นิทานพื้นบ้าน

0

Presentation Transcript

  • 1.ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ นิทานพื้นบ้าน
  • 2.มาเรียนรู้เกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านกันเถอะ
  • 3.ความเป็นมาของนิทานพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้านเป็นเรื่องเล่าที่เล่าสืบต่อกันมา ดั้งเดิมนั้นถ่ายทอดกันด้วยมุขปาฐะ (การเล่าปากต่อปากกันมา การบอกเล่าต่อๆกันมา โดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์) แต่ก็มีอยู่มากที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร นิทานพื้นบ้านต้องเล่าด้วยถ้อยคำธรรมดา ภาษาชาวบ้านทั่วๆไป นิทานพื้นบ้าน เป็นเรื่องเล่าต่อๆกันมาช้านานหลายชั่วอายุคน ไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นคนเล่าดั้งเดิม
  • 4.๑. ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก นิทานพื้นบ้านไทย ๔.
  • 5.ภาคใต้ ในท้องถิ่นต่างๆ ๓. ๕. ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒.
  • 6. นิทาน ภาคเหนือมักมีนิทานประเภทเล่าความเป็นมาของสถานที่หรือนิทานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจำนวนมาก ส่วนใหญ่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าหรือความเป็นมาของสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธประวัติ เช่น · การสร้างเมืองและที่มาของชื่อเมือง · การสร้างพระธาตุ เจดีย์ เป็นนิทานประเภทอธิบายสาเหตุของสิ่งต่างๆ บางเรื่องก็ยังมีเรื่องของพระพุทธเจ้าเข้าไปเกี่ยวข้อง
  • 7.ภาคเหนือ อ่านนิทาน
  • 8. นิทานเรื่อง เล่าว่าเดิมสุนัขไม่มีชื่อ จึงไปขอให้พระพุทธเจ้า ตั้งชื่อให้ พระพุทธเจ้าตั้งชื่อให้ว่า “คําผีหลี้” ซึ่งแปลว่าทองคําที่สวยงามน่ารัก มันภูมิใจมาก จึงถามพระพุทธเจ้าซ้ำอีกหลายครั้งว่ามันชื่ออะไร เพื่อจะได้ฟังชื่ออันไพเราะของมัน บ่อยๆ พระพุทธเจ้ารําคาญจึงบอกว่ามันชื่อหมา ตั้งแต่นั้นมาสุนัขจึงมีชื่อเรียกว่า หมา
  • 9.พระพุทธเจ้าตั้งชื่อสุนัข ข้อคิด มารยาทเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรมี/ ความเป็นมาของชื่อสุนัข
  • 10. นิทานภาคตะวัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน มักมีนิทานที่กล่าวถึง ความแห้งแล้ง การขอฝนและบทบาทของแถนซึ่งชาว อีสานเชื่อว่าเป็นเทวดาที่มีอำนาจเหนือชีวิตมนุษย์
  • 11.ออกเฉียงเหนือ อ่านนิทาน
  • 12. นิทานเรื่อง นิทานเรื่องพญาคันคาก (คางคก) กล่าวถึงการที่ โลกมนุษย์แห้งแล้ง เพราะแถนไม่ยอมให้ฝนตก พญาคันคากได้นํากองทัพสัตว์ต่างๆ เช่น มด ปลวก เขียด อึ่งอ่าง จั๊กจั่น ฯลฯ เดินทางขึ้นไปบนฟ้า เพื่อไปรบกับพญาแถน พญาคันคากมีชัยชนะเหนือ พญาแถน พญาแถนจึงต้องยอมให้ฝนแก่โลกมนุษย์ นิทานเรื่องนี้สัมพันธ์กับประเพณี จุดบั้งไฟขอฝนของชาวอีสาน ซึ่งเชื่อว่าการจุดบั้งไฟบูชาพญาแถนจะช่วยให้ฝนตก
  • 13.พญาคันคาก (คางคก) ข้อคิด ความเป็นอยู่ของคนอีสาน ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป
  • 14. นิทาน นิทานประจำท้องถิ่นอธิบายที่มาหรือตํานานสถานที่และสิ่งต่างๆ ในท้องถิ่นภาคกลางที่รู้จักกันดีคือ เรื่องพญากงพญาพาน หรือตํานานการสร้างพระปฐมเจดีย์ นิทานอีก เรื่องหนึ่งที่รู้จักกันแพร่หลายคือ เรื่องไกรทอง
  • 15.ภาคกลาง อ่านนิทาน
  • 16. เนื้อเรื่องกล่าวถึงพญาชาลวัน จระเข้ที่มีคาถาอาคมอาศัยอยู่ในถ้ำใต้น้ำที่เมืองพิจิตร มีภรรยาสองคนคือนางวิมาลาและนางเลื่อมลายวรรณ วันหนึ่งพญาชาลวันออกจากถ้ำเพราะอยากกินเนื้อมนุษย์ เมื่อเห็นนางตะเภาแก้วและนางตะเภาทองกำลังเล่นน้ำ เกิดความเสน่หาจึงตรงเข้าไปคาบนางตะเภาทองไปยังถ้ำใต้น้ำ สร้างความไม่พอใจให้ภรรยาทั้งสอง ฝ่ายเศรษฐีบิดาของนางตะเภาทองคิดว่าลูกสาวเสียชีวิตจึงป่าวประกาศให้สินบนแก่ผู้ที่ฆ่าชาลวันได้ แต่ไม่มีผู้ใดทำสำเร็จ นิทานเรื่อง
  • 17.ไกรทอง ไกรทองซึ่งเป็นชาวเมืองนนบุรีคุมเรือไปค้าขายที่เมืองพิจิตร ทราบข่าวจึงขันอาสาและสามารถปราบชาลวันได้สำเร็จและช่วยนางตะเภาทองกลับมาได้ เศรษฐีจึงปูนบำเหน็จรางวัลและยกลูกสาวทั้งสองให้ไกรทอง ต่อมาไกรทองหวนคิดถึงนางวิมาลาเพราะหลงใหลความงามของนางจึงได้นางเป็นภรรยาอีกคน จากนั้นก็พาขึ้นอาศัยอยู่ด้วยกันบนบก สร้างความไม่พอใจให้นางตะเภาแก้วตะเภาทองทะเลาะตบตีจนนางวิมาลาโมโหกลายร่างเป็นจระเข้กลับลงไปยังถ้ำใต้น้ำดังเดิม ข้อคิด แม้ตนจะเก่งกล้าสามารถและวิเศษขนาดไหน ย่อมมีผู้ที่เหนือกว่าดังคำที่ว่า “เหนือฟ้าก็ยังมีฟ้า”
  • 18. นิทานภาคตะวันออกและ ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก ซึ่งมีชายหาดและเกาะแก่งต่างๆ ในทะเลอ่าวไทยก็มักมีนิทานที่สัมพันธ์กับชื่อและลักษณะภูมิประเทศชายฝั่งทะเล
  • 19.ภาคตะวันตก อ่านนิทาน
  • 20. นิทานเรื่อง นิทานเรื่องตาม่องล่าย ซึ่งอธิบายชื่อของภูเขา เกาะแก่ง และแหลมบริเวณจังหวัดชลบุรีและตราดในภาคตะวันออก และ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในภาคตะวันตก โดยเล่าว่า ตาม่องล่ายกับยายรําพึงทะเลาะกันเพราะ ตกลงกันไม่ได้ว่าจะยกลูกสาวให้แก่ผู้ใด
  • 21.เขาตาม่องล่าย ทั้งสองคนจึงขว้างปาข้าวของใส่กัน ข้าวของเหล่านั้น กลายเป็นแหลมและเกาะต่าง ๆ เช่น งอบกระเด็นไปตกเป็นแหลมงอบ และกระบุงกลายเป็น เกาะกระบุงในจังหวัดตราด ตาม่องล่ายฉีกลูกสาวเป็นสองซีก ซีกหนึ่งกลายเป็นเกาะนมสาว ในจังหวัดชลบุรี ส่วนอีกซีกหนึ่งเป็นเกาะนมสาวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุดท้ายตาม่องล่าย และยายรําพึงกลายเป็นเขาตา ม่องล่ายและเขาแม่รําพึงในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ข้อคิด เราไม่ควรบังคับใครให้ทำตามใจเรา ควรให้เขาตัดสินใจและทำในสิ่งที่เขาถนัดหรือชอบ
  • 22. นิทาน นิทานภาคใต้หลายเรื่องกล่าวถึงที่มาของภูเขา เกาะ และชายหาดต่าง ๆ เช่น เกาะหนู เกาะแมวในจังหวัดสงขลา นอกจากนี้ยังมีนิทานที่กล่าวถึงกลุ่มคนจีนและคนมุสลิม นิทานที่แพร่หลายเรื่องหนึ่งคือ เรื่องเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
  • 23.ภาคใต้ อ่านนิทาน
  • 24. นิทานเรื่อง นานมาแล้วมีพ่อค้าคนหนึ่งคุมเรือสำเภา จากเมืองจีนมาค้าขายที่เมืองสงขลา เมื่อขายสินค้าหมดจะเดินทาจากสงขลากลับเมืองจีนประจำ วันหนึ่งขณะที่เดินซื้อสินค้าอยู่นั้น พ่อค้าได้เห็นหมากับแมวคู่หนึ่ง มีรูปร่างหน้าตาน่าเอ็นดู จึงขอซื้อพาลงเรือไปด้วย
  • 25.เกาะหนูเกาะแมว จึงปรึกษาหาวิธีที่กลับบ้าน หมาได้บอกกับแมวว่า พ่อค้าที่ดวงแก้ววิเศษที่ใครเกาะแล้วจะไม่จมนำ แมวจึงคิดที่จะได้แก้ววิเศษนั้นมาครอบครอง หมากับแมวอยู่ในเรือนานๆ ก็เกิดความเบื่อหน่ายและอยากกลับไปอยู่บ้านที่สงขลา
  • 26. นิทานเรื่อง ครั้นเรือกลับมาที่สงขลาอีกหลายครั้ง หนูจึงลอบเข้าไปขโมยดวงแก้ววิเศษของพ่อค้ามาอมไว้ในปาก จึงไปข่มขู่หนูให้ขโมยให้และอนุญาติให้หนูขึ้นฝั่งไปด้วย
  • 27.เกาะหนูเกาะแมว ขณะที่ว่านน้ำมาด้วยกัน หนูซึ่งว่ายน้ำมาก่อนก็นึกขึ้นได้ว่าดวงแก้วที่ตนอมไว้ในปากนั้นมีค่ามหาศาล เมื่อถึงฝั่งหมากับแมวคงแย่งเอาไป จึงคิดที่จะหนีหมากับแมวขึ้นฝั่งไปตามลำพัง ดวงแก้วจะได้เป็นของตนเองแต่เพียงผู้เดียว แล้วทั้งสาม หมา แมว และหนูจึงหนีลงจากเรือว่ายน้ำจะไปขึ้นฝั่งที่หน้าเมืองสงขลา
  • 28. นิทานเรื่อง เมื่อดวงแก้ววิเศษจมนำไปทั้งหนูและแมวต่างหมดแรงก็ไม่อาจว่ายน้ำต่อไปได้ สัตว์ทั้งสองจึงจมน้ำตาย กลายเป็น “เกาะหนูแกะแมว” อยู่ที่อ่าวหน้าเมืองสงขลา และไม่ทันระวังตัว ดวงแก้ววิเศษที่อมไว้ในปากก็ตกลงจมหายไปในทะเล
  • 29.เกาะหนูเกาะแมว ส่วนหมาก็ตะเกียกตะกายว่ายน้ำจนไปถึงฝั่ง แต่ด้วยความเหน็ดเหนื่อย จึงขาดใจตายกลายเป็นหินที่เรียกว่า “เขาตังกวน” เป็นภูเขาตั้งอยู่ริมอ่าวสงขลา ส่วนดวงแก้ววิเศษที่หล่นจากปากหนูก็แตกละเอียดเป็นหาดทราย เรียกสถานที่นี้ว่า “หาดทรายแก้ว” ตั้งอยู่ทางเหนือของอ่าวส่งขลา ข้อคิด “อย่าโลภมาก ให้มีความสามัคคีและแบ่งปันเอื้อเฟื้อต่อกัน”
  • 30. คุณค่าของ ๓. ให้ข้อคิดและคติ ในการดำเนินชีวิต ๑. ให้ความเพลิดเพลิน ๒. ให้กำลังใจ ในการดำเนินชีวิต
  • 31.นิทานพื้นบ้าน ๕. ให้คำอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติหรือที่มาของสถานที่ และสิ่งต่างๆ ในท้องถิ่น ๔. ให้ความสำคัญแก่วีรบุรุษประจำถิ่นหรือประจำชาติ
  • 32. แบบ ๑. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของนิทานพื้นบ้าน ก.เรื่องเล่าที่สืบต่อกันมา ข.ระบุชื่อผู้แต่งไว้ชัดเจน ค.ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ง.โครงเรื่องไม่ซับซ้อนมีคติเตือนใจ ๒. นิทานพื้นบ้านมักใช้ภาษาอย่างใดการเล่าเรื่อง ก.ใช้ถ้อยคำธรรมดา ข.ใช้ภาษาร้อยแก้ว ค.ส่วนมากมักเล่าแบบการท่องอาขยาน ง.ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข. ๓. ลักษณะที่สำคัญของนิทานพื้นบ้านคือข้อใด ก.แสดงความคิดความเชื่อของชาวบ้าน ข.มีการเล่าด้วยปากต่อปากมาก่อน ค.เล่าด้วยภาษร้อยแก้ว ง.ถูกทุกข้อ
  • 33.ฝึกหัด ๔. ตำนานพื้นบ้านจะกล่าวถึงเรื่องใด ก.เรื่องราวในอดีตแต่ละท้องถิ่น ข.เรื่องราวในปัจจุบัน ค.เรื่องราวที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ง.เหตุการณ์ต่อเนื่องจากอดีต ๕. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของนิทานพื้นบ้าน ก.ให้ข้อคิดในการดำเนินชีวิต ข.ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ค.ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ ง.ให้ความสำคัญแก่วีรบุรุษประจำท้องถิ่นหรือประจำชาติ
  • 34.เฉลย๑.ข ๒.ง ๓.ง ๔.ก ๕.ค แหล่งที่มา กระทรวงศึกษาธิการ,วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ (๒๕๕๔),สกสค. ลาดพร้าว โรงพิมพ์ นิทานเกาะหนูเกาะแมว. 2561. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://online.anyflip.com/hnmrq/zdpi/mobile/index.html. [สืบค้นวันที่ 29 ตุลาคม 2564]. (ม.ม.ป.)
  • 35.จัดทำโดย นางสาววาสนา นนทสวัสดิ์ รหัสนักศึกษา ๖๒๐๖๕๑๐๐๐๓ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
  • 36.