บัญชีซื้อขายสินค้า-01

0

Presentation Transcript

  • 1.1 การซื้อขายสินค้าสำหรับกิจการเจ้าของคนเดียว แนวคิด กิจการที่ซื้อและขายสินค้าจะมีกิจกรรม 2 ด้าน คือ ด้านผู้ซื้อและด้านผู้ขาย สำหรับกิจการเจ้าของคนเดียวประเภทธุรกิจซื้อขายสินค้า บุคคลคนเดียวจะเป็นผู้ทำการจัดซื้อทั้งหมด ซึ่งกิจการที่มีการซื้อขายสินค้า จะมีรายได้จากธุรกรรมซื้อสินค้าแล้วมาขายสินค้าให้กับลูกค้าจะอยู่ในรูปของการค้าปลีกและการค้าส่ง ดังนั้นจึงต้องรู้และเข้าใจในเรื่องความหมายของสินค้า การซื้อสินค้า การขายสินค้า ส่วนลดเงื่อนไขการชำระเงิน การรับคืนและการส่งคืนสินค้า เพื่อประโยชน์ในการทำบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้าต่อไป
  • 2.ความหมายของสินค้า สินค้า (Goods or Merchandising) หมายถึง สินทรัพย์ที่กิจการซื้อมาเพื่อจำหน่าย ไม่ได้ซื้อมาเพื่อใช้ในกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหาผลกำไรจากการขาย ซึ่งสินทรัพย์ที่ซื้อมาเพื่อจำหน่ายนั้นจะบันทึกไว้ในบัญชีสินค้า จัดอยู่ในประเภทสินทรัพย์หมุนเวียน ส่วนสินทรัพย์ที่ซื้อมาเพื่อใช้ภายในกิจการจะบันทึกไว้ในบัญชีสินทรัพย์นั้นๆ เช่น วัสดุสำนักงาน อาคาร รถยนต์ อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น กระบวนการผลิตเป็นสินค้าหรือการให้บริการ
  • 3.ความหมายของสินค้า โดยทั่วไป ธุรกิจจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1. ธุรกิจการให้บริการ (Service Business) เป็นการให้บริการแก่ลูกค้า เช่น ร้านซักรีด ร้านเสริมสวย โรงแรม โรงพยาบาล อู่ซ่อมรถ เป็นต้น ตัวอย่างธุรกิจการให้บริการ ร้านซักรีด
  • 4.ความหมายของสินค้า 2. ธุรกิจพาณิชยกรรม หรือธุรกิจซื้อขายสินค้า (Merchandising Business) เป็นการซื้อสินค้ามาเพื่อขายต่อ เช่น ร้านขายหนังสือ ร้านขายเสื้อผ้าสำเร็จรูป ร้านขายยา ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น ตัวอย่างธุรกิจพาณิชยกรรม
  • 5.ความหมายของสินค้า 3. ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing Business) เป็นการซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบมาแปรสภาพ โดยผ่านกระบวนการผลิต หรือการประกอบชิ้นส่วนก่อนแล้วจึงนำออกขาย เช่น โรงงานผลิตผงชูรส โรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง โรงงานผลิตสบู่และเครื่องสำอาง เป็นต้น ตัวอย่างธุรกิจอุตสาหกรรม
  • 6.การซื้อสินค้า ในการซื้อสินค้า (Purchasing) สำหรับกิจการเจ้าของคนเดียว จะมีค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นต้นทุนสินค้าที่ซื้อมาเพื่อขาย ค่าใช้จ่ายในการขาย เป็นต้น ซึ่งกิจการแต่ละแห่งจะมีขั้นตอนและวิธีการซื้อสินค้าที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและการจัดองค์กรของแต่ละกิจการ ในกรณีกิจการขนาดเล็ก เจ้าของอาจจะเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด แต่ถ้าเป็นกิจการขนาดใหญ่จะมีหน่วยงานเฉพาะที่ทำหน้าที่โดยตรงทั้งในการซื้อและการขายสินค้า ซึ่งเป็นการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยจะมีแผนกจัดซื้อทำหน้าที่สั่งซื้อสินค้า จากผู้ขาย และต้องมีการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ 1. แผนกคลังสินค้า มีหน้าที่ดูแล ตรวจสอบปริมาณสินค้าว่าสมควรที่จะทำการขอซื้อเพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งถ้าพิจารณาแล้วเห็นสมควรที่จะขอซื้อ ก็จะจัดทำ “ใบขอซื้อ” (Purchase Requisition) ขึ้นมา 1 ฉบับ ให้ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ และจัดทำสำเนาตามจำนวนของระบบงานอย่างน้อย 2 ฉบับ รวมเป็น 3 ฉบับ • ต้นฉบับ ส่งให้แผนกจัดซื้อ เพื่อติดต่อกับผู้ขายทำการสั่งซื้อสินค้าต่อไป • สำเนาฉบับที่ 1 ส่งให้แผนกบัญชี เพื่อใช้เป็นหลักฐานตรวจสอบและบันทึกบัญชี • สำเนาฉบับที่ 2 แผนกคลังสินค้าจะจัดเก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐานตรวจสอบต่อไป
  • 7.การซื้อสินค้า 2. แผนกจัดซื้อ มีหน้าที่สั่งซื้อสินค้าตามความต้องการของแผนกคลังสินค้า โดยคำนึงถึงราคา เงื่อนไขการชำระเงินและประโยชน์ที่กิจการจะได้รับ เมื่อได้รับใบขอซื้อแล้วจะทำการสอบถามราคาสินค้าที่จะซื้อจากผู้ขายหลายราย เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพและราคาเหมาะสม โดยจะจัดทำ “ใบสั่งซื้อ” (Purchase Order) ส่งไปให้ผู้ขาย เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการสั่งซื้อสินค้า ซึ่งควรมีสำเนาตามจำนวนที่ต้องการอย่างน้อย 3 ฉบับรวมกับต้นฉบับเป็น 4 ฉบับ • ต้นฉบับ ส่งให้ผู้ขายเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการจัดส่งสินค้าตามที่สั่งซื้อ • สำเนาฉบับที่ 1 ส่งให้แผนกรับสินค้า เพื่อตรวจสอบสินค้าเมื่อผู้ขายส่งมาให้ ถ้าไม่มีแผนกนี้ก็จะส่งไปให้แผนก คลังสินค้าทำหน้าที่แทน • สำเนาฉบับที่ 2 ส่งให้แผนกบัญชี เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบและบันทึกบัญชี • สำเนาฉบับที่ 3 แผนกจัดซื้อเก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบต่อไป
  • 8.การซื้อสินค้า 3. แผนกรับสินค้า มีหน้าที่ตรวจสอบสินค้าที่ผู้ขายนำมาส่งว่ามีจำนวน คุณสมบัติ ถูกต้องตรงตามที่สั่งซื้อหรือไม่ เมื่อผู้ขายนำสินค้าที่สั่งซื้อมาส่งพร้อมใบกำกับสินค้า (Invoice) / ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) หรือใบส่งของ (ผู้ขายเป็นผู้จัดทำ) ให้กับผู้ซื้อ ถ้าการตรวจสอบถูกต้องก็จะลงนามว่าได้รับสินค้าถูกต้อง ในใบกำกับสินค้าหรือใบส่งของให้ผู้ขายเป็นหลักฐาน และจะส่งสินค้าที่ได้รับไปยังแผนกที่เกี่ยวข้องต่อไปบางแห่งอาจใช้ใบกำกับสินค้าหรือใบส่งของของผู้ขายเป็นใบรับสินค้า โดยผู้ขายต้องจัดทำสำเนาตามที่ต้องการหรืออาจจะทำเป็น “ใบรับสินค้า” (Received Report) และจัดทำสำเนาตามที่ต้องการอย่างน้อย 3 ฉบับ รวมกับต้นฉบับเป็น 4 ฉบับ • ต้นฉบับ ส่งให้แผนกบัญชี เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบและจัดส่งให้แผนกการเงินเพื่อเบิกจ่ายรวมทั้ง ใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี • สำเนาฉบับที่ 1 ส่งให้แผนกจัดซื้อ เพื่อแจ้งให้ทราบว่าได้รับสินค้าตามที่สั่งซื้อเรียบร้อยแล้วและแผนกจัดซื้อจะเก็บไว้ เป็นหลักฐานต่อไป • สำเนาฉบับที่ 2 ส่งให้แผนกคลังสินค้า เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชีคุมสินค้าและใช้ในการตรวจสอบสินค้า ที่ได้รับ • สำเนาฉบับที่ 3 แผนกรับสินค้าเก็บไว้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบต่อไป
  • 9.การซื้อสินค้า 4. แผนกบัญชี มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานเอกสารการขอซื้อ การสั่งซื้อ การรับสินค้า เงื่อนไขการชำระเงิน การติดต่อกับผู้ขายในเรื่องการชำระเงิน 5. แผนกการเงิน มีหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร การขอซื้อ การสั่งซื้อ การรับสินค้า เงื่อนไขการชำระเงินการนัดวันชำระเงินให้กับผู้ขายต่อไป ขั้นตอนการซื้อสินค้า
  • 10.การขายสินค้า ในการขายสินค้า (Selling) นั้น กิจการอาจขายสินค้าเป็นเงินสดหรือเงินเชื่อก็ได้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายซึ่งแต่ละแห่งจะมีขั้นตอนและวิธีการขายสินค้าที่แตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละกิจการบางแห่งอาจจะมีหน่วยงานเฉพาะที่ทำหน้าที่ในการขายสินค้าโดยแผนกขาย และประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ใบส่งสินค้า ใบกำกับสินค้า ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น การจัดส่งสินค้าไปให้ลูกค้าหรือผู้ซื้อ ก็จะจัดส่งใบส่งสินค้า/ใบกำกับภาษี/ใบกำกับสินค้า ไปพร้อมกับสินค้าเพื่อแสดงรายละเอียดสินค้าที่ส่งไปแต่ละครั้ง เมื่อผู้ซื้อได้รับสินค้าและตรวจสอบความถูกต้องแล้ว จะลงนามรับสินค้าและเก็บเอกสารไว้เพื่อเป็นหลักฐานต่อไป ขั้นตอนการขายสินค้า
  • 11.การขายสินค้า การจัดทำเอกสารในการขายสินค้าของกิจการแต่ละแห่ง จะจัดทำตามแบบฟอร์มของตนเองโดยยึดมาตรฐานของรายละเอียดทั่วไปที่นิยมปฏิบัติ บางแห่งอาจทำเป็นชุดเพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ การเก็บเงินและการบันทึกบัญชี 1. ใบกำกับสินค้าหรือใบส่งของ เป็นเอกสารที่ออกให้กับผู้ซื้อ เพื่อใช้ในการนำส่งสินค้า ซึ่งในเอกสารจะระบุรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า ปริมาณ และจำนวนเงินค่าสินค้า รวมทั้งเงื่อนไขการชำระเงินและระยะเวลาการชำระเงิน 2. ใบกำกับภาษี เป็นเอกสารที่รัฐบาลกำหนดให้กิจการที่เข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มต้องจัดทำ 3. ใบเสร็จรับเงิน เป็นเอกสารที่ผู้ขายออกให้เป็นหลักฐาน เมื่อได้รับชำระค่าสินค้าครบแล้ว
  • 12.ส่วนลด ส่วนลด (Discount) หมายถึง ผลต่างระหว่างมูลค่าปัจจุบันของเงินจำนวนหนึ่งกับมูลค่าโดยประมาณในอนาคตของเงินจำนวนนั้น หรือส่วนที่ลดให้ในการชำระหนี้ก่อนครบกำหนด ซึ่งถือเป็นการให้ส่วนลดกับลูกค้าที่ซื้อสินค้าของกิจการ หรือนำเงินมาชำระในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งสามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือส่วนลดการค้า และส่วนลดเงินสด 1. ส่วนลดการค้า (Trade Discounts) หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ขายยอมลดให้แก่ผู้ซื้อจากราคาเดิมที่พิมพ์ไว้ในสินค้า ซึ่งเป็นส่วนลดที่เกิดขึ้นทันทีที่มีการตกลงซื้อขายสินค้า หรือบริการ ไม่ว่าจะซื้อเป็นเงินสดหรือเงินเชื่อ การให้ส่วนลดกับลูกค้าในแต่ละรายอาจไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณการสั่งซื้อ เงื่อนไขในการชำระเงิน เป็นต้น ดังนั้นราคาสุทธิที่ซื้อขายกันจึงเป็นราคาขายหลังจากหักส่วนลดการค้าแล้วและจะไม่บันทึกบัญชีส่วนลดการค้าทั้งด้านผู้ซื้อและผู้ขาย เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ซื้อซื้อสินค้ามากขึ้น โดยผู้ซื้อและผู้ขายอาจจะตั้งเกณฑ์ไว้ล่วงหน้า เช่น ซื้อไม่เกิน 500 บาท ลดให้ 5% และซื้อตั้งแต่ 501-1,000 บาท ลดให้ 10% หรือถ้าซื้อสินค้า 100 หน่วยขึ้นไป จะได้ส่วนลด 10% ในการซื้อขายสินค้าแล้วมีส่วนลดการค้าเกิดขึ้นทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย จะบันทึกรายการซื้อและขายสินค้าในราคาสุทธิหลังหักส่วนลด โดยจะไม่มีการบันทึกส่วนลดการค้าในบัญชีใดๆ เนื่องจากในใบกำกับสินค้า (Invoice) จะปรากฏด้วยราคาขายหลังหักส่วนลดการค้าแล้ว
  • 13.ส่วนลด 2. ส่วนลดเงินสด (Cash Discount) หมายถึง จำนวนเงินที่เจ้าหนี้ยอมลดให้แก่ลูกหนี้เมื่อชำระเงินภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยปกติการให้ส่วนลดเงินสดจะระบุในเอกสารใบส่งของหรือใบกำกับสินค้าเกี่ยวกับรายละเอียดของเงื่อนไขการชำระเงิน ทางด้านผู้ขายจะเรียกว่า “ส่วนลดจ่าย ส่วนด้านผู้ซื้อจะเรียกว่า “ส่วนลดรับ” เช่น 2/10, n/30 คือ ถ้าผู้ซื้อจ่ายชำระหนี้ภายใน 10 วันจะได้รับส่วนลด 2% แต่อย่างไรก็ตามต้องชำระหนี้ได้ไม่เกิน 30 วัน ซึ่งนับจากวันที่ลงในใบกำกับสินค้า หรือ 2/10, n/30, EOM คือ ถ้าผู้ซื้อจ่ายชำระหนี้ภายใน 10 วันจะได้รับส่วนลด 2% แต่อย่างไรก็ตามต้องชำระหนี้ได้ไม่เกิน 30 วันนับจากวันสิ้นเดือน ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะในการซื้อขายสินค้าเป็นเงินเชื่อเท่านั้น โดยเป็นส่วนลดที่ผู้ขายยอมลดให้แก่ผู้ซื้อในกรณีที่ผู้ซื้อชำระหนี้ค่าสินค้าภายในเวลาที่กำหนดเพื่อจูงใจให้ผู้ซื้อชำระหนี้ค่าสินค้าก่อนที่จะถึงวันสุดท้ายของกำหนดเวลาชำระหนี้ ซึ่งส่วนลดเงินสดจะกำหนดทั้งอัตราส่วนลด และระยะเวลาชำระหนีส่วนลดเงินสดแบ่งออก 2 ชนิด คือ 2.1 ส่วนลดรับ (Purchase Discount) คือ ส่วนลดเงินสดที่เกิดจากการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อและได้รับจากเจ้าหนี้เมื่อจ่าย ชำระเงิน ซึ่งจะมีผลทำให้ต้นทุนของสินค้าที่ซื้อลดลง การบันทึกบัญชีเมื่อได้รับส่วนลดโดยส่วนลดรับอาจบันทึกบัญชี ส่วนลดรับ หรือบัญชีสินค้าคงเหลือแล้วแต่วิธีบันทึกบัญชีของกิจการ 2.2 ส่วนลดจ่าย (Sales Discount) คือ ส่วนลดเงินสดที่เกิดจากการขายสินค้าเงินเชื่อและลดให้ลูกหนี้เมื่อรับชำระเงิน จะมีผลทำให้มูลค่าขายลดลง ส่วนลดจ่ายจะบันทึกบัญชีส่วนลดจ่ายเท่านั้น
  • 14.ส่วนลด การนับวันครบกำหนดชำระหนี้ ในการซื้อสินค้าเงินเชื่อ เมื่อผู้ซื้อและผู้ขายตกลงเงื่อนไขในการชำระหนี้แล้ว ก็ควรจะคำนวณวันครบกำหนดไว้ล่วงหน้า ผู้ซื้อจะได้ทราบวันที่ต้องนำเงินไปชำระหนี้และรักษาผลประโยชน์ของกิจการในกรณีที่มีส่วนลดเงินสด ส่วนผู้ขายจะได้ทราบวันที่ที่กิจการจะได้รับเงินจากผู้ซื้อและจะได้ทวงถามหรือติดตามหนี้ได้ถูกต้อง บางกรณีจะกำหนดวันที่ครบกำหนดไว้แน่นอน เช่น วันสิ้นเดือนหรือวันสิ้นเดือนถัดไป ก็ไม่จำเป็นต้องนับหรือคำนวณวันที่ครบกำหนด แต่ในกรณีที่กำหนดเป็นจำนวนวัน เช่น 30 วัน 60 วัน ก็ควรจะนับวันที่จะครบกำหนดไว้ล่วงหน้า โดยเริ่มนับถัดจากวันที่มีการซื้อขายสินค้าเป็นวันที่ 1 และนับไปจนครบกำหนดเวลาหรืออาจคำนวณหาวันครบกำหนด
  • 15.เงื่อนไขการชำระเงิน เมื่อมีการซื้อหรือขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ จะระบุเงื่อนไขการชำระเงิน (Credit Terms/Terms of Payment) ไว้ในเอกสารเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า เช่น ใบส่งของ ใบกำกับสินค้า เป็นต้น ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่กำหนดระยะเวลาในการชำระเงินพร้อมทั้งส่วนลด (ถ้ามี) เช่น 1. เงื่อนไข n/30 คือ การให้ชำระหนี้ภายใน 30 วันนับจากวันที่ปรากฏในใบกำกับสินค้า 2. เงื่อนไข 2/10, n/30 คือ การให้ชำระหนี้ภายใน 30 วันนับจากวันที่ปรากฏในใบกำกับสินค้าแต่ถ้าชำระหนี้ภายใน 10 วัน จะลดให้ 2% 3. เงื่อนไข n/EOM (End of month) คือ การให้ชำระหนี้ภายในวันสิ้นเดือนที่ซื้อสินค้า 4. เงื่อนไข n/10 EOM คือ การให้ชำระหนี้ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป 5. เงื่อนไข 2/10 EOM คือ การให้ชำระหนี้ภายในวันสิ้นเดือนของเดือนถัดไป แต่ถ้าชำระหนี้ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป จะลดให้ 2% 6. เงื่อนไข 2/10 EOM, n/60 คือ การให้ชำระหนี้ภายใน 60 วันนับจากวันที่ปรากฏในใบกำกับสินค้าแต่ถ้าชำระเงินภายในวันที่ 10 ของเดือนที่ถัดจากเดือนที่ซื้อสินค้าจะลดให้ 2% ผู้ซื้อมีสิทธิจะได้รับส่วนลด เมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการชำระเงินในช่วงที่กำหนดไว้ ทั้งจำนวนแต่ในบางครั้งการชำระเงินในระยะเวลาที่กำหนดเพียงบางส่วน ก็อาจจะได้รับสิทธิส่วนลดด้วยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างกัน
  • 16.เงื่อนไขการชำระเงิน เงื่อนไขการส่งมอบสินค้า ในการส่งมอบสินค้าที่ตกลงซื้อขายกัน ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมีการตกลงกันเรื่องของการส่งมอบสินค้าและภาระค่าขนส่งสินค้าว่าเป็นหน้าที่ของผู้ใด โดยค่าขนส่งสินค้า (Transportation) หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่ซื้อหรือขายสินค้า เพื่อเคลื่อนย้ายสินค้าจากคลังสินค้าของผู้ขาย ไปยังคลังสินค้าของผู้ซื้อในการขายสินค้าจะต้องระบุเงื่อนไขในการรับผิดชอบค่าขนส่งว่าผู้ซื้อหรือผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าขนส่ง ซึ่งเงื่อนไขในการกำหนดค่าขนส่งมีดังนี้ 1. F.O.B. Shipping point (Free on board at the shipping point) เป็นการส่งมอบสินค้าต้นทาง ณ กิจการของผู้ขาย ดังนั้นผู้ซื้อจะเป็นผู้รับภาระค่าขนส่งซึ่งเรียกว่า “ค่าขนส่งเข้า” จะถือเป็นต้นทุนของสินค้าที่ซื้อ กรรมสิทธิ์ในสินค้าจะเป็นของผู้ซื้อตั้งแต่ผู้ขายจัดส่งสินค้าให้ 2. F.O.B. Destination (Free on board at destination) เป็นการส่งมอบสินค้าปลายทาง ณกิจการของผู้ซื้อ ดังนั้นผู้ขายจะเป็นผู้รับภาระค่าขนส่งเรียกว่า “ค่าขนส่งออก” จะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขายกรรมสิทธิ์ในสินค้าจะยังเป็นของผู้ขายจนกว่าสินค้านั้นจะส่งมอบให้ผู้ซื้อ โดยปกติการซื้อขายสินค้าที่ผู้ขายต้องรับภาระค่าขนส่งสินค้าด้วย ราคาสินค้ามักจะสูงกว่า กรณีที่ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระค่าขนส่ง เนื่องจากผู้ขายได้นำเอาค่าขนส่งสินค้าเข้าไปรวมกับราคาขายสินค้าด้วย ในการส่งสินค้านั้น ค่าขนส่งที่เกิดขึ้นจะรวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ค่าระวางสินค้า ค่าประกันภัยสินค้า เป็นต้น
  • 17.เงื่อนไขการชำระเงิน ค่าขนส่งสินค้าที่ซื้อมาเป็นต้นทุนสินค้า ซึ่งแตกต่างจากค่าขนส่งสินค้าที่ขายไปซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ดังนั้นค่าขนส่งสินค้าจึงแบ่งออกเป็น 2 บัญชี คือ 1. ค่าขนส่งเข้า เป็นบัญชีค่าใช้จ่ายซึ่งผู้ซื้อเป็นผู้รับผิดชอบภาระค่าขนส่งเอง เมื่อกิจการอยู่ในฐานะผู้ซื้อ โดยถือเป็นต้นทุนของสินค้า ทำให้ต้นทุนสินค้าที่กิจการซื้อมาสูงขึ้น 2 ค่าขนส่งออก เป็นบัญชีค่าใช้จ่ายซึ่งผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบภาระค่าขนส่ง เมื่อกิจการอยู่ในฐานะผู้ขาย โดยถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขายไม่ถือเป็นต้นทุนของสินค้า เนื่องจากการตั้งราคาขายนั้นผู้ขายต้องคำนวณหรือตั้งราคารวมไว้กับสินค้าที่ขายเรียบร้อยแล้ว ถ้ามีลูกค้ารายใดต้องการให้กิจการเป็นผู้จัดส่งสินค้าให้ และจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในการขายเพิ่มขึ้นค่าขนส่งที่จ่ายแทนกัน เป็นเงื่อนไขการขนส่งที่ระบุให้ผู้ขายเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขนส่งแต่ผู้ซื้อจ่ายแทนให้ผู้ขายไปก่อน ในทางตรงกันข้าม ผู้ซื้ออาจเป็นผู้รับภาระ แต่ผู้ขายจ่ายแทนให้ผู้ซื้อก่อนก็ได้ โดยจะเรียกเก็บเงินภายหลัง
  • 18.การรับคืนและการส่งสินค้า การรับคืนและการส่งคืนสินค้าจะเกิดขึ้นเนื่องจากสินค้าที่ผู้ซื้อได้รับจากผู้ขายนั้นไม่ถูกต้องตามใบสั่งซื้อ เช่น สินค้าผิดเงื่อนไข สินค้าชำรุดเสียหาย เป็นต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น ผู้ซื้อจะแจ้งให้ผู้ขายทราบและส่งสินค้านั้นคืนให้ผู้ขาย โดยผู้ขายอาจจะส่งสินค้ามาให้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แต่บางครั้งผู้ขายไม่สามารถส่งสินค้าแลกเปลี่ยนก็จะต้องลดยอดหนี้สินในบัญชีต่อกันกรณีซื้อขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ หรือส่งคืนเงินสดให้ผู้ซื้อกรณีที่ซื้อขายเป็นเงินสด 1. ด้านผู้ซื้อ เมื่อมีการส่งคืนเกิดขึ้น ผู้ซื้อจะจัดทำเอกสารเพื่อแจ้งผู้ขายขอให้ผู้ขายลดราคาค่าสินค้าให้โดยออกใบขอลดหนี้” (Debit Memorandum or Debit Note) หรือ “ใบส่งคืน” ซึ่งจะมีรายละเอียดสินค้าที่ส่งคืนทั้งหมดในกรณีที่มิได้จ่ายชำระค่าสินค้า หรือให้ผู้ขายส่งเงินค่าสินค้าที่ส่งคืนนั้นให้กับผู้ซื้อในกรณีที่จ่ายชำระค่าสินค้าแล้ว 2. ด้านผู้ขาย เมื่อมีการรับคืนสินค้า และยินยอมที่จะลดราคาสินค้าให้กับผู้ซื้อแล้ว ผู้ขายจะจัดทำเอกสารเพื่อแจ้งให้ผู้ซื้อทราบเรียกว่า “ใบหักหนี้/ใบลดหนี้” (Credit Memorandum or Credit Note) หรือ “ใบรับคืน” และแจ้งให้ผู้ซื้อทราบว่าผู้ขายได้ลดยอดหนี้ค่าสินค้าให้ในกรณีที่ยังมิได้จ่ายชำระค่าสินค้าหรือจะส่งเงินค่าสินค้าที่รับคืนให้กับผู้ซื้อในกรณีที่ได้รับชำระค่าสินค้าแล้ว