PPT Unit 5 Dysfunctional Labor (2564)

0

Presentation Transcript

  • 1.UNIT 5 Nursing care for labor and birth at risk Dysfunctional Labor: Dystocia       Power Physical Aj. SUREE NUNG-ALEE
  • 2.Dysfunctional labor
  • 3.Content. Abnormality of Power Abnormality of Passage Abnormality of Passenger Psychological condition Physical condition Position of the mother
  • 4.Obj. บอกสาเหตุ และปัจจัยส่งเสริมผู้คลอดที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับปัจจัยการคลอดได้ บอกผลกระทบของการมีความผิดปกติเกี่ยวกับปัจจัยการคลอดที่มีต่อการคลอด ผู้คลอดและทารกได้ บอกแนวทางการดูแลรักษาผู้คลอดและทารกที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับปัจจัยการคลอดได้ บอกบทบาทพยาบาลผู้คลอดและทารกที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับปัจจัยการคลอดได้
  • 5.Obj. ประเมินและวางแผนการพยาบาลต่อผู้คลอดและทารกที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับปัจจัยการคลอดได้ ตระหนักถึงความสำคัญของการพยาบาลผู้คลอดและทารกที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับปัจจัยการคลอดได้ ประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลผู้คลอดและทารกที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับปัจจัยการคลอดไปสู่การปฏิบัติได้
  • 6.Normal labour GA 37-42 week Vertex presentation, OA Without Complications Vaginal delivery Without operative obstetrics Operative Obstetrics Operative Obstetrics < 24 hours
  • 7.Dysfunctional labor: Dystocia Definition. การคลอดยาก (Dysfunctional Labor/Dystocia or Difficult labor) หมายถึง การคลอดผิดปกติซึ่งมีลักษณะการก้าวหน้าของการคลอดล่าช้าและไม่ดำเนินไปตาม Labor curve (Abnormally slow progress of labor)
  • 8.Dystocia
  • 9.Cause Abnormality of Power Abnormality of Passage Abnormality of Passenger Psychological condition Physical condition Position of the mother
  • 10.ความผิดปกติของความก้าวหน้าในการคลอด ลักษณะความผิดปกติของความก้าวหน้าในการคลอดตามเกณฑ์ Friedman labor curve Prolongation Disorder Protraction Disorders Arrest Disorders Dysfunction at the second stage of labor
  • 11.Friedman labour curve
  • 12. Prolongation Disorder Prolonged latent phase
  • 13.Prolonged latent phase ครรภ์แรก > 20 ชั่วโมง ครรภ์หลัง > 14 ชั่วโมง
  • 14.Prolonged latent phase
  • 15.Cause of Prolonged latent phase
  • 16. Protraction Disorders - Protracted active phase of dilatation - Protracted descent
  • 17.ในระยะ phase of maximum slope (Cx.dilate 4-7 cm.) ครรภ์แรก ปากมดลูกเปิด < 1.2 ซม./ชม. ครรภ์หลัง ปากมดลูกเปิด < 1.5ซม./ชม. Protracted active phase of dilatation
  • 18.Protracted active phase
  • 19.Cause of Protracted active phase
  • 20.คือ การที่ส่วนนำของศีรษะทารกเคลื่อนต่ำลงช้ากว่า ครรภ์แรก < 1 ซม./ชม. ครรภ์หลัง < 2 ซม./ชม. Protracted descent
  • 21.Protracted descent
  • 22. Arrest Disorders Prolonged deceleration phase Secondary arrest of dilation Arrest of descent Failure of descent
  • 23.คือ ระยะปากมดลูกเปิด 8- 10 ซม.(deceleration phase ) ใช้เวลานาน ครรภ์แรก > 3 ชม. ครรภ์หลัง > 1 ชม. Prolonged deceleration phase
  • 24.ปากมดลูกเปิดขยายมาปกติแล้วมาหยุดลงหรือไม่มีการเปิดขยายเพิ่มขึ้นเลยภายในเวลา 2 ชั่วโมงในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว (Phase of maximum slope) โดยครรภ์แรกและครรภ์หลังใช้เกณฑ์เดียวกัน Secondary arrest of dilation
  • 25.Arrest Disorders
  • 26.Arrest of descent หมายถึง ส่วนนำมีการเคลื่อนต่ำอยู่ในเกณฑ์มาก่อนแล้วไม่เคลื่อนต่ำเพิ่มขึ้นเป็นเวลา > 1 ชั่วโมง โดยครรภ์แรกและครรภ์หลังใช้เกณฑ์เดียวกัน
  • 27.ไม่มีการเคลื่อนต่ำของส่วนนำในระยะ deceleration Phase หรือในระยะที่ 2 ของการคลอด ระดับส่วนนำไม่เคลื่อนต่ำลงมากกว่าระดับ Ischia spine (station เป็น -) การชะงักงันของการคลอดนี้ส่วนใหญ่เนื่องมาจาก ภาวะ CPD Failure of descent
  • 28.Arrest Disorders
  • 29.Dysfunction at the 2nd stage of labor Prolonged second stage คือ ระยะตั้งแต่ปากมดลูกเปิดหมดจนถึงทารกคลอด ครรภ์แรก ≥ 2 ชม. ครรภ์หลัง ≥ 1 ชม.
  • 30.Conclusions.
  • 31.Question
  • 32.ใบงาน Partograph (Dystocia) Exp. Date: 30 กันยายน 2564 เวลา 17.00 น.
  • 33.1. Abnormality of Power
  • 34.1. Abnormality of power Power (แรง) แรงจากการหดรัดตัวของมดลูก แรงดันของถุงน้ำคร่ำและส่วนนำของทารก แรงเบ่งของมารดา
  • 35.1. Abnormality of power สาเหตุ Cephalopelvic disproportion (CPD) Malpresentation/Position False labour pain Other: Psychological condition, Chorioamnionitis, Sedative
  • 36.1. Abnormality of power 1. การหดรัดตัวของมดลูกที่ผิดปกติ แบ่งออกเป็น 1.1 Hypotonic uterine dysfunction มดลูกหดรัดตัวน้อยกว่าปกติ ( หมายถึง การหดรัดตัวของมดลูกที่มีแรงดันในมดลูก < 30 mmHg หรือระยะของการหดรัดตัวของมดลูก > 5 นาที หรือทั้ง 2 อย่าง มักเกิดขึ้นในระยะ Active phase
  • 37.1.1 Hypotonic uterine dysfunction
  • 38.Cause 1. กล้ามเนื้อมดลูกมีการยืดขยายมาก เช่น ครรภ์แฝด ทารกตัวโต เนื้องอกที่มดลูก กล้ามเนื้อมดลูกผิดปกติ 2. ขาดการกระตุ้นให้เกิดเฟอร์กูสันรีเฟล็กซ์ เนื่องจากส่วนนำไม่กระชับกับปากมดลูกหรือพื้นเชิงกราน อาจเนื่องจาก สัดส่วนของส่วนนำไม่สัมพันธ์กับช่องเชิงกราน (C.P.D.) ส่วนนำหรือท่าทารกผิดปกติ ทารกตัวเล็ก
  • 39.Cause 1.3 ปัจจัยที่ทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี - ได้รับยาบรรเทาความปวดมากเกินไป - มีภาวะเครียดทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ - มีการติดเชื้อในโพรงมดลูกและน้ำคร่ำ - กระเพาะปัสสาวะเต็ม
  • 40.Complications ตกเลือดในระยะหลังคลอดเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี มารดาอ่อนเพลีย และอาจเกิดภาวะขาดน้ำเนื่องจากระยะเวลาในการคลอดยาวนาน การติดเชื้อในโพรงมดลูกเนื่องจากถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอดเป็นเวลานาน
  • 41.Nursing 1. ถ้าปากมดลูกยังเปิดไม่หมด ถุงน้ำทูนหัวยังไม่แตก ส่วนนำลงช่องเชิงกรานแล้ว กระตุ้นให้ผู้คลอดลุกเดิน หรือให้นอนตะแคงซ้ายศีรษะสูง หรือให้นอนศีรษะสูง ทั้งนี้ เพื่อให้น้ำหนักทารกและมดลูกกดลงที่ปากมดลูก เป็นการกระตุ้นเฟอร์กูสันรีเฟล็กซ์
  • 42.Treatment 2. ในกรณีถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก และส่วนนำลงสู่อุ้งเชิงกรานแล้ว ให้เจาะถุงน้ำคร่ำ ใส่สายสวนเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อวัดความดัน และติด Fetal scalp electrode บันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ หลังจากนั้นประมาณ 1 ชั่วโมง ถ้าการหดรัดตัวของมดลูกไม่ดีขึ้น ให้พิจารณาให้ออกซิโตซิน (Oxytocin)
  • 43.Treatment 2. การให้ออกซิโตซิน โดยทั่วไปแล้วมดลูกจะตอบสนองต่อออกซิโตซินภายใน 3 – 5 นาที และอยู่นานสูงสุด 40 นาที ถ้ามดลูกหดรัดตัวนานเกิน 90 นาที หรือหดรัดตัวมากกว่า 5 ครั้งใน 10 นาที หรือทารกมีภาวะขาดออกซิเจน ให้หยุดให้ออกซิโตซินทันทีหยุดให้ออกซิโตซิน ดูแลจัดท่านอนตะแคงซ้าย ให้ออกซิเจน mask with bag ให้สารน้ำและรายงานแพทย์
  • 44.Nursing 3. กระตุ้นให้ผู้คลอดถ่ายปัสสาวะทุก 2-3 ชม. หรือสวน ในรายที่ถ่ายไม่ออก 4. ดูแลให้ผู้คลอดได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ 5. ดูแลมารดาในรายที่เจาะถุงน้ำ และติดตามอัตราการเต้นของ หัวใจทารกหลังเจาะถุงน้ำคร่ำ 6. การดูแลหลังคลอด ควรคลึงมดลูกบ่อยๆ เพื่อให้มดลูกหดรัดตัวดีเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด 7. ดูแลความสุขสบายทั่วไป
  • 45.1.2 Hypertonic uterine dysfunction Hypertonic uterine dysfunction มดลูกหดรัดตัวมากกว่าปกติ หมายถึง การหดรัดตัวของมดลูก > 50 mmHg หรือ Interval < 2 นาที หรือทั้ง 2 อย่างร่วมกัน พบได้บ่อยในระยะ Latent ซึ่งจะพบว่ามดลูกหดรัดตัวมีความตึงตัวสูง แต่ไม่แรงมาก ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพในการเปิดขยายของปากมดลูก
  • 46.1.2Hypertonic uterine dysfunction
  • 47.Complications ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน เนื่องจากเลือดมาเลี้ยงมดลูกน้อยลง ถ้าไม่ได้รับการแก้ไข ทารกอาจเสียชีวิตได้ มารดามีอาการเจ็บครรภ์มากกว่าปกติ มารดาอ่อนเพลีย ขาดน้ำและมีภาวะเลือดเป็นกรด เนื่องจากเจ็บครรภ์มาก พักผ่อนน้อย การคลอดล่าช้า
  • 48.Treatment ถ้ามีภาวะทารกขาดออกซิเจน ผู้คลอดต้องได้รับการผ่าตัดทันที ให้ยานอนหลับ และยาบรรเทาอาการปวด
  • 49.Nursing Monitors FHS หรือประเมิน FHS ทุก 5 นาที ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกทุก 5 - 15 นาที ถ้ามารดาได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ให้หยุดยาทันที จัดท่านอนตะแคงซ้าย เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกมากขึ้น ให้ออกซิเจน เพื่อเพิ่มแรงดันของออกซิเจนในเลือด ช่วยป้องกันไม่ให้ทารกขาดออกซิเจน ดูแลให้มารดาได้รับยาแก้ปวด ตามแผนการรักษา
  • 50.Nursing ถ้ามดลูกหดรัดตัวแรงมาก ไม่คลายอยู่เป็นเวลานาน ภายหลังจากให้ยาแก้ปวดแล้วยังไม่ดีขึ้น ยามีผลทำให้ความดันโลหิตต่ำลง อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ สังเกตอาการแสดงมดลูกใกล้แตก (Threatened uterine ruptured) ได้แก่ ผู้คลอดดิ้นทุรนทุรายมี Bandl’s ring ให้กำลังใจ และปลอบโยนผู้คลอด
  • 51.1.3 Localized abnormalities การหดรัดตัวของมดลูกที่ผิดปกติเฉพาะที่ เกิดจากที่มดลูกส่วนบนและส่วนล่างมีการหดรัดตัวไม่ประสานกัน ทำให้เกิดพยาธิสภาพ 3 อย่าง คือ Tetanic contraction (มดลูกหดรัดตัวแบบไม่คลาย) - เป็น Pathological retraction ring (Bandl’s ring) สามารถมองเห็นรอยคอดตามขวางของหน้าท้อง และอยู่ต่ำกว่าระดับสะดือเล็กน้อย ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้มดลูกแตก จึงต้องเตรียมผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องโดยด่วน
  • 52.Tetanic contraction
  • 53.Incoordinated contraction (มดลูกหดรัดตัวไม่ประสานกัน) คือ มดลูกหดรัดตัวถี่และแรง แต่ไม่สม่ำเสมอ ใยกล้ามเนื้อมดลูกทำงานไม่ประสานกัน โดยมดลูกมีการหดรัดตัวส่วนกลางและส่วนล่าง > ส่วนบน ทำให้การคลอดไม่ก้าวหน้า 1.3 Localized abnormalities
  • 54.Constriction ring (มดลูกหดรัดตัวเป็นวงแหวน) การที่มดลูกหดรัดตัวผิดปกติ ซึ่งเกิดที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของมดลูกก็ได้ และวงแหวนที่เกิดขึ้นนั้นไม่เปลี่ยนตำแหน่ง และจะรัดตัวทารก ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนต่ำลงมาได้ 1.3 Localized abnormalities
  • 55.Constriction ring
  • 56.1. Abnormality of power 2. การคลอดยากเนื่องจากความผิดปกติของแรงเบ่ง (Ineffective maternal bearing down effort) แรงจากการเบ่ง (force from voluntary muscle/bearing down effort) การคลอดยากเนื่องจากแรงเบ่งไม่เพียงพอ (poor bearing down effort) หรือเบ่งคลอดไม่ถูกวิธีจะส่งผลให้ระยะที่สองของการคลอดยาวนานได้
  • 57.1.Abnormality of power
  • 58.Cause เบ่งไม่ถูกวิธี หมดแรงเนื่องจากขาดน้ำ ขาดอาหาร พักผ่อนไม่เพียงพอ มีความพิการของร่างกายหรือมีโรคประจำตัว ให้ยาระงับปวด ยานอนหลับ หรือยาชาเฉพาะที่ มากเกินไป ไม่ให้ความร่วมมือในการเบ่งคลอด
  • 59.Nursing แนะนำการเบ่งคลอดที่ถูกวิธีผู้คลอดที่ไม่มีข้อห้าม ไม่ควรให้ผู้คลอดเบ่งคลอดถ้าปากมดลูกยังเปิดไม่หมด สอนแนะนำเทคนิคการหายใจเพื่อผ่อนคลายความเจ็บปวด ดูแลผู้คลอดให้ได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ
  • 60.
  • 61.2. Abnormality of Passage
  • 62.
  • 63.2. Abnormality of Passage 2. ความผิดปกติของช่องทางคลอด 2.1 กระดูกเชิงกรานแคบหรือผิดสัดส่วน (pelvic contraction) หมายถึง กระดูกเชิงกรานที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง หรือ หลายตำแหน่งร่วมกัน มีเส้นผ่านศูนย์กลางสั้นกว่าปกติ ทำให้ ทารกที่มีขนาดปกติไม่สามารถเคลื่อนผ่านหรือคลอดออกมาได้
  • 64.Pelvic contraction 1. Inlet contraction ช่องทางเข้าเชิงกรานแคบ หมายถึง ช่องเข้าความกว้างในแนวหน้า-หลัง (A-P diameter) หรือเส้นผ่านศูนย์กลางของช่องทางเข้าซึ่งวัดจาก diagonal conjugate แล้วลบ 1.5-2 ซม. เรียกว่า Obstetric/True Conjugate < 10 ซม. (ปกติ 10.5 ซม.) หรือวัดในแนวขวาง Transverse diameter < 12 ซม. (ปกติ 13.5 ซม.)
  • 65.1. Inlet contraction
  • 66.2. Mid-pelvis contraction ส่วนกลางของเชิงกรานแคบ หมายถึง ระยะห่างของIschial spine คือ Interspinous diameter < 9 ซม. (ปกติ 10.5 ซม.) ซึ่งผลจาก Ischial spine ยื่นแหลมออกมามากจะทำให้เกิด transverse arrest of fetal head ในตำแหน่งที่ศีรษะหมุน (Internal rotation) จะส่งผลให้การหมุนเป็นท่า Occiput anterior ได้ยาก Pelvic contraction
  • 67.2. Mid-pelvis contraction
  • 68.Pelvic contraction 3. Outlet contraction ช่องทางออกเชิงกรานแคบ หมายถึง ระยะระหว่าง Intertuberous diameter ≤ 8 ซม. (ปกติ 10 ซม.) และมุมใต้กระดูกหัวเหน่า (subpubic angle) แคบ < 85 องศา
  • 69.3. Outlet contraction
  • 70.Pelvic contraction 4. General pelvic/Contracted pelvic เชิงกรานแคบทุกส่วน หมายถึง ค่าที่ประมาณไว้ของ ช่องเชิงกรานทุกส่วนมีค่าน้อยกว่าที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งสาเหตุมาจากการได้รับอุบัติเหตุหรือโรคกระดูกบางชนิด โรคโปลิโอ อาการที่อาจพบร่วมด้วย เช่น ลักษณะหลังโก่ง-หลังคด
  • 71.Cause การเจริญเติบโตของเชิงกรานผิดปกติ ฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมบูรณ์ โรคกระดูก เช่น โรคกระดูกอ่อน (ricket) วัณโรคหรือเนื้องอกของกระดูกเชิงกราน กระดูกเชิงกรานแตกหรือร้าวจากอุบัติเหตุหรือกระดูกเชิงกรานหัก
  • 72.Cause ความพิการจากกระดูกสันหลังหรือขามาแต่ในวัยเด็ก ทำให้รูปลักษณะกระดูกเชิงกรานเจริญผิดปกติ เชิงกรานเจริญไม่เต็มที่ ถ้าอายุน้อยกว่า 18 ปี เชิงกรานที่ยืดขยายลำบาก ถ้าอายุมากกว่า 35 ปี กระดูกเชิงกรานรูปผิดปกติ (pelvic abnormalities) เช่น กระดูกเชิงกรานที่รูปร่างผิดปกติ ร่วมกับกระดูกสันหลังโก่งหรือหลังค่อม
  • 73.2.2 soft passage dystocia 2. ช่องทางคลอดส่วนอื่นที่ไม่ใช่กระดูก เช่น ปากช่องคลอด ช่องคลอด และปากมดลูก
  • 74.ผลต่อมารดา ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเข้าสู่ระยะคลอด เนื่องจากส่วนนำไม่สามารถผ่านเข้าสู่ช่องเชิงกรานได้ ส่งผลให้มีการติดเชื้อของเยื่อหุ้มทารก มดลูกส่วนกลางถูกยืดออกมากกว่าปกติ เนื่องจากส่วนของศีรษะทารกที่ลอยอยู่เหนือ อุ้งเชิงกรานมาดันไว้ทำให้ผนังส่วนนี้โป่งออกและบางมาก ถ้ามองจากบริเวณหน้าท้องมารดาจะเห็นรอยคอด (Bandl’s ring)
  • 75.ผลต่อมารดา ส่วนนำที่ลอยอยู่อาจไปกดช่องทางคลอดส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นเวลานาน จนบริเวณนั้นขาดเลือดมาเลี้ยง เกิดเนื้อตายบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนของช่องทางคลอด และกลายเป็นรูรั่ว (Fistula) ตามตำแหน่งต่าง ๆ เช่น Vesico – vaginal fistula เป็นต้น เกิดการฉีกขาดของฝีเย็บมากขึ้น เนื่องจากช่องทางออกของเชิงกรานแคบ ระยะของการคลอดยาวนาน ส่งผลให้มารดาอ่อนเพลียเกิดภาวะขาดน้ำ ผู้คลอดวิตกกังวล เครียด
  • 76.ผลต่อทารก การคลอดที่ยาวนาน เกิดภาวะขาดออกซิเจนได้ ทำให้มีการฉีกขาดของเส้นเลือดบริเวณศีรษะทารก จนมีเลือดออกในสมองได้ เกิดเนื้อตายของหนังศีรษะทารก (Scalp necrosis) เนื่องจากถูกกดอยู่ระหว่างกระดูกหัวเหน่า ทำให้หนังศีรษะบริเวณนั้นขาดเลือดมาเลี้ยง สายสะดือพลัดต่ำ เนื่องจากศีรษะไม่ลงช่องเชิงกราน
  • 77.Treatment ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในรายที่ไม่สามารถคลอดทางช่องคลอด หลีกเลี่ยงให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ให้ยาแก้ปวด ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ติดตามความก้าวหน้าในการคลอด
  • 78.Nursing care ดูแลให้ผู้คลอดได้รับสารน้ำตามแผนการรักษา ประเมินสัญญาณชีพ ตรวจดูการหดรัดตัวของมดลูกอัตราการเต้นของหัวใจทารก ประเมินความก้าวหน้าของการคลอด สอนการเบ่งคลอดที่ถูกต้อง และการบรรเทาความเจ็บปวด ในรายที่ไม่สามารถคลอดเองได้ ควรอธิบายให้ผู้คลอดฟัง เตรียมผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
  • 79.
  • 80.3. Abnormality of passenger
  • 81.3.1. ความผิดปกติของส่วนนำ 3.1.1 ทารกมีส่วนนำเป็นท่าก้น (Breech Presentation) ทารกในครรภ์มารดาอยู่ท่า Longitudinal lie และมีส่วนก้นอยู่ในช่องเชิงกรานของมารดา (โดยใช้ sacrum เป็นจุดอ้างอิง (denominator) เสมอ
  • 82.Breech Presentation 1. Complete breech presentation (Flexed breech, Full breech, Double breech) หมายถึง ทารกอยู่ในทรงปกติ แต่กลับเอาก้นลงสู่ช่องเชิงกราน โดยทารกจะอยู่ในท่าที่งอข้อสะโพกทั้ง 2 ข้าง และงอข้อเข่าชิดลำตัว ลักษณะคล้ายขัดสมาธิ
  • 83.Breech Presentation 2. Incomplete breech หมายถึง ทารกอยู่ในลักษณะที่ข้อสะโพกเหยียดขาเพียงหนึ่งข้าง (Single footling) หรือเหยียดทั้ง 2 ข้าง (Double footling) จึงทำให้ขาทารกอยู่ต่ำกว่าก้น
  • 84.Breech Presentation 3. Frank breech presentation หมายถึง ทารกมีส่วนนำเป็นก้นโดยข้อสะโพกจะ flexed และข้อเข่าเหยียด โดยต้นขาจะพับแนบอยู่กับหน้าท้อง ส่วนขาจะเหยียดมักจะแนบไปกับลำตัวหน้าอก หรือหน้าของทารก
  • 85.Question ขข Complete breech Footling breech Frank breech
  • 86.Diag. ตรวจหน้าท้อง First maneuver จะคลำได้ศีรษะทารก ซึ่งแข็งและกลมเรียบ และมี Ballottement อยู่บริเวณยอดมดลูก Second maneuver จะคลำได้หลังทารกอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง และส่วนของแขนขา จะอยู่ด้านตรงข้าม Third maneuver จะคลำได้เป็นก้นค่อนข้างนุ่ม กว้างและไม่เรียบบริเวณหัวหน่าว Fourth maneuver จะตรวจไม่ได้ Cephalic prominence การฟัง จะฟังเสียงหัวใจทารกทางหน้าท้องได้อยู่เหนือระดับสะดือ
  • 87.Diag. ประวัติ เคยคลอดท่าก้น การตรวจ U/S การตรวจด้วย Computed tomography การถ่ายภาพรังสี การตรวจภายในจะพบส่วนนำมีลักษณะนุ่ม ซึ่งตรวจพบอะไรขึ้นอยู่กับชนิดส่วนนำอาจจะคลำได้รูทวารหนัก คลำอวัยวะเพศได้ คลำเท้าทารกได้
  • 88.การเลือกทางคลอดสำหรับทารกท่าก้น 1. ครรภ์เดี่ยว ครบกำหนด และยังไม่เข้าสู่ระยะคลอดให้โอกาสผู้คลอดเลือกทางคลอดเองขณะฝากครรภ์ มีทางเลือกที่แนะนำ คือ ทำการหมุนเปลี่ยนส่วนนำภายนอก (External cephalic version: ECV) กำหนดนัดผ่าตัดคลอด (ก่อนเจ็บครรภ์คลอด)
  • 89.การเลือกทางคลอดสำหรับทารกท่าก้น 2. ท่าก้นในกรณีอื่นๆ นอกเหนือจากข้อ 1 ควรพิจารณาผ่าตัดคลอดกรณีที่ ทารกน้ำหนักตัว >3,500 กรัมขึ้นไป ท่าก้นชนิด Footling หรือ incomplete ทารกมีการเงยของศีรษะ ขนาดของรูปร่างช่องเชิงกรานผิดปกติ และอื่นๆ
  • 90.Treatment 1. External cephalic version : ECV คือ การหมุนทารกทางหน้าท้องมารดา เพื่อเปลี่ยนจากท่าส่วนนำจากก้นเป็นศีรษะ และคลอดท่าหัว
  • 91.ECV 1. อายุครรภ์ก่อน 37 สัปดาห์ (แนะนำอายุครรภ์ 36 สัปดาห์) 2. ส่วนนำยังไม่เข้าช่องเชิงกราน 3. หลังของทารกไม่อยู่ทาง posterior 4. มารดาไม่อ้วน ผนังหน้าท้องไม่หนาหรือตึงเกินไป 5. ปริมาณน้ำคร่ำปกติ ยังไม่มีภาวะน้ำเดิน
  • 92.คุณหมอ หมุนหนูยังไงน้า……..
  • 93.ดูวิดีโอแก้ง่วงกันดีกว่านะครับ
  • 94.External cephalic version : ECV
  • 95.อยากเห็นหนูตอนคลอดหรือยังคะ!!!
  • 96.Assisted Breech Delivery
  • 97.3.1.2. Face presentation หมายถึง ทารกใช้หน้าเป็นส่วนนำโดยที่ศีรษะมีการแหงนมากกว่าปกติ จนท้ายทอย (Occiput) ไปอยู่ชิดกับหลังทารก
  • 98.ท่าของทารก จุดอ้างอิง (denominator) คือ คาง (Mentum = M) MP (Mento – posterior) MA (Mento – anterior) MT (Mento – transverse) 3.1.2. Face presentation
  • 99.Diag. การวินิจที่แน่ชัดต้องทำโดยการตรวจภายในขณะเจ็บครรภ์คลอดเท่านั้น โดยจะคลำได้ส่วนนุ่ม ขรุขระ มีรูปาก ขอบกระดูกเบ้าตา จมูก คาง และกระดูกโหนกแก้ม
  • 100.3.1.2. Face presentation
  • 101.Cause ด้านมารดา เคยคลอดบุตรหลายครั้ง กระดูกเชิงกรานแคบ ด้านทารก ทารกมีขนาดใหญ่ ทารกไม่มีศีรษะ มีก้อนเนื้องอกที่บริเวณคอ กล้ามเนื้อคอของทารกสั้น สายสะดือพันคอหลายรอบ
  • 102.Treatment ในรายที่ไม่มีอุ้งเชิงกรานแคบ มดลูกหดรัดตัวดีและไม่มีภาวะทารกขาดออกซิเจน การดำเนินการคลอดไปได้ด้วยดี ในรายที่ทารกท่า MA ซึ่งสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ แต่ในรายที่ทารกท่า MP จะไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ ยกเว้นทารกตัวเล็กมาก ๆ
  • 103.
  • 104.3.1.3 Brow presentation หมายถึง ทารกที่มีส่วนนำเป็นศีรษะ โดยศีรษะอยู่ในท่าแหงน เล็กน้อย ใช้ sinciput (ส่วนของศีรษะระหว่างของเบ้าตาหรือ glabella และขม่อมหน้า) เป็นส่วนนำ การดูแลจะเหมือนการใช้หน้าเป็นส่วนนำ
  • 105.3.1.3 Brow presentation การวินิจฉัย โดยการตรวจหน้าท้องจะคลำได้ทั้งท้ายทอยและคางของ ทารก ตรวจภายในคลำได้กระหม่อมหน้าขอบกระดูกเบ้าตา ตา และดั้งจมูกแต่คลำไม่พบจมูกหรือปากทารกเหมือนท่า หน้า ท่าของทารก จุดอ้างอิง (denominator) คือ กระดูกหน้าผาก-ระดับคิ้ว (Frontal bone = F)
  • 106.3.1.3 Brow presentation
  • 107.
  • 108.3.1.4 Occiput posterior persistence: OPP and Persistent occiput transverse position หมายถึง ทารกท่าท้ายทอยเฉียงหลัง (OPP) และท่าท้ายทอยอยู่ด้านข้าง มักพบในมารดาที่อุ้งเชิงกรานแบบ Platypelloid หรือ Android l ในมารดาที่มีอุ้งเชิงกรานปกติไม่มีภาวะ CPD ทารกจะสามารถหมุนเป็นท่าท้ายทอยได้เสมอ แต่รายที่มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ศีรษะอาจไม่หมุน ดังนั้นแพทย์อาจช่วยหมุนโดยใช้มือหมุน หรือใช้ Kielland forceps หมุนเป็นท่าท้ายทอยอยู่หน้า (OA) แล้วดึงศีรษะออกมา นอกจากนี้อาจให้ออกซิโตซิน
  • 109.3.1.4 Occiput posterior persistence: OPP
  • 110.Occiput posterior persistence: OPP
  • 111.3.1.4 Persistent occiput transverse position
  • 112.Cause หน้าท้องหย่อนมาก ทารกคลอดก่อนกำหนด รกเกาะต่ำ มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ กระดูกเชิงกรานแคบ
  • 113.Diag. การดู พบว่าขนาดหน้าท้องไม่สูง แต่จะขยายออก การคลำ คลำไม่ได้ศีรษะที่ยอดมดลูก การฟัง จะฟังเสียงหัวใจทารกทางอยู่สูงกว่าระดับสะดือ การตรวจภายใน
  • 114.Treatment. ในรายที่เชิงกรานปกติ จะรอให้มีการหมุนจนกระทั่ง Occiput Anterior (OA) และคลอดเองทางช่องคลอดปกติ ถ้าไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ ควรผ่าตัดคลอด
  • 115.
  • 116.3.1.5 Shoulder presentation or Transverse lie หมายถึง ท่าที่แนวแกนยาวของทารก (long axis) ตั้งฉากกับแนวลำตัวของมารดา ทำให้หัวไหล่กลายเป็นส่วนนำ โดยมีส่วนหลังของทารกอยู่ในแนวขวางของหน้าท้องมารดาหรืออาจมีแขนโผล่ยื่นออกมา
  • 117.3.1.5 Shoulder presentation or Transverse lie สาเหตุ หน้าท้องหย่อนมาก ทารกคลอดก่อนกำหนด รกเกาะต่ำ มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ กระดูกเชิงกรานแคบ ท่าของทารก จุดอ้างอิง (denominator) คือ กระดูก Acromion (Ac)
  • 118.Shoulder Dystocia
  • 119.Question????
  • 120.
  • 121.4. Psychological condition ความวิตกกังวล กลัว และประสบการณ์จากความเจ็บปวดจากการคลอดทำให้เกิดวงจรแห่งความชั่วร้าย ( vicious cycle ) ทำให้เพิ่มความกลัวและวิตกกังวล ซึ่งเป็นผลมาจากความรับรู้ต่อความเจ็บปวด มีผลทำให้เกิดการหลั่งแค็ททิค็อลลามิน ( catecholamine ) ทำให้เกิดความตึงเครียดทางด้านร่างกายมากขึ้น มีผลทำให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวไม่ดีและการดำเนินการคลอดล่าช้า ( Lederman, 1984 cited in Olds; London and Ladewig 1996)
  • 122.Link…. ผลของความเครียดต่อการคลอด
  • 123.Physical Condition
  • 124.5. Physical Condition ผู้คลอดที่มีสุขภาพอ่อนแอ มีอาการอ่อนเพลีย พักได้น้อย เนื่องจากเจ็บครรภ์คลอดในเวลากลางคืน หมดแรง ขาดน้ำ ( maternal exhaustion and maternal dehydration ) หรือได้รับอุบัติเหตุ บริเวณกระดูกอุ้งเชิงกราน มารดามีพยาธิสภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคหืด หอบ โรคไต โรคตับ ภาวะความดันโลหิตสูงในระยะตั้งครรภ์ จะกระทบต่อแรงเบ่งคลอดได้
  • 125.
  • 126.Position???
  • 127.6. Position
  • 128.Position
  • 129.6. Position
  • 130.การวินิจฉัยการคลอดยาก การซักประวัติ พบว่ามารดาอาจมีประวัติการคลอดยากในครรภ์ก่อน หรือใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด ไม่มีแรงเบ่ง การตรวจร่างกาย พบสาเหตุ ส่วนสูง < 145 เซนติเมตร การตรวจครรภ์ พบว่าทารกอยู่ในท่าผิดปกติ มดลูกหดรัดตัวมากหรือน้อยกว่าปกติ
  • 131.Diag. การตรวจภายในพบ สภาพปากมดลูกมีลักษณะค่อนข้างตึง และบวม การเปิดขยายล่าช้ากว่าปกติ ส่วนนำและท่าของทารกผิดปกติ ระดับของส่วนนำไม่เคลื่อนต่ำ
  • 132.ลักษณะของกราฟการคลอดของ Friedman ผิดปกติ โดยจากการบันทึกการเปิดขยายของปากมดลูก พบว่าอยู่ทาง ด้านขวาของเส้น Alert line หรืออยู่บนเส้น Action line
  • 133.Signs & Symtoms ตรวจภายในพบ Caput succedaneum /ปากมดลูกบวม น้ำคร่ำมีขี้เทาปน อัตราการการเต้นของหัวใจทารกเต้นผิดปกติ มดลูกหดรัดตัวมากหรือน้อยกว่าปกติ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนที่จะเข้าสู่ระยะคลอด มารดาอ่อนเพลีย ไม่มีแรงเบ่ง
  • 134.ผลของการคลอดยากต่อมารดา ความเครียด และอ่อนล้า เนื่องจากระยะเวลาของการคลอดยาวนาน การติดเชื้อ อาจเกิดจากการตรวจภายในบ่อย ๆ หรือมีน้ำเดินเป็นเวลานาน มดลูกแตกเกิดจากมดลูกหดรัดตัวอยู่นานและแรง ส่งผลให้มดลูกส่วนล่างบางลง เกิดการฉีกขาดและแตกได้ง่าย
  • 135.ผลของการคลอดยากต่อมารดา ช่องทางคลอดฉีกขาด ตกเลือด ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว (Remotecomplications) กระบังลมหย่อน (Genital prolapsed) เกิดจากการเบ่งคลอดเป็นเวลานาน หรือช่วยคลอดไม่ถูกต้อง เกิดภาวะเครียด และความรู้สึกไม่ดีต่อการคลอด
  • 136.ผลของการคลอดยากต่อทารก ทารกขาดออกซิเจน มีภาวะติดเชื้อ อันตรายจากการคลอด ทารกพิการ ปัญญาอ่อน
  • 137.ช่วยหนูคิดข้อวินิจฉัยหน่อยนะคะ….please
  • 138.Treatment 1. การรักษาแบบประคับประคอง (Supportive therapy) ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง ประเมินการติดเชื้อ ให้ยาระงับปวด ดูแลด้านจิตใจ ปลอบโยน และดูแลผู้คลอดอย่างใกล้ชิด
  • 139.Treatment 2. การรักษาแบบเฉพาะ (Specific therapy) โดยประเมินอาการ สิ่งที่ตรวจพบ และแก้ไข เช่น ในกรณีมดลูกหดรัดตัวไม่ดี พิจารณาให้ Oxytocin
  • 140.Nursing care ดูแลมารดาอย่างใกล้ชิด เปิดโอกาสให้มารดาซักถาม ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกเป็นระยะ ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่าง ดูแลให้มารดาได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ
  • 141.Nursing care ถ้าได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิด ควบคุมจำนวนหยด ถ้า I < 2’ D > 90” S 4+ หยุดให้ยาทันที ติดตามและลงบันทึก Partograph ประเมิน FHS สอนเบ่งคลอดอย่างถูกต้อง
  • 142.Nursing care ให้ออกซิเจนแก่มารดา ในกรณีที่อัตราการเต้นของหัวใจทารกผิดปกติ หรือมีขี้เทาในน้ำคร่ำ กรณีที่มารดาได้รับยาระงับปวดแล้วคลอดภายใน 2 – 4 ชม อาจกดการหายใจทารกได้ ควรรายงานแพทย์ทราบและเตรียมยาต้านฤทธิ์ยาแก้ปวด เช่น Narcan โดยฉีด 0.4 mg. IV หรือฉีดทารกแรกเกิด 0.01 mg./kg. IV/IM ดูแลความสุขสบายโดยทั่วไป
  • 143.Nursing care เมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว ให้ประเมิน Apgar score ถ้าทารกปกติให้ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาทารก ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ในกรณีมดลูกหดรัดตัวไม่ดี ให้คลึงมดลูก และไล่ก้อนเลือดออก ประเมินเลือดที่ออกทางช่องคลอด และแผลฝีเย็บ รวมทั้งประเมินสัญญาณชีพเป็นระยะจนกว่าจะคงที่
  • 144.Nursing care ดูแลทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ และแผลฝีเย็บ ดูแลให้ความอบอุ่น และความสะอาดร่างกาย ดูแลให้ได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ ดูแลจัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ และจัดกิจกรรมการพยาบาลให้เป็นระบบ เพื่อให้มารดาได้พักผ่อนเต็มที่ สังเกตภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อ เป็นต้น
  • 145.
  • 146.Quiz
  • 147.THANK YOU FOR ATTENTION