตำแหน่ง แต่ละตำแหน่งต้องเก็บน้ำหวาน 2 ครั้ง อัลกอริทึมของคำสั่งเขียนได้ ดังนี้ เริ่มต้น 1. ไปข้างหน้า 2. เก็บน้ำหวาน 3. เก็บน้ำหวาน 4. ไปข้างหน้า 5. เก็บน้ำหวาน 6. เก็บน้ำหวาน จบ ป.6
  • 23.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากอัลกอริทึมของปัญหานี้ สามารถเขียนอัลกอริทึมใหม่โดยการวนซ้ำได้ และเขียนโปรแกรมแบบบล็อกคำสั่งได้ ดังนี้ ตัวอย่างที่ 3 ผึ้งเก็บน้ำหวาน (ต่อ) เริ่มต้น 1.ทำซ้ำ 2 ครั้ง 1.1 ไปข้างหน้า 1.2 เก็บน้ำหวาน 1.2 เก็บน้ำหวาน จบ ป.6
  • 24.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การแก้ปัญหานี้ทำได้หลายวิธี แต่ละวิธีจะมีลำดับขั้นตอนที่ใช้เวลาแตกต่างกัน เช่น วิธีที่ 1 ทำกระเป๋า 10 ใบ ทำสายสะพาย 10 เส้น แล้วประกอบกระเป๋าทีละใบ วิธีที่ 2 ทำกระเป๋า 10 ใบ ทำสายสะพาย 1 เส้น ประกอบกระเป๋าทีละใบ แล้วกลับไปทำ สายสะพายต่อ แล้วประกอบกระเป๋าจนครบ วิธีที่ 3 ทำกระเป๋า 1 ใบ ทำสายสะพาย 1 เส้น ประกอบกระเป๋า แล้วกลับไปเริ่มต้นทำอีกครั้ง จนได้กระเป๋าครบ 10 ใบ ตัวอย่างวิธีที่กล่าวมานั้น การได้กระเป๋าแต่ละใบจะใช้เวลาต่างกัน แต่ถ้าพิจารณาแต่ละวิธี พบว่าวิธีที่ 3 จะได้กระเป๋าใบแรกออกมาเร็วที่สุด ถ้ามีลูกค้าเข้ามาในร้านจะทำให้ขายได้เร็ว ดังนั้น จึงเลือกวิธีที่ 3 เพื่อให้ขายและได้เงินจากการขายแต่ละใบเร็วที่สุด โดยเขียนเป็นผังงานได้ดังนี้ ตัวอย่างที่ 4 ร้านขายกระเป๋าร้านหนึ่ง ขายกระเป๋าที่ทำด้วยมือแล้วนำมาวางขายหน้าร้าน โดยการทำกระเป๋านั้นจะมี 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ทำกระเป๋า และทำสายสะพาย โดยการทำกระเป๋าใช้เวลา 30 นาที ทำสายสะพายใช้เวลา 15 นาที ประกอบกระเป๋าเข้ากับสายสะพายใช้เวลา 10 นาที ถ้าร้านขายกระเป๋าร้านนี้ ต้องการทำกระเป๋าออกมาขายจำนวน 10 ใบ จะมีวิธีการอย่างไรบ้าง ขั้นตอนการทำกระเป๋าให้ครบ 10 ใบ ป.6
  • 25.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 + - x ถ้าต้องการปูกระเบื้องเป็นพื้นที่กว้าง 25 เซนติเมตร ยาว 5 เมตร โดยกระเบื้องแต่ละแผ่นเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 25 เซนติเมตร x 25 เซนติเมตร และให้สีแต่ละแผ่นเรียงเป็นลำดับ ดังนี้ เขียว เหลือง น้ำตาล แดง เขียว เหลือง น้ำตาล แดง อยากทราบว่าจะต้องใช้กระเบื้องแต่ละสีจำนวนกี่แผ่น ถ้าผึ้งต้องการเดินทางไปเก็บน้ำหวาน ดังภาพ ซึ่งการเดินแต่ละบล็อกใช้เวลา 2 วินาที การเก็บน้ำหวานแต่ละครั้งใช้เวลา 2 วินาที จงเขียนอัลกอริทึมของการแก้ปัญหานี้และผึ้งต้องใช้เวลาในการทำงานทั้งหมดเท่าไร กิจกรรมที่ 1.2 แสดงวิธีการแก้ปัญหา ป.6
  • 26.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เกมทายตัวเลข การทายตัวเลขมีหลายรูปแบบ การทายตัวเลขที่เพื่อนคิดโดยใช้คำถามเป็นอีกเกมหนึ่งที่น่าสนใจ เช่น การเล่นเกมระหว่างเอกับบี โดยเอเป็นผู้ตั้งโจทย์ด้วยการเลือกตัวเลขมา 1 จำนวน ตั้งแต่ 1-1,000,000 และบีเป็นผู้ทายตัวเลขนั้น โดยจะใช้คำถามถามไปยังเอว่าตัวเลขนั้นมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่า หรือตัวเลขนั้นเป็นเลขคู่หรือเลขคี่ ถ้าเอคิดตัวเลขเป็น 360 แล้วให้บีทาย ดังนี้ บี : ตัวเลขน้อยกว่า 5,000 ใช่หรือไม่ เอ : ใช่ บี : น้อยกว่า 3,000 ใช่หรือไม่ เอ : ใช่ บี : น้อยกว่า 1,000 ใช่หรือไม่ เอ : ใช่ บี : น้อยกว่า 500 ใช่หรือไม่ เอ : ใช่ บี : น้อยกว่า 250 ใช่หรือไม่ เอ : ไม่ใช่ บี : มากกว่า 400 ใช่หรือไม่ เอ : ไม่ใช่ บี : มากกว่า 300 ใช่หรือไม่ เอ : ใช่ บี : มากกว่า 350 ใช่หรือไม่ เอ : ใช่ บี : มากกว่า 380 ใช่หรือไม่ เอ : ไม่ใช่ บี : เป็นจำนวนคู่หรือจำนวนคี่ เอ : จำนวนคู่ บี : 360 ใช่หรือไม่ เอ : ใช่ ถูกต้องครับ ป.6
  • 27.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 + - x นักเรียนจับคู่กับเพื่อนทายตัวเลขระหว่าง 1 ถึง 1,000,000 โดยคนหนึ่งเป็นผู้ตั้งโจทย์ อีกคนหนึ่งเป็นผู้ตั้งคำถามและตอบให้ถูกภายใน 20 คำถาม นักเรียนตอบถูกภายในกี่คำถาม นักเรียนมีวิธีการอย่างไรในการตั้งคำถาม กิจกรรมที่ 1.3 สนุกกับเกมทายตัวเลข ป.6
  • 28.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน การดำเนินการต่าง ๆ ในชีวิตของเรา บางเรื่องราวสามารถแก้ปัญหาได้หลายวิธี แต่ละวิธีจะมีประสิทธิภาพต่างกัน เช่น การเดินทางจากสถานที่หนึ่งไปยังสถานที่หนึ่ง การโดยสารรถประจำทางในบางจังหวัดมีรถหลายสาย แต่ไปจุดหมายปลายทางเดียวกันได้ รถแต่ละสายจะวิ่งเส้นทางไม่เหมือนกัน มีจุดจอดไม่เหมือนกัน ดังนั้น เราต้องเลือกเส้นทางที่เหมาะสมกับการเดินทางของเรา คำถามสำคัญ นักเรียนมีวิธีเลือกเส้นทางการเดินทางที่ดีที่สุดได้อย่างไร
  • 29.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตัวอย่าง รถยนต์แต่ละคันอาจวิ่งด้วยความเร็วไม่เท่ากัน รถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หมายความว่า 1 ชั่วโมง จะวิ่งไปได้ 50 กิโลเมตร ถ้าระยะทาง 100 กิโลเมตร จะใช้เวลาวิ่ง 2 ชั่วโมง ต้นทาง ต้นทาง ปลายทาง ปลายทาง รถยนต์ A รถยนต์ B เส้นทางการเดินรถยนต์ A และรถยนต์ B ที่มีความเร็วไม่เท่ากัน 300 กิโลเมตร ป.6
  • 30.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตัวอย่าง รถยนต์แต่ละคันอาจวิ่งด้วยความเร็วไม่เท่ากัน รถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หมายความว่า 1 ชั่วโมง จะวิ่งไปได้ 50 กิโลเมตร ถ้าระยะทาง 100 กิโลเมตร จะใช้เวลาวิ่ง 2 ชั่วโมง (ต่อ) รถยนต์ A วิ่งด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถยนต์ B วิ่งด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะทางจากต้นทางไปถึงปลายทางของรถยนต์ทั้ง 2 คันเท่ากันคือ 400 กิโลเมตร และเส้นทางของรถยนต์ B มีจุดจอด P โดยรถยนต์ทุกคัน ที่ผ่านจุดนี้จะต้องจอดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง การหาเวลาที่รถยนต์ทั้ง 2 คันต้องเดินทางจากต้นทางไปยังปลายทางจะทำได้ ดังนี้ รถยนต์ A ไม่มีจุดจอด ใช้เวลาเท่ากับ 400 กิโลเมตร/50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง = 8 ชั่วโมง รถยนต์ B มีจุดจอดหนึ่งจุด ใช้เวลาวิ่งจากจุดต้นทางไปยังจุดจอดเท่ากับ 300/100 = 3 ชั่วโมง ใช้เวลาจอด 1 ชั่วโมง ใช้เวลาวิ่งจากจุดจอดไปยังปลายทางเท่ากับ 100/100 = 1 ชั่วโมง ดังนั้น เวลาที่รถยนต์ B วิ่งจากจุดต้นทางไปยังปลายทาง คือ 3+1+1 = 5 ชั่วโมง รถยนต์ A รถยนต์ B ป.6
  • 31.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การแก้ปัญหาในบางเรื่องที่มีความซับซ้อน ต้องมีการทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เราอาจนำเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์มาใช้งานได้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถทำงานซ้ำ ๆ ได้ดี และทำงานตามโปรแกรมได้อย่างถูกต้อง โดยอาจเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับงานมาใช้ หรือเขียนโปรแกรมขึ้นมาใช้งานเอง ซึ่งการออกแบบโปรแกรมนั้น จะต้องออกแบบแนวทางการแก้ปัญหาให้ครบถ้วนทุกกรณี เช่น การพัฒนาโปรแกรมสำหรับคำนวณเวลาที่ใช้ในการเดินทาง โดยให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลระยะทางกับความเร็วในการเดินทางเข้าไป แล้วให้คอมพิวเตอร์คำนวณเวลาที่ต้องใช้ออกมา ในการออกแบบโปรแกรมนั้น จะต้องรับข้อมูลทั้ง 2 ค่า เข้ามาเก็บในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ และเมื่อประมวลผลจะเก็บไว้ในหน่วยความจำเช่นกัน โดยข้อมูลต่าง ๆ จะเก็บไว้ในตัวแปร ถ้าให้ตัวแปร S แทนระยะทาง ตัวแปร V แทนความเร็ว และตัวแปร T แทนเวลา การประมวลผลสามารถเขียนวิธีการได้ ดังนี้ เริ่มต้น 1. รับค่าระยะทางมาเก็บใน S 2. รับค่าความเร็วมาเก็บใน V 3. คำนวณเวลาโดย T = S V 4. แสดงผลเวลา T จบ ป.6
  • 32.เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 + - x นักเรียนแสดงวิธีคิดและตอบคำถามจากสถานการณ์ ต่อไปนี้ รถประจำทาง 2 คัน ต้องเดินทางจากต้นทางไปยังปลายทาง มีระยะทางเท่ากัน คือ 180 กิโลเมตร โดยจะใช้คนละเส้นทางกัน ในแต่ละเส้นทางจะมีจุดจอด P รถต้องจอด 20 นาที และจุดจอด W รถต้องจอด 15 นาที รถคันที่ 1 (เส้นทางสีน้ำเงิน) วิ่งด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถคันที่ 2 (เส้นทางสีแดง) วิ่งด้วยความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีเส้นทาง ดังภาพ กิจกรรมที่ 1.4 คำนวณการเดินทาง รถประจำทางคันที่ 1 ใช้เวลาเดินทางเท่าไร รถประจำทางคันที่ 2 ใช้เวลาเดินทางเท่าไร รถประจำทางคันใดไปถึงปลายทางได้เร็วที่สุด และเร็วกว่ากี่นาที ป.6
  • 33.จบหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ป.6