บทที่ 1 โครงสร้างและหน้าที่ของราก

1

Presentation Transcript

  • 1.โครงสร้างพืชและการสืบพันธุ์ของพืชดอก (Flowering plant structure and Reproduction) ราก (Root) ลำต้น (Stem) ใบ (Leaf) ดอก (Flower) การสืบพันธุ์ในพืชดอก (Reproduction) เมล็ด (Seed)
  • 2.เรื่องที่ 1 ราก (Root) รากเป็นส่วนหนึ่งของระบบราก มีหน้าที่ดูดน้ำและแร่ธาตุจากในดิน แล้วส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของลำต้น ช่วยยึดและให้ความแข็งแรงของลำต้นให้ติดอยู่กับดิน มักเจริญอยู่ใต้ดิน และมีการตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของโลก (positive gravitroprism) รากพืช มี 2 ชนิด - พืชใบเลี้ยงคู่ส่วนใหญ่ มีระบบรากแก้ว (Tap root system) - พืชใบเลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่ มีระบบรากฝอย (Fibrous root system)
  • 3.- รากแก้ว (Tap root) หรือรากปฐมภูมิ (Primary root) เป็นรากหลักขนาดใหญ่กว่ารากอื่น ซึ่งเจริญมาจากรากแรกเกิด (Redicle) เมื่อเจริญเติบโตขึ้นอาจมีรากแขนง (Lateral root) หรือรากทุติยภูมิ (Secondary root) แยกออกมาจากรากแก้ว แล้วหยั่งลึกลงดิน - รากฝอย (Fibrous root) เป็นรากที่ไม่ได้เจริญมาจากรากแรกเกิด แต่อาจเกิดจากบริเวณลำต้นแทนเป็นรากพิเศษ มีลักษณะเส้นเล็ก ๆ แผ่กระจายโดยรอบบริเวณผิวดิน มักพบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวหรือพืชที่เกิดจากการตอนหรือปักชำ
  • 4.โครงสร้างภายในของรากที่เกิดจาก Primary growth ตัดตามยาว (Longitudinal section) 1. บริเวณหมวกราก (Root cap) 2. บริเวณเซลล์ที่กำลังแบ่งตัว (Region of cell division) 3. บริเวณเซลล์ขยายตัวตามยาว (Region of cell elongation) 4. บริเวณที่เซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะ และเจริญเต็มที่ (Region of cell differentiation and maturation)
  • 5.โครงสร้างภายในของรากที่เกิดจาก Primary growth ตัดตามยาว 1. บริเวณหมวกราก (Root cap) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อถาวร เรียงตัวกันหลวม ๆ มีแวคิวโอลขนาดใหญ่ผลิตเมือกได้ ทำให้เกิดความชุ่มชื้น ส่งผลให้ดินบริเวณโดยรอบหมวกรากอ่อนตัวลง จึงชอนไชรากได้ง่าย เจริญตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของโลก (Positive Geotropism)
  • 6.2. บริเวณเซลล์ที่กำลังแบ่งตัว (Region of cell division) ถัดจากหมวกรากขึ้นมาประมาณ 1 – 2 มิลลิเมตร ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเจริญปลายราก (root apical meristem) จึงมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (mitosis) เพื่อเพิ่มจำนวน ส่วนหนึ่งจะเจริญไปเป็นหมวกราก อีกส่วนหนึ่งเจริญไปเป็นเนื้อเยื่อบริเวณเซลล์ขยายตัวตามยาว โครงสร้างภายในของรากที่เกิดจาก Primary growth ตัดตามยาว
  • 7.3. บริเวณเซลล์ขยายตัวตามยาว (Region of cell elongation) ถัดขึ้นมาจากบริเวณเซลล์ที่กำลังแบ่งตัว เซลล์มีการขยายตัวตามยาวด้วยการสะสมสารต่าง ๆ ทำให้ความยาวของรากเพิ่มขึ้น ดันรากพืชให้ลงไปในดินได้มากขึ้น โครงสร้างภายในของรากที่เกิดจาก Primary growth ตัดตามยาว
  • 8.4. บริเวณที่เซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะและเจริญเต็มที่ (Region of cell differentiation and maturation) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อถาวรต่าง ๆ ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญที่เจริญเต็มที่ เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ บริเวณนี้จะมีเซลล์ขนราก (root hair) เป็นเซลล์เนื้อเยื่อผิวที่ยื่นผนังเซลล์ออกไป เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการดูดซึมน้ำและแร่ธาตุ โครงสร้างภายในของรากที่เกิดจาก Primary growth ตัดตามยาว
  • 9.โครงสร้างภายในของรากที่เกิดจาก Primary growth ตัดตามขวาง (Cross section) เมื่อนำรากพืชในบริเวณที่เจริญเติบโตเต็มที่ (Region of cell maturation) มาตัดตามขวางพบว่า รากพืช ประกอบขึ้นจาก 3 ชั้นหลัก เรียงจากด้านนอกเข้าไปด้านใน คือ 1. ชั้นเอพิเดอร์มิส (Epidermis) 2. ชั้นคอร์เทกซ์ (Cortex) 3. ชั้นสตีล (Stele)
  • 10.โครงสร้างภายในของรากที่เกิดจาก Primary growth ตัดตามขวาง 1. ชั้นเอพิเดอร์มิส (Epidermis) เป็นชั้นนอกสุดของรากพืช ประกอบด้วยเซลล์เนื้อเยื่อผิวเรียงตัวกันชั้นเดียว มักมีขนราก และไม่มีสารคิวทินเคลือบเหมือนส่วนอื่น ๆ ของพืช เช่น ลำต้นและใบ
  • 11.โครงสร้างภายในของรากที่เกิดจาก Primary growth ตัดตามขวาง 2. ชั้นคอร์เทกซ์ (Cortex) เป็นชั้นที่กว้างที่สุดในราก ประกอบขึ้นด้วยเนื้อเยื่อพาเรนไคมา (Parenchyma) ทำหน้าที่ในการสะสมสาร อาหารจำพวกแป้ง ชั้นในสุดของชั้นคอร์เทกซ์ เป็นชั้นเอนโดเดอร์มิส (Endodermis) จะมีการพอกสารซูเบอริน (Suberin) และลิกนิน (Lignin) เป็นแถบเรียกว่า แถบแคสพาเรียน (Casparian Strip) ทำหน้าที่ควบคุมน้ำและแร่ธาตุเข้าไปในชั้นเนื้อเยื่อลำเลียง
  • 12.โครงสร้างภายในของรากที่เกิดจาก Primary growth ตัดตามขวาง 3. ชั้นสตีล (Stele) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเพอริไซเคิล (Pericycle) เรียงตัวกันรอบนอกในชั้นนี้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดรากแขนง (Lateral root) และการเจริญแบบทุติยภูมิในราก นอกจากนี้ยังมีเนื้อเยื่อมัดท่อลำเลียง (Vascular bundle / Vascular cylinder) ซึ่งมีลักษณะแตกต่างไปในพืชแต่ละชนิด และพิธเป็นส่วนกลาง สุดของราก พบได้เฉพาะในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว Pericycle Xylem Phloem
  • 13.รากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว รากของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว บริเวณกลางสุดของรากพืชหรือไส้ในของราก เรียกว่า พิธ (Pith) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงไคมา โดยการจัดเรียงตัวของท่อลำเลียงน้ำมีลักษณะเป็นแฉกหลายแฉกและมีท่อลำเลียงอาหารเรียงอยู่ระหว่างแฉกของท่อลำเลียงน้ำ
  • 14.รากพืชใบเลี้ยงคู่ รากของพืชใบเลี้ยงคู่ ท่อลำเลียงน้ำจะเรียงตัวอยู่ตรงกลางเรียงตัวเป็นแฉกคล้ายรูปดาว ส่วนของท่อลำเลียงอาหารจะเรียงตัวอยู่ระหว่างแฉก โดยมีจำนวนแฉกประมาณ 1 – 6 แฉก โดยพืชส่วนใหญ่จะพบจำนวนแฉก 4 แฉกมากที่สุด
  • 15.ประเภทของราก 1. รากแก้ว (Tap root) 2. รากแขนง (Lateral root) 3. รากพิเศษ (Adventitious root) - รากฝอย (Fibrous root) - รากสะสมอาหาร (Food storage root) - รากสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthetic root) - รากค้ำจุน (Prop root) - รากยึดเกาะ (Climbing root) - รากปรสิต (Parasitic root) - รากหายใจ (Pneumatophore root) - รากพูพอน (Buttress root)
  • 16.รากแก้ว (Tap root) เป็นรากที่เจริญมาจากรากแรกเกิด (Radicle) ของเอ็มบริโอลแล้วพุ่งลงสู่ดินบริเวณโคนรากจะใหญ่และค่อย ๆ เรียวไปจนถึงบริเวณปลายรากพืชหลายชนิดมีรากแก้วเป็นรากสำคัญตลอดชีวิต รากแขนง (Lateral root) เป็นรากที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อเพอริไซเคิลของรากแก้ว การเจริญเติบโตของรากจะขนานไปกับพื้นดินและสามารถแตกแขนงต่อไปได้เรื่อย ๆ
  • 17.รากพิเศษ (Adventitios root) เป็นรากที่งอกออกจากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ลำต้นหรือใบ เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ รากฝอย (Fibrous root) เป็นรากที่งอกออกจากโคนลำต้น เพื่อแทนที่รากแก้วที่ฝ่อไป มักพบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ข้าว หญ้า ข้าวโพด หมาก มะพร้าว เป็นต้น
  • 18.รากสะสมอาหาร (Food storage root) ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหาร มีขนาดใหญ่กว่ารากธรรมดาพบในพืชพวก มันแกว กระชาย หัวไชเท้า แครอต มันเทศ มันสำปะหลัง เป็นต้น รากสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthetic root) เนื่องจากพืชบางชนิดมีคลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุสีเขียวที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมี เช่น รากกล้วยไม้ เป็นต้น
  • 19.1. Fusiform : Here the root tapers gradually at both the ends but is swollen in the middle. E.g. Radish 2. Napiform : When the shape of the primary root becomes almost spherical and tapers abruptly downward, it is said to be napiform. E.g. Turnip 3. Conical : It is cone like in structure. E.g. carrot 4. Tuberous : The root is swollen but has no specific shape. E.g. mirabilis The modifications of tap root may be of the following types :
  • 20.รากค้ำจุน (Prop root) เป็นรากที่งอกจากโคนต้นหรือกิ่งบนดินแล้วหยั่งลงดิน เพื่อพยุงลำต้น เช่น โกงกาง เตย ลำเจียก ไทรย้อย เป็นต้น รากยึดเกาะ (Climbing root) เป็นรากที่มีโครงสร้างสามารถติดหรือพันกับหลักหรือต้นไม้อื่นได้ เช่น พลูด่าง พริกไทย กล้วยไม้ ราชินีหินอ่อน เป็นต้น
  • 21.รากปรสิต (Parasitic root) เป็นรากของพืชพวกปรสิตที่แทงเข้าไปในลำต้นของพืชที่เป็นเจ้าบ้าน (Host) เพื่อแย่งน้ำและสารอาหารจากเจ้าบ้าน เช่น กาฝาก ฝอยทอง เป็นต้น รากหายใจ (Pneumatophore root) เป็นรากที่ยื่นขึ้นมาจากดินหรือน้ำ เพื่อรับออกซิเจน เช่น ลำพู ลำแพน แสม โกงกาง รวมไปถึงรากของผักกระเฉดส่วนที่อยู่ในนวมจะมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ ซึ่งเป็นที่เก็บอากาศและทุ่นลอยน้ำของผักกระเฉด
  • 22.รากพูพอน (Buttress root) เป็นรากค้ำยันที่ยื่นออกจากบริเวณโคนลำต้น มักพบในพืชไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เช่น ทองหลางน้ำ ตะแบก งิ้ว นุ่น เป็นต้น ADVENTITIOUS ROOT